ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำนาอินทรีย์

โดย : นายเหลียน ขันติวงษ์ วันที่ : 2017-03-21-22:56:48

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๔๕ หมู่ ๙ ซอย - ถนน - ตำบลบึงมะลู

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จุดเริ่มต้นเริ่มหันมาทำนาอินทรีย์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๘ เพราะประสบปัญหาขาดทุนจากการทำนากว่า ๒๐ ไร่ ประกอบกับการรับรู้ถึงแนวคิดการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงตัดสินใจหันมาทำนาแบบอินทรีย์ คือพึ่งพาธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมี ให้มากที่สุด

วัตถุประสงค์ ->

ลดต้นทุน การผลิต 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกควรมีคุณสมบัติด้านการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูก และให้ผลผลิตได้ดีแม้ในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าว และมีคุณภาพเมล็ดตรงกับความต้องการของผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ การผลิตข้าวอินทรีย์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ด้วยสภาพพื้นที่นาภาคอีสานขาดแคลนน้ำการทำนา จึงใช้วิธีการการหว่านข้าวแห้ง การควบคุมหญ้าใช้วิธีการไถหลายๆรอบ (มีรถไถของตนเอง)

          การเตรียมดิน ใช้การไถกลบตอซัง และปลูกปุ๋ยพืชสด พวกปอเทือง ถั่วพร้า

การใช้น้ำหมักจากสัตว์  เก็บหอยเชอรี่ หรือปูนา นำมาล้างน้ำให้สะอาด ไม่มีขี้โคลนติด ใส่ถุงปุ๋ยประมาณครึ่งถุง ใช้ไม้ตี หรือทุบให้เปลือกแตก อาจใช้ครกไม้หรือครกหินขนาดใหญ่ตำก็ได้ เพื่อเวลาหมักกากน้ำตาลจะได้สัมผัสกับเนื้อหอย หรือเนื้อปูโดยตรง ชั่งน้ำหนักวัสดุที่ใช้เทใส่ภาชนะหรือถังหมัก ชั่งกากน้ำตาลหนักเท่ากับวัสดุที่ใช้ หรืออัตราส่วนระหว่าง หอยเชอรี่หรือปูนา:กากน้ำตาล=1:1 โดยน้ำหนัก คนให้เข้ากันดี ปิดฝาไม่ต้องแน่น เพื่อให้แก๊ซที่เกิดระหว่างการหมักมีโอกาสถ่ายเทได้สะดวก หมักไว้ 1 เดือน เติมน้ำสะอาดอีก 1 เท่า หรือให้ท่วมวัสดุ คนให้เข้ากันดี หมักต่ออีก 1 เดือน จึงนำน้ำหมักมากรองโดยตาข่ายสีฟ้า หรือมุ้งลวด นำของเหลวที่ได้จากการกรองมาใช้ประโยชน์ นำไปฉีดระยะข้าวแตกกอหรือหลังจากปักดำข้าวไปแล้ว 30 วันระยะข้าวเริ่มตั้งท้อง(แนะนำให้ใช้น้ำหมักผลไม้)อัตรา 250 ซีซีต่อไร่ ผสมน้ำเปล่า 50 เท่าพ่นทั่วแปลง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา