ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำไร่นาสวมผสม

โดย : นายภานุพงศ์ ศรีเพ็ง วันที่ : 2017-03-23-16:05:58

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๑๖๒ หมู่ ๕ ซอย - ถนน - ตำบลละลาย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เริ่มจากปัญหาหนี้สินในภาคการเกษตรยังเป็นปัญหาใหญ่ของเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ทำนากี่ไร่ๆ ก็ยังไม่หมดหนี้สิน เนื่องจากปลูกข้าวก็ได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย บางปีน้ำท่วม บางปีน้ำแล้ง ขายข้าวก็ไม่ได้กำไร เพราะมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย  จากการศึกษาและฝึกอบรมจากหลายหน่วยงานราชการ  จึงมีแนวคิดทำไร่นาสวนผสม

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างงานสร้ารายได้ให้ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำไร่นาสวนผสม เป็นระบบการเกษตรที่สามารถปลูกพืชได้หลายชนิด โดยแบ่งพื้นที่เพาะปลูกพืชต่างๆ ตามความต้องการของตลาด รวมทั้งดำเนินกิจกรรมการเกษตรอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น การปศุสัตว์ และการประมง จุดมุ่งหมายของการทำไร่นาสวนผสม ก็เพื่อในด้านการผลิตและการตลาดของเกษตรกร โดยเน้นการใช้ทรัพยากรที่ดินและดินให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด นักวิชาการทางด้านการเกษตรให้แนวทางการทำกิจกรรมไร่นาสวนผสม ดังนี้

           ๑.การจัดการดินสำหรับปลูกข้าว-พืชล้มลุก พื้นที่ที่จะใช้ในการปลูกข้าวร่วมกับพืชล้มลุกหลังฤดูการทำนา ควรเป็นพื้นที่ราบเรียบ และต่ำสุดของพื้นที่ที่เกษตรกรถือครอง ควรมีเนื้อที่ ๑๐-๑๕ ไร่ อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับขนาดการถือครองที่ดิน

          ส่วนการเตรียมดินสำหรับปลูกพืชล้มลุกได้แก่ พืชไร่ หรือพืชผักต่างๆ หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วนั้น ให้ไถดิน และยกแปลงปลูกให้สูงกว่าพื้นนา ประมาณ ๒๐ ซม. ขนาดกว้างประมาณ 4 เมตร และยาวตามขนาดของกระทงนา ระหว่างแปลงปลูกควรมีทางเดินกว้าง ๓๐-๕๐ ซม. เพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลพืชที่ปลูก และยังเป็นทางระบายน้ำในกรณีที่ฝนตกอีกด้วย สำหรับพืชไร่ที่ปลูก ควรปลูกพืชบำรุงดินสลับไปด้วย เพื่อช่วยรักษาและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน

           ๒.การจัดการดินสำหรับการปลูกไม้ผล การปลูกไม้ผลในระบบการทำไร่นาสวนผสมในบริเวณที่ราบต่ำ จำเป็นต้องมีการดัดแปลงพื้นที่จากนาข้าวเป็นร่องปลูกไม้ผล ซึ่งมีขั้นตอนการทำดังนี้

            ๑)วางแนวร่องให้ขนาดสันร่องปลูกกว้างระหว่าง ๖-๘ เมตร และท้องร่องกว้างระหว่าง ๑-๑.๕ เมตร และใช้รถแทรกเตอร์ปาดหน้าดินมาวางบนกลางสันร่อง

           ๒)ขุดดินจากคูที่วางแนวไว้มากลบบริเวณขอบสันร่อง การทำเช่นนี้ จะทำให้เกิดสันร่องสูงอย่างน้อย ๕๐ ซม. เหมาะในการปลูกไม้ผล หรือไม้ยืนต้นอื่นๆ

           ๓)ทำคันดินล้อมรอบสวน เป็นคันดินอัดแน่น และมีระดับความสูงมากพอป้องกันน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน ควรจะมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อสูบน้ำออกหรือเข้าตามความต้องการ

           ๔)ทำการปรับสภาพดิน โดยการใส่ปูนขาว หรือปูนชนิดอื่น เพื่อลดความเป็นกรดของดินและในร่องน้ำด้วย ในกรณีดินมีสภาพเป็นกรดแก่ถึงเป็นกรดจัดมาก

           ๕)การปลูกไม้ผล ขุดหลุมปลูกขนาดกว้าง ยาว และลึก ขนาด ๕๐-๑๐๐ ซม. แยกดินชั้นบนและชั้นล่าง นำดินชั้นบนผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา ๒๐-๕๐ กก./ต้น และอาจจะใส่ปูนขาว ๓-๕ กก./ต้น (ในกรณีที่ดินเป็นกรดแก่ถึงแก่จัด ให้ปรับสภาพดินด้วยการใส่ปูนขาวช่วงระหว่างการเตรียมดิน) แล้วนำดินผสมส่วนนี้ไว้ข้างล่าง ส่วนดินล่าง ซึ่งขุดขึ้นให้นำลงกลบส่วนบนอีกครั้ง

           ๖)การปลูกพืชคลุมดิน เมื่อปลูกไม้ผลเสร็จแล้ว ให้ทำการปลูกพืชคลุมดินหรือพืชตระกูลถั่วคลุมผิวหน้าดินที่ว่างเปล่า พืชคลุมดิน ได้แก่ พืชตระกูลถั่วบำรุงดิน โดยใช้เมล็ดในอัตราปลูก ๑.๕ กก./ไร่ หรืออาจจะใช้ประโยชน์ของวัสดุเศษพืช ได้แก่ ฟางข้าวคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ลดการชะล้างพังทลายของดิน เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืชให้แก่ดิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของไม้ผลต่อไป

           ๗)การจัดการระบบปลูกพืชร่วมกับไม้ผล ในช่วงระหว่างที่ทำการปลูกไม้ผล ๔-๕ ปีแรกนั้น ควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวของไม้ผล ควรปลูกพืชที่มีอายุสั้น ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว พืชผัก และพืชไร่ชนิดอื่นๆ เช่น ข้าวโพดหวาน หรือข้าวโพดฝักอ่อนเป็นต้น การทำเช่นนี้ จะมีส่วนช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในช่วงระหว่างที่ไม้ผลยังไม่สามารถเก็บผลผลิต และหลังจากไม้ผลมีอายุได้ประมาณ ๔-๕ ปี จึงหยุดการปลูกพืชแซม เนื่องจากพืชแซมจะถูกคลุม หรือบังแสงแดดจากทรงพุ่มของไม้ผล และจะมีผลกระทบต่อการแก่งแย่งธาตุอาหารระหว่างพืชแซมกับไม้ผลอีกด้วย

          หลักสำคัญนะครับ การทำไร่นาสวนผสม เกษตรกรจะเลือกกิจกรรมใดมาผสมผสานกันนั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเกษตรกร และปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ ทั้งเรื่องของตลาด ควรยึดตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินและการใช้น้ำ มีอัตราส่วนการจัดแบ่งพื้นที่ โดยทั่วไป คือ ๓๐:๑๐:๓๐:๓๐ โดยคร่าวๆ คือ ๓๐% ขุดสระน้ำ ๑๐% สร้างที่อยู่อาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวก ๓๐% สำหรับนาข้าว และอีก ๓๐% สำหรับพืชไร่และพืชสวน ซึ่งอาจจะปรับส่วนไปตามประเภทของพืช สภาพภูมิอากาศ และสภาพภูมิประเทศ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา