ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะเห็ดฟาง

โดย : นางสาวศุภธิดา ศรีชารัตน์ วันที่ : 2017-03-22-15:03:06

ที่อยู่ : เลขที่ 35 บ้านหนองกอง หมู่ที่ 3 ตำบลโดด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สภาพดินฟ้าอากาศของไทยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเห็ด เห็ดที่สามารถนำมารับประทานได้มีวงจรชีวิตที่สั้นแต่มีอายุยืนยาว เห็ดในธรรมชาติสามารถออกดอกได้ตามฤดูกาลตามสภาพแวดล้อม ถ้าต้องการให้เห็ดมีดอกได้ตลอดปี จำเป็นต้องมีการเพาะโดยสามารถทำได้ง่าย และเหมาะสมกับความต้องการของเกษตรกร

          เห็ดฟางเป็นเห็ดที่เพาะง่าย ใช้เวลาสั้น 5-7 วัน ก็เก็บดอกเห็ดที่เพาะได้ เป็นเห็ดที่มีผู้นิยมบริโภคมาก ทำให้ความต้องการของตลาดสูง ซึ่งทำให้ มีราคาดี ตลอดปี จึงมีผู้นิยมเพาะเห็ดฟางกันมาก

วัตถุประสงค์ ->

1. สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้

          2. เกิดอาชีพในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การเตรียมดินบริเวณเพาะเห็ด ควรขุดดินและย่อยให้ละเอียดไว้ก่อน และรดน้ำให้ดินเปียกชุ่ม บริเวณพื้นดินรอบ ๆ กองเพาะเห็ดจะได้เห็ดเพิ่มจาก ฟางบนกองเพาะเห็ดอีกจำนวนหนึ่ง

2. ไม้แบบ ไม้แบบเพาะเห็ดใช้ไม้กระดานมาทำเป็นแม่พิมพ์ โดยมีความยาว 120 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร ด้านบนกว้าง 25 เซนติเมตร

3. วัตถุดิบในการเพาะเห็ด จะนิยมฟางข้าวเพราะหาง่ายและมีจำนวนมาก จะใช้ฟางทั้งต้น หรือฟางข้าวนวดก็ได้ ยังมีวัตถุดิบอีกหลายชนิดที่ใช้เพาะเห็ดฟางได้ เช่น เปลือกของฝักถั่วเขียว ถั่วเหลือง ต้นถั่ว เปลือกหิวมันสำปะหลัง ผักตบชวา เศษต้นพืช ต้นหญ้า ปัจจุบันใช้ขี้เลื่อยจากการเพาะเห็ดถุงพลาสติก และผักตบชวา ก็ให้ผลผลิตดี เท่ากับฟาง วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะเห็ด ต้องนำไปแช่น้ำให้เปียก ใช้เวลา ในการแช่ประมาณ 30 นาที ก็นำไปเพาะเห็ดได้

4. อาหารเสริม การเพิ่มอาหารเสริมจะเป็นการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น ที่นิยมคือไส้นุ่น เปลือกของฝักถั่ว ผักตบชวา จอกหูหนู มูลสัตว์ที่แห้งเช่นขี้ควาย ก่อนใช้ต้องแช่ให้ชุ่มน้ำเสียก่อน

5. เชื้อเห็ด เชื้อเห็ดฟางที่นำมาใช้ควรมีอายุ 5-10 วัน จะเห็นเส้นใยเจริญเติบโตเต็มถุงสีขาว

6. วัสดุคลุมแปลงเพาะเห็ด โดยทั่วไปจะใช้ผ้าพลาสติกคลุม เป็นการควบคุมความชื้นและรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเจริญของเห็ด ถ้าเพาะในที่โล่งแจ้ง จะใช้ฟางใบมะพร้าว ใบตาล เพื่อป้องการแสงแดด

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เมื่อมีการจัดเตรียมสถานที่และวัสดุเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มทำการเพาะเห็ดชั้นแรก โดยเห็ดฟางกองเตี้ยจะทำทั้งหมด 4 ชั้น

การเพาะชั้นที่ 1

          1. นำไม้แบบหรือแม่พิมพ์เพาะเห็ดวางบนพื้นที่เตรียมไว้ นำฟางที่แช่น้ำใส่ลงในไม้แบบขึ้นย่ำพร้อมรดน้ำจนแน่นพอดี และให้มีความหนาประมาณ 10 เซนติเมตร

          2. นำอาหารเสริมที่ชุ่มน้ำ โรยรอบขอบไม้แบบบนฟางบาง ๆ ทั้งสี่ด้าน

          3. ใส่เชื้อเห็ด เชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง มีน้ำหนักประมาณ 2 ขีด ขยี้เชื้อเห็ดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้ำน้อย แล้วแบ่งเป็น 4 ส่วน นำส่วนที่ 1 โรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่วทั้งสี่ด้าน

การเพาะชั้น 2-4

          ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับชั้นที่ 1 จนครบ 4 ชั้น

สำหรับชั้นที่ 4

          ซึ่งเป็นชั้นบนสุดให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดให้ทั่วผิวหน้าของแปลง แล้วนำฟางแช่น้ำมาคลุม หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร ใช้มือกดให้แน่น พอสมควร

          4. ยกแบบไม้ออก ควรยกด้านหัวและท้ายพร้อม ๆ กัน นำไปเพาะแปลงต่าง ๆ ไป โดยแต่ละกอง แปลงเพาะเห็ดให้ห่างกันประมาณ 10-15 เซนติเมตร

          5. ช่องว่างระหว่างแปลงเพาะเห็ดให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ด บนดินคลุมด้วยฟางบาง ๆ

          6. คลุมแปลงเพาะเห็ดด้วยผ้าพลาสติก ถ้าทำหลาย ๆ กองให้คลุมผ้าพลาสติก ยาวตลอดทุกแปลงเป็นผืนเดียวกัน

          7. นำฟางแห้ง คลุมทับบนผ้าพลาสติกอีกครั้ง

ข้อพึงระวัง ->

การดูแลรักษา

          1. การคลุมผ้าพลาสติกแปลงเพาะเห็ด เป็นการรักษาอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อเห็ด โดยในวันที่ 1-3 ไม่ต้องเปิดผ้าพลาสติกเลย

          2. เมื่อถึงวันที่ 3 ให้เปิดผ้าพลาสติกออก เพื่อเป็นการระบายอากาศปล่อยไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร (ในระยะนี้จะสังเกตเห็นเส้นใยของเห็ดเจริญบนอาหารเสริมและฟาง ยังไม่ เกิดตุ่มดอก)

          3. นำฟางแห้งคลุมทับบนแปลง หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วคลุมทับด้วยผ้าพลาสติกเดิมบนฟาง แล้วปิดทับด้วยวัสดุป้องกันแสงบนผ้าพลาสติกอีกครั้ง อาจจะเป็น ใบมะพร้าวแผง หญ้าคา หรือฟางแห้งก็ได้

          4. ต่อจากวันที่ 4 ของการเพาะให้เปิดแปลงเพาะเห็ดทุกวันเป็นการระบายอากาศและดูแลการเจริญของดอกเห็ดในวันที่ 5 จะเห็นตุ่มเห็ดสีขาวเล็กๆ บนฟางของแปลงเพาะเห็ด

          5. ในระยะนี้ถ้ากองเห็ดแห้งให้รดน้ำเบาๆ เป็นฝอยละเอียดบนฟางคลุมกองและรอบกอง ห้ามรดน้ำแปลงเพาะเห็ดเด็ดขาด จะทำให้ดอกเห็ดฝ่อและเน่า ถ้าเป็นฤดูฝนควรคลุมผ้า พลาสติกให้มิดชิด และทำร่องระบายน้ำรอบแปลงเพาะเห็ด

          6. ดอกเห็ดจะพัฒนาเจริญเติบโต และเก็บผลผลิตได้ราววันที่ 7-9 วัน ของการเพาะเห็ด แล้วจะเก็บดอกเห็ดไว้ราว 2-3 วัน ต่อจากนี้ไปจะได้ผลผลิตน้อย (ถ้าใช้ฟาง 10 กิโลกรัม จะได้ดอกเห็ด 1-2 กิโลกรัม)

          7. การเก็บผลผลิต การเก็บดอกเห็ดจะนิยมเก็บในตอนเช้า ๆ เพาะดอกเห็ดจะตูมเต็มที่ในช่วงตี 3-4 ถ้าช้ากว่านี้ดอกเห็ดจะบานจะขายไม่ได้ราคา การเก็บดอกให้ใช้มือจับตรง โคนดอกโยกนิดหน่อยแล้วดึงออกมา ถ้าติดกันหลาย ๆ ดอกให้เก็บทั้งหมด อย่าให้มีชิ้นส่วนขาดหลงเหลืออยู่จะทำให้เน่าและเห็นสาเหตุการเน่าเสียของดอกเห็ดได้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา