ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทอผ้ายกดอก

โดย : นางสุกันทา ด้วงอ้าย วันที่ : 2017-03-15-14:43:27

ที่อยู่ : 98/1 ม.3 ต.ดงดำ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

-เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนสัมมาชีพมีรายได้มากกว่ารายจ่าย

-เพื่อสนับสนุนความต้องการประกอบอาชีพของคนในชุมชน

-เพือที่จะส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มอาชีพของชุมชนให้เกิดประโยชน์สู

สุด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

-ฝ้ายยืน

-ฝ้ายพุ่ง

-กี่ทอผ้า

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.การเตรียมเส้นฝ้าย

ฝ้ายจะนำมาทอเป็นผ้ายกดอกจะจัดแบ่งเส้นไหม/ฝ้ายออกเป็น 2 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 ไหม/ฝ้ายเส้นยืน จะใช้เส้นไหม/ฝ้ายควบ4 คือเส้นไหม/ฝ้ายดิบที่ปั่น 4 เส้นจึงเรียกว่าไหม/ฝ้ายควบ4 โดยทั่วไปแล้วนิยมใช้ไหม/ฝ้ายควบ4เป็นเส้นยืนแต่ก็สามารถให้เป็นเส้นพุ่งทำลายยกดอกได้

ประเภทที่ 2 ไหม/ฝ้ายเส้นพุ่ง โดยทั่วไปจะใช้เส้นไหม/ฝ้ายควบ6 คือเส้นไหม/ฝ้ายดิบที่ปั่น6 เส้น สำหรับใช้เป็นเส้นพุ่งและทำลายยกดอก ไหม/ฝ้ายควบ6 นี้ไม่นิยมใช้เป็นเส้นยืน

2.การกรอฝ้าย

การกรอเส้นไหม/ฝ้าย เป็นการนำเส้นไหม/ฝ้ายที่ย้อมแห้งดีแล้วมาปั่นเก็บไว้ อุปกรณ์ประกอบด้วย เครื่องกรอ ในกรอขนาดต่างๆหรือจักกวัดไหม/ฝ้ายและระวิง  การกรอเส้นไหม/ฝ้ายมีวัตถุประสงค์ที่จะแยกเส้นไหม/ฝ้ายให้ออกเป็นเส้นๆ ไม่ให้ติดหรือพันกัน และเป็นการสำรวจเส้นไหม/ฝ้ายให้มีความเรียบร้อย ไม่ขาด ซึ่งจะช่วยให้สะดวกในการสาวไหม/ฝ้าย 

3. การสาวไหม
การสาวไหม/ฝ้าย ในภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “การโว้นไหม” หรือ “โว้นหูก” คือการนำเส้นไหม/ฝ้ายยืนที่กรอแล้วไปสางในรางสาวไหม/ฝ้ายหรือม้าเดินได้ทีละเส้น โดยให้มีจำนวนเส้นไหม/ฝ้ายครบตามจำนวนช่องฟันหวีที่ต้องการจะใช้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการสาวไหม/ฝ้ายประกอบด้วย ม้าเดินได้ ไม้ไขว้หลัง และหลักตั้งตลอด ในการสาวไหม/ฝ้ายลงช่องของฟันหวี กำหนดให้ 1 ช่องฟันหวีจะต้องใช้เส้นไหมยืน 2 เส้น 

4.การเข้าฟันหวีหรือฟืม
ฟันหวี หรือ ฟืม เป็นเครื่องมือใช้สำหรับสางเส้นไหม/ฝ้ายให้เป็นระเบียบ และมีประโยชน์ในการทอโดยใช้กระทบไหม/ฝ้ายเส้นพุ่งให้ขยับเข้าขัดกับไหม/ฝ้ายเส้นยืนหรือสานให้เป็นผืนผ้า ออกมาอย่างสวยงาม อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบด้วย แท่นอัดก๊อปปี้ ม้าหมุน ไม้เขี่ยเส้นไหม/ฝ้าย ไม้ขนัดสำหรับแยกไขว้ และฟันหวี

ฟันหวีแต่เดิมทำด้วยไม้เป็นซี่ๆ โดยมีขอบ ยึดไว้ทั้งข้างบนและข้างล่าง หัวและท้าย เพื่อยึดฟันหวีให้สม่ำเสมอและคงทน แต่การทำฟันหวีด้วยไม้นั้น ช่วงห่างของฟันหวีไม่สม่ำเสมอและโยกได้จึงทำให้ผ้าทอออกมาไม่สม่ำเสมอ ขาดความสวยงามและคุณภาพ ต่อมาได้มีการทำฟันหวีด้วยทองเหลืองจึงทำให้คุณภาพของผ้าที่ทอดีขึ้น แต่ก็ประสบปัญหาคือ เกิดสนิมทองเหลืองติดตามเนื้อผ้าที่ทอออกมาอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะผ้าสีอ่อนๆเช่น สีขาว สีครีม เป็นต้น การใช้ฟันหวีด้วยทองเหลืองจึงเลิกไป ปัจจุบันฟันหวีทำด้วยสแตนเลส ซึ่งมีความงดงามสม่ำเสมอและไม่โยก ไม่มีสนิมทำให้ได้ผ้าทอที่มีความสวยงาม

การเข้าฟันหวี คือ การนำไหม/ฝ้าย เส้นไหม/ฝ้ายที่สาวแล้วไปเข้าฟันหวี โดยก่อนเข้าฟันหวีนำไหม/ฝ้ายไปเข้าเครื่องหนีบ เพื่อยึดเส้นไหม/ฝ้ายด้านหนึ่งเอาไว้ แล้วใส่เส้นไหม/ฝ้ายลงไปในช่องฟันหวีช่องละ 2 เส้น ดังนั้นในการเข้าฟันหวีจึงต้องใช้คน 2 คน ช่วยกันทำ โดยคนหนึ่งเป็นคนส่งเส้นไหม/ฝ้ายเข้าช่องอีกคนหนึ่งช่วยดึงฟันหวีให้ห่างและใช้ตะขอเกี่ยวเส้นไหม/ฝ้ายเข้าช่องฟันหวี ฟันหวีจะช่วยสางเส้นไหม/ฝ้ายให้เป็นระเบียบและสม่ำเสมอ

5.การเข้าหัวม้วน

การเข้าหัวม้วน คือ การนำเส้นไหม/ฝ้ายยืนที่สางด้วยฟันหวีเป็นระเบียบดีแล้วไปเข้าหัวม้วน เมื่อม้วนเส้นไหม/ฝ้ายได้ทุกๆ 5 เมตร จะใช้ทางมะพร้าวสอดกันไว้ 2 – 3 ก้าน ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าจะหมดการใส่ทางมะพร้าวไปด้วยนี้มีประโยชน์หลายประการ คือ ป้องกันเส้นใยไหม/ฝ้ายบาดกันเอง เมื่อไหม/ฝ้ายขาดจะหารอยต่อได้ง่าย ขณะทอจะทำให้ทราบว่า ทอไปเป็นความยาวเท่าไรแล้ว โดยการนับทางมะพร้าว

6.การทอ

การทอเป็นขั้นตอนสุดท้ายของผ้ายกดอก ช่างแรงงานทอส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง ช่างที่มีความคุ้นเคยกับลายก็สามารถทอได้อย่างรวดเร็ว การทอนั้นผู้ที่คัดลายจะเป็นผู้กำหนดให้ผู้ทอว่าให้ทออย่างไร ลักษณะใด ทั้งนี้เพราะผู้ทอไม่สามารถทราบได้ว่าผ้ายกดอกที่ตนเองเป็นผู้ทอนั้นมีลวดลายออกมาเป็นอย่างไร ยกเว้นผู้ทอเป็นผู้คัดลายและดั้นดอกเองเท่านั้น

ข้อพึงระวัง ->

การทอผ้ายกดอกเป็นการทอด้วยกี่พื้นเมือง(กี่มือ)ทั้งหมดไม่ใช่กี่กระตุก การใช้กี่พื้นเมืองเป็นการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านอย่างหนึ่ง การทอด้วยกี่พื้นเมืองนี้ถ้าดึงเส้นไหม/ฝ้ายให้พอดี ไม่ตึงเกินไปเนื้อผ้าที่ทอออกมาจะมีความหนาแน่น สม่ำเสมอ มีความสวยงาม ทนทาน และมีคุณค่าทางศิลปะมากกว่าการทอด้วยกี่กระตุกหรือเครื่องจักร ซึ่งจะดึงเส้นไหมให้ตึงเกินไป ทำให้เนื้อผ้ามีความหนาแน่นสม่ำเสมอ ราบเรียบขาดคุณค่าทางศิลปะไป

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำพูน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา