ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าไหมสีธรรมชาติ ม.11

โดย : นางสมัด ทองลอย วันที่ : 2017-03-23-19:23:02

ที่อยู่ : 65 ม.11 ต.สะเดาใหญ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง มีอาชีพเสริม ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ไม่เป็นภาระครอบครัว จึงตั้งกลุ่มทอผ้าไหม จนถึงปัจจุบัน
    ก่อนที่จะกล่าวถึงการทอผ้าไหมไทย ควรที่จะรู้ที่มาเสียก่อนว่าก่อนที่จะเป็นเส้นไหมนั้นเนื่องจากการผลิตเส้นไหมมีขั้นตอนในการดำเนินงานที่ยาวตั้งแต่การปลูกหม่อนเพื่อเป็นอาหารของตัวไหมจนถึงไหมจนถึงการสาวไหมดังนั้นการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจึงเป็นสาระสำคัญอันดับแรกที่จะต้องพิจารณา
 
    ต้นหม่อน
    ต้นหม่อนที่รู้จักในขณะนี้มีอยู่ 2 ชนิดคือต้นหม่อนที่ปลูกไว้กินผลเป็นช่อเวลาสุกจะมีสีดำรสอมเปรี้ยวอมหวานใช้รับประทานทำแยมได้อีกชนิดหนึ่งเป็นหม่อนที่ปลูกไว้เลี้ยงไหมหม่อนชนิดนี้มีผลเป็นช่อเล็กไม่นิยมรับประทานแต่มีใบโตและดกใช้เป็นอาหารของตัวไหมได้ดีสำหรับพันธุ์หม่อนที่ปลูกไว้เลี้ยงไหมในประเทศมีอยู่หลายพันธุ์เช่น หม่อนน้อย หม่อนตาดำ หม่อนส้ม หม่อนสร้อย หม่อนไผ่ หม่อนจาก หม่อนสา หม่อนหยวก หม่อนใบมน หม่อนใบโพธิ์ หม่อนแก้วชนบท หม่อนคุณไพ หม่อนแก้วอุบล ฯลฯ ซึ่งบางชื่ออาจจะเป็นพันธุ์เดียวกันแต่เรียก ชื่อต่างกันตามท้องถิ่นแต่หม่อนที่นิยมปลูกเพื่อเลี้ยงไหมกันมากตามท้องที่ต่างๆ มีดังนี้
 
    หม่อนน้อย 
    เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวผู้มีทรงต้นผอมสูงกิ่งมีขนาดใหญ่ลำต้นมีสีนวลๆ ตามีมากลักษณะขอบใบหนาเป็นมันสีเขียวแก่เป็นรูปใบโพธิ์ปลายใบแหลมขอบใบไม่มีเว้าหรือมีก็จะเป็นแบบเว้าตื้นๆ ประมาณ 2 - 3 เว้าเท่านั้นมีขนบนใบน้อยมากเมื่อลูบไม่รู้สึกสากมือเป็นที่นิยมปลูกมากที่สุดแต่เป็นโรครากเน่าง่าย
     
    หม่อนไผ่ 
    เป็นหม่อนให้ดอกตัวเมียกิ่งมีขนาดปานกลางลำกิ่งอ่อนโค้งมีสีน้ำตาลอมเขียว ตาค่อนข้างมากขอบใบเว้าหมดทุกใบ มีปริมาณเนื้อใบน้อยใบบางสากมือให้ผลผลิตต่ำเชื่อว่า เป็นพันธุ์ที่ต้านโรครากเน่าจึงเหมาะสำหรับนำไปเป็นต้นตอในแปลงที่มีโรครากเน่าระบาด
 
    หม่อนตาดำ 
    เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวผู้มีทรงต้นผอมสูงคล้ายหม่อนน้อยกิ่งมีขนาดเล็กกว่าและลำต้นมีสีเขียวกว่าหม่อนน้อยใบขนาดเล็กบางไม่เป็นมันสีเขียวอ่อนเป็นรูปไข่ปลายใบ แหลมใบเว้า 5 - 8 ใบนับจากโคนกิ่ง

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อมีกิจกรรมทำร่วมกัน มีอาชีพเสริม สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เส้นไหม กี่พื้นบ้าน ฟืม กระสวย อัก เข็มหมุด

อุปกรณ์ ->

เส้นไหม กี่พื้นบ้าน ฟืม กระสวย อัก เข็มหมุด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำเส้นไหม
    เส้นไหมได้มาจากการนำรังของตัวไหมมาปั่นเป็นเส้นใย เส้นไหมนี้มีคุณสมบัติพิเศษที่เด่นกว่าเส้นฝ้ายคือ มีความเหนียวทนทานและมีประกายเงางาม เส้นไหมที่ได้จากการปั่น

  ขั้นตอนเตรียมเส้นไหม : การเตรียมเส้นไหม จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
    1. การเตรียมเส้นไหมพุ่ง การเตรียมเส้นไหมพุ่ง จะเป็นการเตรียมเส้นไหมเพื่อตรียมพร้อมสำหรับการนำไปมัดหมี่ โดยใช้เครื่องมือในการการค้นลำหมี่ โดยการนำเส้นไหมที่กวักเรียบร้อยแล้ว มาทำการค้นปอยหมี่ เพื่อให้ได้ลำหมี่พร้อมสำหรับการไปมัดหมี่ในกระบวนการต่อไป 
    2. การเตรียมไหมเครือ (ไหมเส้นยืน) โดยการค้นหูกหรือค้นเครือ คือ กรรมวิธีนำเอาเส้นไหมที่เตรียมไว้สำหรับเป็นไหมเครือ ไปค้น (กรอ) ให้ได้ความยาวตามจำนวนผืนของผู้ทอผ้าไหมตามที่ต้องการ ไหมหนึ่งเครือจะทำให้เป็นผ้าไหมได้ประมาณ 20-30 ผืน ( 1 ผืนยาวประมาณ 180-200 เซนติเมตร)

  การกรอไหม 
    การกรอเส้นไหม เป็นการนำเส้นไหมที่ย้อมแห้งดีแล้วมาปั่นเก็บไว้ อุปกรณ์ประกอบด้วย เครื่องกรอไหม ในกรอขนาดต่างๆหรือจักกวัดไหมและระวิง สิ่งที่ใช้เก็บเส้นไหมที่กรอแล้ว มักจะใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น กระป๋องหรือหลอดพลาสติก เป็นต้น การกรอเส้นไหมมีวัตถุประสงค์ที่จะแยกเส้นไหมให้ออกเป็นเส้นๆ ไม่ให้ติดหรือพันกัน และเป็นการสำรวจเส้นไหมให้มีความเรียบร้อย ไม่ขาด ซึ่งจะช่วยให้สะดวกในการสาวไหม อันเป็นกรรมวิธีในขั้นตอนต่อไป

  การสาวไหม 
    การสาวไหม ในภาษาพื้นเมืองเรียกว่า การโว้นไหม หรือ โว้นหูก คือการนำเส้นไหมยืนที่กรอแล้วไปสางในรางสาวไหมหรือม้าเดินได้ทีละเส้น โดยให้มีจำนวนเส้นไหมครบตามจำนวนช่องฟันหวีที่ต้องการจะใช้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการสาวไหมประกอบด้วย ม้าเดินได้ ไม้ไขว้หลัง และหลักตั้งตลอด ในการสาวไหมลงช่องของฟันหวี กำหนดให้ 1 ช่องฟันหวีจะต้องใช้เส้นไหมยืน 2 เส้น ดังนั้นถ้าหากใช้ฟันหวีซึ่งมีช่อง 2000 ช่อง จะต้องนับไหมเส้นยืนให้ครบ 4000 เส้น เป็นต้น สำหรับไม้ไขว้หลังเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการสาวไหม โดยจะมีไว้ที่รางสาวไหมรางที่ 1 เพื่อให้เส้นไหมเรียงลำดับกันไปตลอด เป็นการป้องกันเส้นไหมพันกัน

    การเข้าฟันหวีหรือฟืม

    ฟันหวี หรือ ฟืม เป็นเครื่องมือใช้สำหรับลางเส้นไหมให้เป็นระเบียบ และมีประโยชน์ในการทอโดยใช้กระทบไหมเส้นพุ่งให้ขยับเข้าขัดกับไหมเส้นยืนหรือสานให้เป็นผืนผ้าออกมาอย่างสวยงาม อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบด้วย แท่นอัดก๊อปปี้ ม้าหมุน ไม้เขี่ยเส้นไหม ไม้ขนัดสำหรับแยกไขว้ และฟันหวี ฟันหวีแต่เดิมทำด้วยไม้เป็นซี่ๆ โดยมีขอบ ยึดไว้ทั้งข้างบนและข้างล่าง หัวและท้าย เพื่อยึดฟันหวีให้สม่ำเสมอและคงทน แต่การทำฟันหวีด้วยไม้นั้น ช่วงห่างของฟันหวีไม่สม่ำเสมอและโยกได้จึงทำให้ผ้าไหมทอออกมาไม่สม่ำเสมอ ขาดความสวยงามและคุณภาพ ต่อมาได้มีการทำฟันหวีด้วยทองเหลืองจึงทำให้คุณภาพของผ้าที่ทอดีขึ้น แต่ก็ประสบปัญหาคือ เกิดสนิมทองเหลืองติดตามเนื้อผ้าที่ทอออกมาอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะผ้าไหมสีอ่อนๆเช่น สีขาว สีครีม เป็นต้น การใช้ฟันหวีด้วยทองเหลืองจึงเลิกไป ปัจจุบันฟันหวีทำด้วยสแตนเลส ซึ่งมีความงดงามสม่ำเสมอและไม่โยก ไม่มีสนิมทำให้ได้ผ้าทอที่มีความสวยงามการเข้าฟันหวี หือ การนำไหม เส้นไหมที่สาวแล้วไปเข้าฟันหวี โดยก่อนเข้าฟันหวีนำไหมไปเข้าเครื่องหนีบ (Copy) เพื่อยึดเส้นไหมด้านหนึ่งเอาไว้ แล้วใส่เส้นไหมลงไปในช่องฟันหวีช่องละ 2 เส้น ดังนั้นในการเข้าฟันหวีจึงต้องใช้คน 2 คน ช่วยกันทำ โดยคนหนึ่งเป็นคนส่งเส้นไหมเข้าช่องอีกคนหนึ่งช่วยดึงฟันหวีให้ห่างและใช้ตะขอเกี่ยวเส้นไหมเข้าช่องฟันหวี ฟันหวีจะช่วยสางเส้นไหมให้เป็นระเบียบและสม่ำเสมอ

ข้อพึงระวัง ->

    -การทอมัดหมี่

    ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็นอย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่ 
   1. มัดหมี่เส้นพุ่ง
   2. มัดหมี่เส้นยืน
   3. มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา