ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน

โดย : นายบรรหาญ แสงศิลา วันที่ : 2017-03-21-11:12:54

ที่อยู่ : 40/1 บ้านขี้เหล็ก ม.7 ต.โนนสัง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ก่อนหน้านี้ตัวเองไปทำงานอยู่กรุงเทพ   เมื่อถึงกำหนดลาพักร้อนจึงลากลับมาบ้าน  พอกลับมาถึงบ้านมีความรู้สึกว่าตนเองนั่ง ๆ นอน ๆ อยู่เฉย ๆ ไม่ได้ จึงไปช่วยงานน้าชายซึ่งเลี้ยงปลาดุกอยู่  “ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่กลับมาพักที่บ้านก็คลุกคลีอยู่ในบ่อปลาดุกจนกระทั่งเกิดความคิดว่า หลังจากหมดสัญญาที่ไปทำงาน       จึงกลับมายึดอาชีพเกษตร เพราะจะได้อยู่กับครอบครัว อีกอย่างหากเรารู้จักการจัดการและดูแลกิจการให้ดี ๆ การทำเกษตรในบ้านราก็มีรายได้ไม่ต่างจากการไปทำงานที่กรุงเทพ

วัตถุประสงค์ ->

เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธปลาดุก 

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ภายหลังจากการขุดบ่อเรียบร้อยแล้ว (บ่อใหม่) หรือจับปลาออกจากบ่อเรียบร้อยแล้ว(บ่อเก่า) เราจะต้องตากดินอย่างน้อย 1 เดือน จากนั้นจึงผันน้ำเข้าให้เต็มบ่อแล้วจึงเติมปูนขาว 12 ลูก และ ซีโอไรท์ 5 ลูก (ขนาดบ่อ 4 ไร่ ลึก 1.5 เมตร) และวัดค่า pH โดยค่า pH ที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของปลาดุกคือ 4.5 จากนั้นจึงปล่อยลูกปลาดุกลงในบ่อ 1 แสนตัว โดยการเลี้ยงนั้น ในระยะ 1 เดือนแรกจะใช้อาหารเม็ดสลับกับอาหารสด (โครงไก่บดละเอียด) และภายหลังจากเดือนที่สองเป็นต้นไปจะให้อาหารสดเพียงอย่างเดียว โดยปลา 1 แสนตัว หากเป็นปลาอายุตั้งแต่ 2-5 เดือนจะกินอาหารวันละ 500 กิโลกรัม คิดเป็นต้นทุนค่าอาหารบ่อละ 3,000 บาท รวมจำนวน 5 บ่อคิดเป็นต้นทุนค่าอาหารวันละ 15,000 บาท

ทั้งนี้ในการเลี้ยงปลาดุกนั้นจะต้องใช้เวลาในการเลี้ยง 5 เดือนจึงจะสามารถจับขายได้ โดยปลาดุก 1 บ่อ (1 แสนตัว) จะให้น้ำหนักประมาณ 15 ตัน (1,5000 กิโลกรัม) โดยราคารับซื้อหน้าบ่อจากพ่อค้าในปัจจุบันอยู่ที่กิโลกรัมละ 46 บาท เมื่อหักลบต้นทุนการผลิตแล้ว ในการเลี้ยงปลาแต่ละรอบจะได้กำไรประมาณ 160,000 -170,000 บาท และใน 1 ปีจะสามารถเลี้ยงได้ 2 รอบ/บ่อ

ข้อพึงระวัง ->

-

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา