ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน

โดย : นายบุญสี เชื้ออุ่น วันที่ : 2017-03-23-15:07:04

ที่อยู่ : 83 ม.11 บ้านดู่ ต.ดู่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปลานิล เป็นปลาที่เป็นที่นิยมของตลาด เนื่องจากราคาไม่แพง หาซื้อง่าย เลี้ยงไม่ยาก โตเร็ว สามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายประเภท และยังมีรสชาติอร่อยไม่แพ้ปลาราคาแพงอีกด้วย เป็นปลาน้ำจืด กินพืชเป็นอาหาร ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง พบได้ตามแม่น้ำ หนอง บึง อาศัยได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย เพราะเป็นปลาที่มีความอดทน ปรับตัวกับธรรมชาติได้อย่างดี เหมาะกับการนำไปเลี้ยงได้ทุกภูมิภาค

วัตถุประสงค์ ->

          1) เพื่อจำหน่าย
          2) เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
         3) เพื่อสร้างกลุ่มอาชีพให้เข้มแข็ง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1) บ่อดิน
2) พันธุ์ปลา
3) ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
4) อาหารเสริม
5) เครื่องสูบน้ำ
6) อวน สวิง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1) กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำต่าง ๆ เช่น กก หญ้า ผักตบชวาให้หมด โดยนำมากองสุมไว้แห้งแล้วนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักในขณะที่ปล่อยปลาลงเลี้ยง ถ้าในบ่อเก่ามีเลนมากจำเป็นต้องสาดเลนขึ้นโดยนำไปเสริมคันดินที่ชำรุด หรือใช้เป็นปุ๋ยแก่พืช ผัก ผลไม้ บริเวณใกล้เคียงพร้อมทั้งตกแต่งเชิงลาดและคันดินให้แน่นด้วย
2) กำจัดศัตรู ศัตรูของปลานิล ได้แก่ ปลาจำพวกกินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาหมอ ปลาดุก นอกจากนี้ก็มีสัตว์จำพวก กบ เขียด งู เป็นต้น
3) การใส่ปุ๋ย โดยปกติแล้วอุปนิสัยในการกินอาหารของปลานิลจะกินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนพืชและสัตว์ เศษวัสดุเน่าเปื่อยตามพื้นบ่อ แหน สาหร่าย ฯลฯ ดังนั้น ในบ่อเลี้ยงปลาควรให้อาหารธรรมชาติดังกล่าวเกิดขึ้นอยู่เสมอ จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยลงไปเพื่อละลายเป็นธาตุอาหาร ซึ่งพืชน้ำขนาดเล็กจำเป็นใช้ในการปรุงอาหารและเจริญเติบโตโดยกระบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นโซ่อาหาร อันดับต่อไป คือ แพลงก์ตอนสัตว์ ได้แก่ ไรน้ำ และตัวอ่อนของแมลง ปุ๋ยที่ใช้ได้แก่มูลวัว ควาย หมู เป็ด ไก่ นอกจากปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์แล้วก็อาจใช้ปุ๋ยหมักจำพวกหญ้าและฟางข้าวปุ๋ยพืชสดต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน

ข้อพึงระวัง ->

          1) บ่อเลี้ยงปลานิล ควรมีเนื้อที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตร ขึ้นไป เพราะปลานิลแพร่ขยายพันธุ์เร็ว  หากเนื้อที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป เพราะปลานิลแพร่ขยายพันธุ์เร็ว หากเนื้อที่น้อยจะทำให้บ่อหนาแน่นมากและปลาไม่เจริญเติบโต
          2) หากบ่อเลี้ยงปลาอยู่ใกล้แหล่งน้ำ  ควรสร้างท่อระบายน้ำที่พื้นบ่อแล้วกรุด้วยตะแกรงตาถี่ โดยจัดระบบน้ำเข้าออกคนละทาง เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำ
        3) เมื่อมีลูกปลาเกิดขึ้นมาใหม่ในบ่อที่เลี้ยง ควรแยกมาเลี้ยงอีกบ่อหนึ่ง เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณ  และป้องกันมิให้ถูกปลาตัวใหญ่กินเป็นอาหาร

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา