ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

โดย : นางจารุวรรณ สืบมา วันที่ : 2017-03-21-22:00:31

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๑๕ หมู่ ๑๐ ซอย - ถนน - ตำบลบึงมะลู

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เริ่มเพาะเห็ดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ เริ่มจากการใช้ขี้เลื่อยยางพาราเป็นวัตถุดิบ ต่อมาราคาขี้เลื่อยแพงขึ้นจึงได้ทดลองนำฟางข้าวมาเป็นวัตถุดิบแทนทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเพราะมีกลิ่นหอมเหมือนเห็ดฟาง ซึ่งผู้ที่เป็นต้นแบบในการเพาะเห็ดคือคุณพ่อชารี เซียงพฤกษ์  ท่านทำให้เห็นว่าการเพาะเห็ดนั้นทำให้เกิดรายได้ให้กับครัวเรือนและสามารถมีอาหารบริโภคได้ตลอด

วัตถุประสงค์ ->

ทำไว้ทานในครอบครัว เป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในครัวเรือน และสร้างรายได้ในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เชื้อเห็ดฟาง    ผักตบชวาหรือเปลือกกล้วย     รำอ่อน                                                 ฟางข้าวแช่น้ำ ๑ คืน      แป้งข้าวจ้าว                          

อุปกรณ์ ->

ตะกร้าพลาสติก พลาสติก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เชื้อเห็ดฟางย่อยเป็นชิ้นเล็ก ๆ คลุกอาหารเสริม โรยเชื้อเห็ดฟางรอบข้าง ทำสลับเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนครบ ๔ ชั้น รดน้ำให้ทั่วแล้วโรยเชื้อเห็ด คลุมด้วยพลาสติกในเก็บไว้ในร่ม

การดูแลรักษา

          1. การคลุมผ้าพลาสติกเป็นการรักษาอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อเห็ดประมาณ 1-4 วันแรกไม่ต้องเปิดผ้าพลาสติกเลย รักษาอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 35-37 องศาเซลเซียส

          2. วันที่ 4 ตอนเย็นให้เปิดผ้าพลาสติกออก เพื่อระบายอากาศปล่อยไว้ประมาณ 10-20 นาที     เสร็จแล้วคลุมผ้าพลาสติกไว้เหมือนเดิม

          3. วันที่ 5-8 รดน้ำรอบๆกระโจมหรือสุ่มไก่ให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ ห้ามรดในตะกร้าเด็ดขาด จะทำให้ดอกเห็ดฝ่อและเน่า รักษาอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส ถ้าอากาศภายในกระโจมหรือสุ่มร้อนจัดต้องเปิดระบายอากาศหรือเจาะรูรอบๆข้างเพื่อให้อากาศถ่ายเท

          4. วันที่ 9-15 เห็ดฟางจะเริ่มออกดอก ควรเก็บเฉพาะดอกที่ได้ขนาด เก็บเสร็จแล้วคลุมพลาสติกไว้เหมือนเดิม

ข้อพึงระวัง ->

ต้องควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ ห้ามเปิดพลาสติกบ่อยเพาะจะทำให้เห็ดฝ่อได้

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา