ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำนาอินทรีย์

โดย : นายบุดสี สุภาพ วันที่ : 2017-03-22-22:24:49

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 56 หมู่ที่ 11 ตำบลดู่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำนาอินทรีย์ เป็นการทำนาที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์ต่างๆ เช่น ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต  สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวในทุกขั้นตอนการผลิตและในระหว่างการเก็บรักษาผลผลิต มุ่นเน้นการใช้สารสกัดจากพืชที่ไม่มีพิษต่อคนหรือไม่มีสารพิษตกค้างปนเปื้อนในผลผลิต ในดินและในน้ำ  ในขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาสภาพแวดล้อม ทำให้ได้ผลิตผลข้าวที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยจากอันตรายของผลตกค้าง ส่งผลให้ผู้บริโภคมีสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อสร้างรายได้ให้ครัวเรือน
2. เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่หันมาสนใจการบริโภคข้าวเพื่อสุขภาพมากขึ้น
3. เพื่ออนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เมล็ดพันธุ์ข้าว

อุปกรณ์ ->

1. เครื่องจักรกลทางการเกษตร (รถไถ,เครื่องหยอดเมล็ด,เครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว)
2. ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การผลิตข้าวอินทรีย์เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่เน้นเรื่องของธรรมชาติเป็นสำคัญ ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ การรักษาสมดุลธรรมชาติและการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน เช่น ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในไร่นาหรือจากแหล่งอื่น ควบคุมโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสานที่ไม่ใช้สารเคมี การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมมีความต้านทานโดยธรรมชาติ รักษาสมดุลของศัตรูธรรมชาติ การจัดการพืช ดิน และน้ำ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าว เพื่อทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี มีความสมบูรณ์แข็งแรงตามธรรมชาติ การจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว เป็นต้น การปฏิบัติเช่นนี้ก็สามารถทำให้ต้นข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูงในระดับที่น่าพอใจ

        การผลิตข้าวอินทรีย์มีขั้นตอนการปฏิบัติเช่นเดียวกับการผลิตข้าวโดยทั่วไปจะแตกต่างกันที่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในทุกขั้นตอนการผลิต จึงมีข้อควรปฏิบัติดังนี้

          1. การเลือกพื้นที่ปลูก
          2. การเลือกใช้พันธุ์ข้าว
          3. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว
          4. การเตรียมดิน
           วิธีปลูก
          1. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน
          2. ระบบการปลูกพืช
          3. การควบคุมวัชพืช
          3. การป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูพืช
          5. การจัดการน้ำ
          6. การเก็บเกี่ยว การนวดและการลดความชื้น
          7. การเก็บรักษาข้าวเปลือก
          8. การสี
          9. การบรรจุหีบห่อเพื่อการค้า

 

ข้อพึงระวัง ->

การจัดการพืช ดิน และน้ำ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าว เพื่อทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี มีความสมบูรณ์แข็งแรงตามธรรมชาติ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา