ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทอผ้าไหม

โดย : นางสมจิตร คำศรี วันที่ : 2017-03-21-17:47:20

ที่อยู่ : 3 ม. 6 บ. หนองม่วง ต. ดู่ อ. กันทรารมย์ จ. ศรีสะเกษ 33130

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดบ่งบอกถึงต้นกำเนิดของการ ทอผ้า แต่ก็สามารถเทียบเคียงกับหลักฐานอื่น ๆ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันโดย มีเหตุผลหลายอย่างสนับสนุนแนวคิดที่ว่า การทอผ้ามีวิวัฒนาการมาจากการ ทำเชือก ทอเสื่อ และการจักสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายเชือกทาบที่ปรากฏ ร่องรอยให้เห็นบนภาชนะดินเผา ซึ่งพบเป็นจำนวนมากตามแหล่งโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ เรื่อยมาจนถึงแหล่งโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงกล่าวได้ว่าการทอผ้าเป็นงานหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกงานหนึ่ง

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อให้คนในสังคมหันมาอนุรักษ์ผ้าไหมไทย

2.เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย

3.เพื่อให้ผู้คนในรุ่นหลังได้ศึกษาต่อ

4.เพื่อสืบค้นประวัติของผ้าไหมมากยิ่งขึ้น

5.ให้คนรุ่นหลังอนุรักษ์ผ้าไหม

        6.เพื่อให้ผู้คนได้ศึกษาเกี่ยวกับผ้าไหม

7.เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย

8.เพื่อรักษาลวดลายของผ้าไหม

9.เพื่อ นำภูมิปัญญาของท้องถิ่นการทอผ้าไหมมานำเสนอวิธีดำเนินการขั้นตอนและประโยชน์ จากการทอผ้าไหมยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และยังสร้างรายได้ให้ กับครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เส้นไหม เส้นด้าย ต่างๆ

อุปกรณ์ ->

1.วัตถุดิบ วัตถุดิบที่ใช้ในการทอ ได้แก่ เส้นใยไหมพื้นเมือง หรือ ไหมพันธุ์ สีเคมี หรือ สีวิทยาศาสตร์และน้ำ
2.อุปกรณ์ในการย้อมสีไหม ได้แก่ หม้อฟอกไหม หม้อย้อมสี ไม้พาย เครื่องชั่งและเตา
3.เครื่องมือในการเตรียมเส้นไหม คือ หลอด ฟืม ใน หลา อัก กระสวย เล็ง ไม้สอด และตะกอลายขิด
4.วัสดุ อุปกรณ์ในการทอ ได้แก่ กี่พื้นเมือง หรือ กี่มือ ฟืม เขาหูก ไม้ ม้วนผ้า ไม้สำหรับนั่งเวลาทอ คาน เหยียบ คานแขวน กระสวย หลอดไหมพุ่ง เล็ง ไม้ลาย ไม้เก็บขิด อักหลา ไม้ตีขิด ตะกอเก็บลาย และตัว อย่างลายขิดที่ต้องการจะเก็บลาย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเตรียมเส้นไหม จะต้องนำเส้นมาคัดเส้นไหมที่มีขนาดเส้นสม่ำเสมอ และมีการตกแต่งไจไหมที่เรียบร้อย คือ เส้นไหมจัดเรียงแบบสานกันเป็นตาข่ายหรือเรียกชื่อทางวิชาการว่าไดมอนด์ครอส มีการทำไพประมาณ 4-6 ตำแหน่ง ขนาดน้ำหนักไหมต่อไจโดยประมาณ 80-100 กรัม ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานในขั้นตอนการลอกกาว ย้อมสี และการกรอเส้นไหม

2. การลอกกาวเส้นไหมทั้งเส้นพุ่งเส้นยืน โดยวิธีการใช้สารธรรมชาติ การเตรียมสารลอกกาวธรรมชาติ นำกาบต้นกล้วยมาทำการเผาไฟจนกระทั่งเป็นขี้เถ้า นำขี้เถ้าไปแช่น้ำใช้ไม้คนให้ทั่ว ปล่อยทิ้งไว้ให้ขี้เถ้าตกตะกอนแบ่งชั้นน้ำและตะกอน ทำการกรองน้ำใสที่อยู่ส่วนบนชั้นตะกอนด้วยผ้าบาง สารที่ได้ คือสารลอกกาวธรรมชาติ นำเส้นไหมที่ได้เตรียมไว้แล้วมาทำการต้มลอกกาวด้วยสารลอกกาวธรรมชาติ เพื่อให้กระบวนการลอกกาวเส้นไหมสมบูรณ์ นำเส้นไหมที่ทำการลอกกาวเสร็จเรียบร้อยออกจากหม้อต้ม นำไปล้างน้ำร้อนน้ำอุ่น แล้วบีบน้ำออกจากเส้นไหม นำเส้นไหมไปตากผึ่งแห้งที่ราวตาก ทั้งนี้ให้ทำการกระตุกเส้นไหมเพื่อให้มีการเรียงเส้นไหมในแต่ละไจ อย่างเรียบร้อย นั่นคือการลอกกาวเส้นไหม เราก็จะได้เส้นไหมที่พร้อมจะย้อมสี เพื่อนำไปทอผ้าต่อไป

3. การเตรียมฟืมทอผ้า ทำการค้นเส้นด้ายลักษณะเดียวกับการค้นเส้นยืน จากนั้นนำเส้นด้ายมาร้อยเข้ากับฟืม โดยการร้อยผ่านช่องฟันหวีแต่ละช่องทุกช่องๆละ2เส้น แล้วใช้ท่อนไม้ไผ่เล็กๆสอดเข้าในห่วงเส้นด้ายที่ร้อยเข้าช่องฟันหวีเพื่อทำ การขึงเส้นด้ายให้ตรึงและจัดเรียงเส้นด้ายให้เรียบร้อย ส่วนด้านหน้าของฟืมก็จะมีท่อนไม้ไผ่เช่นเดียวกับด้านหลังเพื่อทำการขึงเส้น ด้ายให้ตรึงเช่นเดียวกับด้านหลังของฟืมที่กล่าวมาแล้ว จากนั้นให้ทำการเก็บตะกอฟืมแบบ2ตะกอ เราก็จะได้ชุดฟืมทอผ้าที่พร้อมสำหรับการทอผ้า

4. การย้อมเส้นไหมยืน เตรียมน้ำย้อมสีเส้นไหม โดยทั่วไปผ้าแพรวาในสมัยโบราณเส้นยืนจะใช้สีแดง ที่มาจากครั่ง นำครั่งมาตำให้ละเอียด จากนั้นนำไปแช่น้ำนานประมาณ 1 คืน ทำการกรองน้ำย้อมสีด้วยผ้าบาง ปริมาณครั่งที่ใช้ในการเตรียมน้ำย้อมประมาณ 5 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตรต่อเส้นไหม 1 กิโลกรัม นำเส้นไหมที่เตรียมไว้มาทำการย้อม โดยเริ่มจากการการย้อมเย็นเพื่อให้น้ำย้อมสีสามารถซึมเข้าไปในเส้นไหมได้ อย่างทั่วถึง และสม่ำเสมอ ป้องกันการเกิดสีด่างบนเส้น

 5. การเตรียมเส้นยืน  นำเส้นไหมยืนที่ทำการย้อมสีด้วยสีแดงเข้มของครั่ง มาทำการค้นเครือหูก หรือที่เรียกว่าการค้นเส้นยืน โดยใช้หลักเฝือเป็นอุปกรณ์ในการค้นเส้นยืน การเตรียมค้นเส้นยืนจะเริ่มต้นโดยการนำเส้นไหมไปสวมเข้าในกง เพื่อทำการกรอเส้นไหมเข้าอัก

6. การต่อเส้นยืน  การต่อเส้นยืนคือการนำเส้นไหมเส้นยืนมาผูกต่อกับเส้นด้ายในซี่ฟันหวีโดยทำ การต่อที่ละเส้นจนหมดจำนวนเส้นยืน เช่น หากหน้ากว้างของผ้าเท่ากับ 22 หลบ ก็จะต้องทำการต่อเส้นยืนเท่ากับ 1,760 เส้น เป็นต้น เมื่อต่อเส้นไหมเข้ากับเส้นไหมที่อยู่ในซี่ฟันหวี่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการม้วนเส้นยืนด้วยแผ่นไม้ พร้อมทั้งการจัดเรียงระเบียบของเส้นไหมตามช่องฟันฟืมให้เป็นระเบียบเรียบ ร้อย จากนั้น ก็ทำไปติดตั้งเข้ากับหูกทอผ้าหรือกี่ทอผ้า เพื่อการเก็บเขาลายหรือตะกอต่อไป ก่อนทำการทอผ้าจะต้องใช้แปรงจุ่มน้ำแป้งทาเคลือบเส้นยืนที่อยู่ในกี่ก่อน เพื่อทำให้เส้นกลม มีความแข็งแรง เส้นไหมไม่แตกเป็นขนเนื่องจากกระทบกับช่องฟันฟืมเวลาทอผ้า

7. การเตรียมเส้นพุ่งที่ทำการย้อมสีต่างๆ การเตรียมน้ำย้อมสีเส้นไหม โดยทั่วไปผ้าแพรวาโบราณจะมีจำนวนสีหลากหลายสีในแต่ละลายหลัก ซึ่งสีที่นิยมใช้กันมากก็จะเป็นสีเข้ม เช่น สีเหลือง สีน้ำเงินเข้ม สีเขียว สีแดง เป็นต้น ซึ่งแต่ละสีก็จะได้มาจากชิ้นส่วนของพืชและสัตว์

8. การกรอเส้นพุ่งเข้าหลอด  การกรอเส้นพุ่งเข้าหลอด นำเส้นไหมที่ย้อมสีต่างๆแล้วมาเข้ากง แล้วทำการกรอเส้นไหมเข้าหลอด เพื่อเตรียมเป็นเส้นพุ่งเพื่อใช้ในการเกาะลาย และใส่กระสวยในการทอขัด

9. การเก็บเขาลาย / การเก็บตะกอลายขัด

ข้อพึงระวัง ->

ไม่มี

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา