ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลูกผักสวนครัว

โดย : นายวิเชียร พายุพักตร์ วันที่ : 2017-03-21-17:35:25

ที่อยู่ : 65 ม. 6 บ. หนองม่วง ต. ดู่ อ. กันทรารมย์ จ. ศรีสะเกษ 33130

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผักเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารให้แร่ธาตุวิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์จากข้อมูลวิจัยกล่าวว่า มนุษย์เราควรบริโภคผักวันละประมาณ 200 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินอย่างเพียงพอ

พืชหลายชนิดใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งอย่างหรือเอนกประสงค์ หากเลือกปลูกพืชผสมหลายอย่างในพื้นที่เดียวกันต้องอาศัยคำแนะนำทางวิชาการ และประสบการณ์ หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน เพราะพืชบางชนิดจะปลูกร่วมกันได้ บางชนิดไม่ได้ การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักสวนครัวลดรายจ่ายด้านอาหารในครอบครัว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกาดำเนินชีวิตทางสายกลาง ยึดหลักการพึ่งพาตนเองการเกษตรดั้งเดิมของไทย ที่ปฏิบัติกันมานานชั่วลูกหลาน ก็คือ การเกษตรธรรมชาติ การเกษตรอินทรีย์ การเกษตรชีวภาพ การวนเกษตร ซึ่งอ่านดูชื่อแล้วเราอาจจะไม่คุ้นเคย หรือไม่เข้าใจ จึงขอสรุปให้ทราบว่า เป็นการเกษตรแบบโบราณเรานั่นเอง คือ ใช้แรงงานจากคน จากสัตว์เลี้ยง ปุ๋ยที่ได้ก็เกิดจากมูลสัตว์ ใบไม้ใบตองนำมากองสุมหมักไว้เมื่อเน่าเปื่อยก็นำไปใส่ต้นไม้ หรือไร่นา ส่วนพืชที่ปลูกก็คือ พืชที่เป็นอาหารประจำวัน เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่ว งา การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อให้ตนเองและสมาชิกในครอบครัวได้บริโภคผักสวนครัวที่สะอาด ปลอดสารพิษ ซึ่งจะส่งผลให้ตนเองและคนในครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรง ห่างไกลจากสารพิษจากผักสวนครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไม่มี

อุปกรณ์ ->

1. เมล็ดพันธุ์ผักชนิดต่างๆตามที่ต้องการ

            2. จอบ เสียม พลั่ว บัวรดน้ำผัก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1 ถามตัวเองก่อน ว่าต้องการ ปลูกผักสวนครัว เพื่อวัตถุประสงค์ใดจากนั้นหาข้อมูลหรือเข้าอบรมหาความรู้เพิ่มเติม

2 ถามไถ่ คนในบ้านถึงพืชที่ชอบรับประทาน หรือเลือกชนิดที่ใช้งานในครัวบ่อยๆ รวมถึงกำหนดปริมาณการปลูกให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในบ้าน

3 วางแผนการ ปลูกผักสวนครัว โดย จัดตารางเวลาให้สอดคล้องกัน ว่ามีเวลาดูแลส่วนนี้มากน้อยแค่ไหน หากไม่ค่อยอยู่บ้านหรือไม่มีเวลาดูแล แนะนำให้ปลูกพืชยืนต้นอย่างสมุนไพรต่างๆ เพราะต้องการการดูแล น้อยกว่าผัก ซึ่งเป็นพืชล้มลุก

4  เลือกทำเลในบ้าน ว่าบริเวณไหนได้แสงแดดทั้งวัน บริเวณไหนได้แสงแดดเพียงครึ่งวัน เพื่อเลือกชนิดของพืชให้เหมาะกับแสง อีกทั้งดูว่าบริเวณนั้นเป็นพื้นดินหรือพื้นซีเมนต์จากนั้นลงมือเขียนแปลน คร่าวๆว่าตรงไหนจะปลูกอะไร

5 ปรุงดินให้พร้อมโดยใช้ดินเก่าที่มีอยู่ผสมด้วยปุ๋ยคอก เศษใบไม้ และพืชผักจากครัว เปลือกไข่ กากกาแฟ แล้วแต่วัสดุที่มี นำมาผสมรวมกัน เติมกากน้ำตาลเพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์ จากนั้นใส่จุลินทรีย์อีเอ็ม ตามเพื่อช่วยเร่งการย่อยสลาย แล้วรถน้ำพอชุ่ม อย่าให้แฉะ ผสมใส่ถังที่เตรียมไว้ รอประมาณ 2 ถึง 4 สัปดาห์ให้เศษพืชผักที่ใส่ลงไปย่อยสลาย

6 เตรียมแปลงปลูกโดยสร้างสรรค์รูปแบบตามใจชอบ วัดขนาดความกว้างของแปลงตามระยะมือเอื้อมสะดวก โดยอย่าลืมเว้นทางเดินระหว่างแปลง ให้สามารถเข้าไปดูแลได้ รวมถึงรักษาความสะอาดบริเวณโดยรอบ หากพื้นที่จำกัดหรือบริเวณนั้นเป็นพื้นซีเมนต์ ไม่สะดวกสำหรับทำแปลงอาจปลูกพืชในกระถางตั้งพื้น หรือกระถางแขวนได้

7 เพาะเลี้ยงไส้เดือน โดยใช้ลิ้นชักพลาสติกเก่าๆมาเจาะรูที่ก้นแต่ละชั้น ยกเว้นชั้นล่าง หรือจะเลี้ยงใส่กะละมังวางซ้อนกันเป็นชั้นๆก็ได้ ใช้ปุ๋ยคอก ดินขุยมะพร้าวผสมให้เข้ากัน แล้วรดน้ำพอชื้น ใส่ในภาชนะที่จัดเตรียมไว้แล้ววางในที่ร่ม เพราะไส้เดือนชอบอยู่ในที่ชื้นเย็นและมืด ใช้เศษผักที่ปลูกเป็นอาหารเลี้ยงไส้เดือน ไม่นานจะได้มูลไส้เดือนที่มีสีดำ รวนซุย ซึ่งเป็นตัวช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินอย่างดีเลิศ อีกทั้งยังช่วยปรับโครงสร้างดิน ช่วยให้รากพืชแผ่กระจายได้ดี และใช้ได้กับพืชทุกชนิด

8 สร้างระบบนิเวศในบริเวณใกล้เคียงกัน อย่าลืมปลูกดอกไม้ไม้ประดับ หรือผักที่ให้ดอกเพื่อเรียกแมลงตัวดีมากำจัดแมลงที่ทำลายพืช และหมั่นสังเกต การเติบโตของพืชผักก่อนเก็บมาบริโภค จะได้ผักที่ปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน

9 เตรียมต้นอ่อนหาเมล็ดพันธุ์ดี มาเพาะ ควรซื้อจากร้านที่วางเมล็ดไว้ในที่ร่ม ไม่ตากแดด ตากฝน ก่อนเพาะควรอ่านรายละเอียดข้างซอง ก่อนพืชบางชนิดมีเมล็ดแข็งอาจต้องทุบ หรือแช่น้ำอุ่นทิ้งไว้ให้รากงอกก่อนลงถาด เพราะหลังลงถาดเพาะแล้วควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปิดหน้าดินเพื่อรักษาความ ชื้น ส่วนสมุนไพรหลายชนิดใช้วิธีเพราะชำ เช่น โรสแมรี่ โหระพา ออมแซบ ก่อนชำ ควรลิดใบออกให้เหลือเพียงเล็กน้อย เพื่อลดการคายน้ำ ผักบางชนิดอาจใช้วิธีแยกหนอได้อย่าง คะน้าปูเล่ ควรพรางแสงให้ต้นอ่อนและรดน้ำอย่างเบามือ

10 ย้ายต้นกล้า ประมาณ 1 สัปดาห์เมื่อต้นอ่อนของผักผลิใบ อาจแยกมาปลูกลงภาชนะเล็กๆใบละ 1 ต้นประมาณ 1 เดือนเมื่อต้นกล้าแข็งแรง มีใบเยอะขึ้น จึงนำออกไปปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ เพื่อรับแสงแดด โดยนำดินที่เตรียมพร้อมแล้วใส่ลงในแปลงเกลี่ยให้เรียบเสมอกันนำแนวร่องปลูก เพื่อความเป็นระเบียบจากนั้นใช้ พลั่วมือขุดดินเป็นหลุม โดยเว้นระยะห่างแต่ละหลุมให้พืชเติบโตนำต้นกล้าลงปลูกอย่างเบาๆ มือจากนั้นคุมหน้าดินด้วยฟางหรือหญ้าแห้งเพื่อรักษาความชื้นแล้วรดน้ำตาม

ข้อพึงระวัง ->

ไม่ควรรดน้ำผักสวนครัวในช่วงเวลากลางวัน เวลาที่ควรรดน้ำผักมากที่สุดคือเวลาเช้าๆและเวลาค่ำ เท่านั้น ถ้าหากรดนำในเวลากลางวันที่มีแดดแรง จะทำให้ผักเหี่ยวเฉาหรือไหม้เพราะน้ำหรืออุณหภูมิที่สูงเกินไป

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา