ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เพาะพันธุ์กบ

โดย : นายชำนาญ สุภาพ วันที่ : 2017-03-21-20:39:06

ที่อยู่ : 155 หมู่ 2 ตำบลพิงพวย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ไปอบรมการเลี้ยงกบ ณ บ้านรุ่งรวี จึงเกิดความสนใจ จึงกลับไปศึกษาเพิ่มเติมจากผู้ใหญ่บ้านทุ่งรวี แล้วจึงกลับมาทดลองเลี้ยงที่บ้านของตนเอง

วัตถุประสงค์ ->

สร้างงานสร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์กบ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอน/วิธีการ

        ขนาดบ่ออัตราการปล่อยขนาด 4 x 4 เมตร ทำแอ่งน้ำขนาด 3 x 3 เมตร ลึก 20 ซ.ม. เลี้ยงกบได้ประมาณ 1,000 ตัว หากทำเพื่อไว้กินในครัวเรือนควรมีขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร ทำบ่ขนาด ก้าง 1.20 เมตร ยาว 2 เมตร ลึก 20 ซ.ม. ปักไม้หลักรอบทั้ง 4 ด้าน ห่างกันหลักละ 2 เมตร นำมุ้งเขียวล้มอรอบ 2 ชั้น โดยชั้นล่างฝังลงดิน 20 ซ.ม. ป้องกัน หนู งู และกบมุดออก ด้านบนพรางแสงด้วยทางมะพร้าว ในบ่อวางกระเบื้องแตก ถังแตก ไม้ ไว้เป็นที่หลบซ่อนของกบ

        การเตรียมบ่อพัก

1. ล้างบ่อให้สะอาด ตากบ่อทิ้งไว้ 2 - 3 วัน

2. เมื่อถึงเวลากบผสมพันธุ์ ช่วงเย็นก่อนมืดให้เติมน้ำสะอาด 7 – 10 ซ.ม.

3.นำน้ำแข็งละลายสาให้ทั่วบ่อ นำกิ่งไม้ หรือเถาผักบุ้ง ลอยในบ่อให้เป็นที่ยึดของกบ

4. นำพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์มาปล่อย กบจะไข่ภายในเช้าของวันรุ่งขึ้นจึงนำพ่อแม่กบออก

5. ไข่กบจะฟักออกเป็นลูกอ๊อด ภายใน 1 วัน โดยใน2 วันแรกยังไม่ต้องให้อาหารเพราะยังใช้ไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเองอยู่

6. วันที่ 3 เริ่มให้อาหาร โดยใช้อาหารปลาดุกหรือรำละเอียด ปลาบด ไข่แดงต้ม หรือไข่ตุ๋น อย่างใดอย่างหนึ่งโดยอย่าให้มากเพราะจะทำให้น้ำเสียเร็ว

7. ลูกอ๊อด อายุ 20- 30 วัน จะโตเป็นลูกกบเต็มวัยครบ 4 ขา ให้หากระดานหรือขอนไม้ให้เกาะและคัดลูกกบที่เริ่มตัวเต็มวัยขนาดเท่ากันไปอนุบาลอีกบ่อหนึ่งเพื่อป้องกันการกินกันหรือตอดหางกันทำให้เป็นแผล

8. เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 40 วัน ก็สามารถนำมาประกอบอาหารในครัวเรือนได้ โดยจับตัวที่โตมาบริโภคก่อน

 

ข้อพึงระวัง ->

ข้อสำคัญ ต้องมีการคัดขนาดกบอยู่เป็นประจำ เพื่อไม่ให้กบกินกันเอง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา