ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะเห็ด

โดย : นายบุญจันทร์ ชุมจันทร์ วันที่ : 2017-03-23-17:40:13

ที่อยู่ : 119 บ้านโนน หมู่ที่ 5 ตำบลโพนค้อ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

           การเพาะเห็ดนับเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย เปลือกมันสำปะหลัง ทะลายปาล์ม เปลือกถั่วเขียว ขี้เลื่อยหรือแม้กระทั่งวัสดุที่มีในธรรมชาติ และในท้องถิ่น เช่น หญ้าชนิดต่างๆ เปลือกผลไม้ เพื่อใช้ให้เป็นวัสดุเพาะให้เหมาะสมกับท้องถิ่น ที่สำคัญ คือ ให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำและจะเป็นการเพิ่มผลตอบแทนให้สูงขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

          ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

- ขี้เลื่อย 100 กก.                  - รำละเอียด 5 กก.                           - ดีเกลือ 0.2 กก              
- ปูนขาว 1 กก.                     - น้ำสะอาด 70-75%              - เชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่าง

- แอลกอฮอล์

อุปกรณ์ ->

          - ถังนึ่งก้อนเชื้อ                      - พลั่ว                                - เครื่องชั่ง

          - ถุงพลาสติก                        - ฝาขวดพร้อมคอขวด               - สำลี

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนสำหรับทำก้อนเชื้อ

1. ขี้เลื่อยที่ใช้ควรเป็นขี้เลื่อยกลางเก่ากลางใหม่จะดีที่สุด หากเป็นขี้เลื่อยใหม่ควรกองทิ้งไว้ ประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากเตรียมสูตรอาหารได้แล้วให้นำส่วนผสมทั้งหมดไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน วิธีตรวจความชื้นว่าเหมาะสมหรือไม่ ให้ใช้มือบีบแล้วแบมือออกดูว่าก้อนขี้เลื่อยยังเป็นก้อนอยู่ หากระหว่างบีบมีน้ำไหลออกมาแสดงว่าแฉะเกินไปหรือถ้าแบมือแล้วก้อนขี้เลื่อยแตกออก แสดงว่าแห้งเกินไป
          2. บรรจุใส่ถุงพลาสติกที่ใช้เพาะเห็ด ซึ่งควรบรรจุให้หมดภายในวันเดียว ถุงก้อนเชื้อ ควรมีหนัก ขนาด 8 ขีด – 1 กก. เมื่ออัดก้อนเชื้อแน่นดีแล้วใส่คอขวดพลาสติกอุดด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษ แล้วรัดยางวงให้แน่น
          3. นำก้อนเชื้อที่ได้ไปนึ่งฆ่าเชื้อทันทีใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือดแล้วทิ้งไว้ให้เย็น
          4. นำหัวเชื้อเห็ดที่เราต้องการจะเพาะที่เลี้ยงไว้ในเมล็ดข้าวฟ่าง ใช้ประมาณ 10- 20 เมล็ดต่อก้อน
เขี่ยลงในก้อนเชื้อที่เย็นดีแล้ว รีบปิดปากถุงด้วยสำลี หรือกระดาษทันที วัสดุที่ใช้หัวเชื้อควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ก่อนทุกครั้ง
          5. นำก้อนเชื้อที่ถ่ายเชื้อเห็ดลงเรียบร้อยแล้วไปบ่มไว้ในโรงบ่อก้อนเชื้อต่อไป

การบ่มก้อนเชื้อ

          หลังจากใส่เชื้อเห็ดลงในถุงก้อนเชื้อแล้วให้นำไปบ่มในโรงบ่มเชื้อหรือบริเวณที่มีอุณหภูมิ ประมาณ 29-32 องศาเซลเซียส เพื่อให้เส้นใยเจริญในก้อนเชื้อและต้องหมั่นตรวจดูโรงแมลง มด มอด แมลงสาบ ปลวกหรือไรต่างๆ หากพบให้รีบนำก้อนเชื้อออกไปกำจัดทันที  หรืออาจฉีดพ่นด้วยสารสกัดจากสมุนไพร เช่น ตะไคร้หอม รอบๆ โรงบ่ม เพื่อป้องกันไว้ก่อนได้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อก็ขึ้นอยู่กับเห็ดแต่ละชนิด อย่างเห็ดหอมก็จะใช้ระยะเวลา 4 เดือน

การปฏิบัติดูแลรักษา

          เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดฮังการี เห็ดภูฐานและเห็ดนางนวล ใช้เวลาเจริญในระยะเส้นใยประมาณ 1-1.5 เดือน เมื่อเส้นใยเริ่มรวมตัวกัน ถอดสำลีแล้วนำก้อนเชื้อไปวางในโรงเรือนเพื่อให้เกิดดอกรักษาอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ การถ่ายเทอากาศตามที่เห็ดต้องการการให้ความชื้นภายในโรงเรือนไม่ควรให้น้ำขังอยู่ภายในก้อนเชื้อ และไม่ควรให้น้ำถูกดอกเห็ดโดยตรง ถ้าจำเป็นควรให้เป็นละออง นอกจากนี้ต้องรักษาความสะอาดบริเวณที่ปฏิบัติงานและโรงเรือนเพาะเห็ด เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของเชื้อโรคและแมลง

ข้อพึงระวัง ->

ให้โรงเรือนเห็ดมีการถ่ายเทอากาศที่ดี ไม่มีน้ำขัง ระวังมด และราเขียวในถุงเห็ด หากพบราเขียวให้รีบนำออกจากโรงเรือนและเผาทำลายเพื่อป้องกันการระบาดของโรค

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา