ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทอผ้ายกดอก

โดย : นายอภิวัฒน์ ไชยวงศ์ วันที่ : 2017-03-08-14:24:19

ที่อยู่ : 34 ม.4 ต.เวียงยอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอ และรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องหาอาชีพเสริม เพื่อหารายได้ให้เพิ่มขึ้น และต้องการรักษาภูมิปัญญา จึงได้จัดตั้งกลุ่มทอผ้ายกดอกเพื่อจัดจำหน่าย โดยมีผู้รับซื้อ และ จัดจำหน่ายในงานต่าง ๆ ทำให้มีรายได้เสริมเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

หารายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เส้นไหมสำหรับการทอผ้า ประกอบด้วย

1.1 ไหมยืน เป็นไหมควบ 3 หรือไหมควบ 4 
1.2 ไหมพุ่ง เป็นไหมควบ 6 ตีเกลียว จะมีลักษณะเส้นใหญ่กว่าไหมยืน 
1.3 ดิ้นเงิน ดิ้นทอง

 

2. อุปกรณ์สำหรับกรอเส้นไหม ประกอบด้วย

2.1 ไน (เพี่ยนพัดไหม) สำหรับกรอเส้นไหมมี 2 ชนิดคือ ไนสำหรับกรอไหมหลอดใหญ่ และไนกรอไหมหลอดเล็ก 
2.2 ระวิง (ก่วงกว๊าง) สำหรับเข็นเส้นไหมที่จะกรอ 
2.3 หลอด สำหรับเส้นไหม มีหลอดใหญ่และหลอดเล็ก

 

3. อุปกรณ์สำหรับการสาวไหม ประกอบด้วย

3.1 ม้าเดินด้าย (ที่โว้นหูก) สำหรับเดินเส้นไหมตามจำนวนรอบที่คำนวณไว้ 
3.2 กระบอก สำหรับคล้องเส้นไหมขณะสาวไหม 
3.3 ราว สำหรับใส่หลอดไหมยืน (หลอดใหญ่) 
3.4 ไม้ไผ่ 2 อัน ยาวประมาณ 1.20 เมตร หนาประมาณ 2 มิลลิเมตร สำหรับคั่นเส้นไหมเมื่อเดินครบรอบม้าเดินเส้นไหม 
3.5 เชือก สำหรับคั่นเส้นไหมและร้อยเส้นไหมเมื่อครบรอบเดิน

 

4. อุปกรณ์สำหรับร้อยเส้นไหมเข้าฟืมและเข้าหัวม้วน ประกอบด้วย

4.1 ฟืมหรือฟันหวีผลิตจากสแตนเลส สำหรับร้อยเรียงเส้นไหมเป็นช่องๆ 
4.2 ไม้กวัก (เข็มกวักหรือไม้ดึงด้าย) สำหรับกวักเส้นไหมร้อยเข้าช่องฟืม 
4.3 ท่อแอสลอนไม้กลมหรือไม้รวก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.50 เมตร 2 อัน 
4.4 แท่นไม้ สำหรับปักไม้ทั้ง 2 อัน 
4.5 ม้านั่งสองตัว สำหรับคนดึงและคนร้อยเส้นไหมเข้าฟันหวี 
4.5 ม้าก็อปปี้เส้นไหม สำหรับอัดเส้นไหมในขณะเข้าหัวม้วน 
4.6 ม้าม้วนด้าย 
4.7 ไม้ปลายแหลม สำหรับกรีดหรือแหวกเส้นไหมให้กระจายออกจากกัน เวลาม้วนไหมเข้าหัวม้วน 
4.8 หัวม้วน สำหรับม้วนเก็บไหม เพื่อเตรียมนำขึ้นกี่ทอผ้า 
4.9 ไม้คนัดไขว้หรือไม้ไขว้ผูกติดกัน 2 อัน สำหรับแยกเส้นไหม

 

5. อุปกรณ์สำหรับการเก็บเขาย่ำ ประกอบด้วย

5.1 ท่ออลูมิเนียมแบบบาง 4 อัน 
5.2 ไม้คนัดไขว้ (ไม้ไขว้) 
5.3 ด้ายไนลอน สำหรับผูกเก็บเขาย่ำทุกเส้น 
5.4 ไม้ดิ้ว สำหรับสอยเก็บเส้นไหมและสำหรับมัดสอดด้ายไนลอน 
5.5 ไม้เภาหรือไม้เต่าเก็บเขา สำหรับเก็บเขาย่ำ (ไหมยืน)

 

6. อุปกรณ์สำหรับการคัดลาย ประกอบด้วย

6.1 กระดาษกราฟที่ออกแบบลวดลายไว้ 
6.2 เหล็กหรือนิทติ้ง สำหรับนับเส้นไหมเวลาคัดลายตามกระดาษกราฟ 
6.3 ไม้ดิ้ว (ไม้เรียว) สำหรับเก็บลายที่คัดได้ และสำหรับร้อยด้ายไนล่อน 
6.4 ไม้เภาหรือไม้เต่า สำหรับเก็บเขาดอก 
6.5 ด้ายไนล่อน สำหรับมัดเก็บเขาดอกหลังจากคัดลาย 
6.6 ไม้หลาบหรือไม้คนัด สำหรับยกเส้นไหม

 

7. อุปกรณ์สำหรับการทอผ้า ประกอบด้วย

7.1 กี่ทอผ้าแบบพื้นเมือง 
7.2 กระสวยสำหรับใส่ไหมพุ่ง 
7.3 ไม้เหยียบ สำหรับผูกติดกับตะกอเขาเหยียบ

อุปกรณ์ ->

1. เส้นไหมสำหรับการทอผ้า ประกอบด้วย

1.1 ไหมยืน เป็นไหมควบ 3 หรือไหมควบ 4 
1.2 ไหมพุ่ง เป็นไหมควบ 6 ตีเกลียว จะมีลักษณะเส้นใหญ่กว่าไหมยืน 
1.3 ดิ้นเงิน ดิ้นทอง

 

2. อุปกรณ์สำหรับกรอเส้นไหม ประกอบด้วย

2.1 ไน (เพี่ยนพัดไหม) สำหรับกรอเส้นไหมมี 2 ชนิดคือ ไนสำหรับกรอไหมหลอดใหญ่ และไนกรอไหมหลอดเล็ก 
2.2 ระวิง (ก่วงกว๊าง) สำหรับเข็นเส้นไหมที่จะกรอ 
2.3 หลอด สำหรับเส้นไหม มีหลอดใหญ่และหลอดเล็ก

 

3. อุปกรณ์สำหรับการสาวไหม ประกอบด้วย

3.1 ม้าเดินด้าย (ที่โว้นหูก) สำหรับเดินเส้นไหมตามจำนวนรอบที่คำนวณไว้ 
3.2 กระบอก สำหรับคล้องเส้นไหมขณะสาวไหม 
3.3 ราว สำหรับใส่หลอดไหมยืน (หลอดใหญ่) 
3.4 ไม้ไผ่ 2 อัน ยาวประมาณ 1.20 เมตร หนาประมาณ 2 มิลลิเมตร สำหรับคั่นเส้นไหมเมื่อเดินครบรอบม้าเดินเส้นไหม 
3.5 เชือก สำหรับคั่นเส้นไหมและร้อยเส้นไหมเมื่อครบรอบเดิน

 

4. อุปกรณ์สำหรับร้อยเส้นไหมเข้าฟืมและเข้าหัวม้วน ประกอบด้วย

4.1 ฟืมหรือฟันหวีผลิตจากสแตนเลส สำหรับร้อยเรียงเส้นไหมเป็นช่องๆ 
4.2 ไม้กวัก (เข็มกวักหรือไม้ดึงด้าย) สำหรับกวักเส้นไหมร้อยเข้าช่องฟืม 
4.3 ท่อแอสลอนไม้กลมหรือไม้รวก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.50 เมตร 2 อัน 
4.4 แท่นไม้ สำหรับปักไม้ทั้ง 2 อัน 
4.5 ม้านั่งสองตัว สำหรับคนดึงและคนร้อยเส้นไหมเข้าฟันหวี 
4.5 ม้าก็อปปี้เส้นไหม สำหรับอัดเส้นไหมในขณะเข้าหัวม้วน 
4.6 ม้าม้วนด้าย 
4.7 ไม้ปลายแหลม สำหรับกรีดหรือแหวกเส้นไหมให้กระจายออกจากกัน เวลาม้วนไหมเข้าหัวม้วน 
4.8 หัวม้วน สำหรับม้วนเก็บไหม เพื่อเตรียมนำขึ้นกี่ทอผ้า 
4.9 ไม้คนัดไขว้หรือไม้ไขว้ผูกติดกัน 2 อัน สำหรับแยกเส้นไหม

 

5. อุปกรณ์สำหรับการเก็บเขาย่ำ ประกอบด้วย

5.1 ท่ออลูมิเนียมแบบบาง 4 อัน 
5.2 ไม้คนัดไขว้ (ไม้ไขว้) 
5.3 ด้ายไนลอน สำหรับผูกเก็บเขาย่ำทุกเส้น 
5.4 ไม้ดิ้ว สำหรับสอยเก็บเส้นไหมและสำหรับมัดสอดด้ายไนลอน 
5.5 ไม้เภาหรือไม้เต่าเก็บเขา สำหรับเก็บเขาย่ำ (ไหมยืน)

 

6. อุปกรณ์สำหรับการคัดลาย ประกอบด้วย

6.1 กระดาษกราฟที่ออกแบบลวดลายไว้ 
6.2 เหล็กหรือนิทติ้ง สำหรับนับเส้นไหมเวลาคัดลายตามกระดาษกราฟ 
6.3 ไม้ดิ้ว (ไม้เรียว) สำหรับเก็บลายที่คัดได้ และสำหรับร้อยด้ายไนล่อน 
6.4 ไม้เภาหรือไม้เต่า สำหรับเก็บเขาดอก 
6.5 ด้ายไนล่อน สำหรับมัดเก็บเขาดอกหลังจากคัดลาย 
6.6 ไม้หลาบหรือไม้คนัด สำหรับยกเส้นไหม

 

7. อุปกรณ์สำหรับการทอผ้า ประกอบด้วย

7.1 กี่ทอผ้าแบบพื้นเมือง 
7.2 กระสวยสำหรับใส่ไหมพุ่ง 
7.3 ไม้เหยียบ สำหรับผูกติดกับตะกอเขาเหยียบ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ประกอบด้วยทั้งหมด 3 ขั้นตอน มีดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การฟอกเส้นไหม คือการนำเส้นไหมมาต้ม เพื่อให้กาวไหม (Sericin) ที่ติดอยู่ และไฟเบอร์ซิน (Fibercin) ตัวเส้นใย ที่หุ้มเส้นไหมอยู่นั้นให้หลุดออก เพื่อต้องการนำสีมาย้อมให้สีเกาะติดเส้นไหม

 

ขั้นตอนที่ 2 การย้อมสีเส้นไหม คือการนำเอาเส้นไหมที่ผ่านการฟอกและการตากให้แห้งเรียบร้อยแล้ว ทำการย้อมสีตามความต้องการ การย้อมสี มี 2 วิธี คือ ย้อมด้วยสีธรรมชาติ และสีสังเคราะห์หรือสีเคมี

 

ขั้นตอนที่ 3 การเริ่มเข้าสู่กระบวนการทอผ้าไหมยกดอก ซึ่งมีวิธีการสำคัญ 8 ขั้นตอนได้แก่

3.1 การกรอเส้นไหม

การนำเส้นไหมที่ผ่านการฟอกการย้อมและการลงแป้งเสร็จเรียบร้อย มาสาวเส้นไหมเข้าหลอดเพื่อเตรียมนำไปทอผ้าไหมยกดอกลายพิกุล

การกรอเส้นไหมพุ่ง จะกรอเข้ากับกระสวย เพื่อให้กระสวยเป็นตัวนำเส้นด้ายพุ่งสอดขัดเส้นด้ายยืนเป็นมุมฉาก ทอสลับกันไปตลอดความยาวของผืนผ้า การสอดด้ายพุ่งแต่ละเส้นต้องสอดให้สุดถึงริมแต่ละด้าน แล้วจึงวกกลับมา จะทำให้เกิดริมผ้าเป็นเส้นตรงทั้งสองด้าน

การกรอเส้นไหมยืน เพื่อกรอเส้นไหมจากเป็นไจ มาใส่หลอดใหญ่ ซึ่งมีขั้นตอนการทำใกล้เคียงกับการกรอเส้นไหมพุ่ง

3.2 การสาวไหม

การนำเส้นไหมยืนที่กรอเข้ากับหลอดใหญ่ไปสาวที่เครื่องสาวไหม (ม้าเดินด้าย) เพื่อคำนวณหาขนาดของหน้าผ้าที่ต้องการจะทอได้ขนาดจำนวนกี่เมตร

3.3 การเข้าหัวม้วน

การนำเส้นไหมยืนที่สาวเรียบร้อยแล้ว นำมาเข้าฟันหวีและต้องใช้คนทำ 2 คน โดยที่คนหนึ่งเป็นคนส่งเส้นไหมเข้าช่องฟันหวีและอีกคนหนึ่งเป็นคนเกี่ยวเส้นไหมเข้าช่องฟันหวี

3.4 การนำหัวม้วนมาขึ้นกี่ทอผ้า

การนำเส้นไหมยืนที่ได้จากการเข้าหัวม้วนเรียบร้อยแล้ว นำมาขึ้นกี่ทอผ้าเพื่อเริ่มต้นการทอโดยการทอใช้กี่ทอผ้าแบบพื้นเมือง

3.5 การร้อยตะกอ (การเก็บเขาย่ำ)

การร้อยคล้องเส้นไหมยืน 2 ชุด ที่เส้นขัดกันด้วยด้านของไนล่อนทั้งด้านบนและด้านล่างของเส้นไหมยืนทุกเส้น เพื่อให้ตะกอยกเส้นไหมขึ้น หรือดึงเส้นไหมลงสลับกันตอนทอผ้า การร้อยตะกอต้องทำทีละด้าน คือ ร้อยตะกอจากฝั่งด้านบนของตะกอก่อนทั้ง 2 ตะกอ แล้วจึงพลิกเส้นไหมยืนกลับขึ้นมา ร้อยตะกออีกฝั่งด้านล่างอีก 2 ตะกอ ตะกอที่ถูกร้อยเสร็จเรียบร้อยแล้วืั้งฝั่งบนและฝั่งล่างเรียกว่า 1 ตับ

3.6 การคัดลาย (ดั้นดอก)

การทำลวดลายดอกตามที่ได้ออกแบบบนกระดาษกราฟ การดั้นดอกจะดั้นดอกเพียงครึ่งหนึ่งของดอกที่ออกแบบแต่ละดอกเท่านั้น จากนั้นดั้นดอกกลับมาอีกครึ่งหนึ่ง

3.7 การเก็บเขาดอก

การเก็บเขาดอกตามที่ได้คัดลายจากกระดาษกราฟ การเก็บเขาดอก 1 อัน (1 เขา) ใช้เวลาในการเก็บประมาณ 20 นาที

3.8 การทอผ้าไหมยกดอก

นำเส้นไหมที่ผ่านกระบวนการต่างๆ ตามที่กล่าวมาตามลำดับ มาถักทอและยกลวดลายให้เป็นผืนผ้า ซึ่งการทอมีวิธีการทอเหมือนกันแตกต่างกันที่การยกลวดลายของผ้าแต่ละผืน โดยมีการยกตะกอครั้งเดียว และการยกตะกอดอกซ้ำกัน 2 ครั้ง เพื่อให้ได้ขนาดดอกหรือลวดลายที่ใหญ่ขึ้น หรือบางผืนยกตะกอดอกสำหรับทอเกสรเพิ่มขึ้นไปด้วย

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำพูน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา