ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้ากะเหรี่ยง(กี่เอว)

โดย : นางสาวสุทธิพร แซนวล วันที่ : 2017-08-09-14:34:19

ที่อยู่ : 28 หมู่ที่ 6 ตำบลตะเคียนปม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทอผ้ากะเหรี่ยงของชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่แสมมีมาแต่อดีต เนื่องจากการดำเนินชีวิตของชาวกะเหรี่ยงที่เคร่งครัดในเรื่องประเพณี วัฒนธรรม พิธีกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ้านเรือนหรือการแต่งกายที่ผู้หญิงกะเหรี่ยงเกือบทุก ครัวเรือนในหมู่บ้านจะต้องทอผ้าเป็น คือเมื่อแต่งงานมีลูกจะต้องทอผ้าไว้ให้ลูกเป็นผ้าสีขาว เมื่อครบเก้าเดือนคลอดลูกก็จะทอผ้าได้หลายผืน นำผ้ามาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าให้ลูกใส่อย่างง่ายๆผ้าที่ทอใช้ในชีวิตประจำวันจะเป็นเสื้อกะเหรี่ยง ซิ่นหรือหนึ่ย ย่าม ผ้าโพก ผ้าห่ม หรือผ้าชนิดอื่นๆ จะเน้นความสวยงามและความหนาของเนื้อผ้า เพราะว่าหมู่บ้านเป็น ภูเขา และมีป่าไม้มาก มีอากาศหนาวเย็น จึงต้องใส่เสื้อผ้าหนา เพื่อความอบอุ่นแก่ร่างกาย ซึ่งต่อมาความเจริญมีมากขึ้น การแต่งกายของชาวกะเหรี่ยงก็เริ่มเปลี่ยนไปตามสมัยนิยม แต่ก็ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีการแต่งกายไว้บ้าง จะมีการแต่งกายด้วยชุดกะเหรี่ยงประจำท้องถิ่น ในงานประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณีกินข้าวห่อ งานบวช งานแต่งงาน และงานสำคัญอื่นๆ

วัตถุประสงค์ ->

๑.     เพื่อสร้างอาชีพให้ประชาชนในชุมชนที่สนใจ

๒.     เพื่อเพิ่มรายได้ให้ตนเองและครอบครัว

๓.     เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้ากะเหรี่ยงให้ลูกหลานในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. แผ่นคาดหลัง (อย่ากุงไผย่) แต่เดิมนั้นทำมาจากหนังสัตว์

2. ไม้พันผ้า (เค่อไถ่ย) คือ ไม้รั้งผ้าสำหรับรั้งและพันผ้าที่ทอแล้ว

3. ไม้กระทบ (เน่ยบะ) คือ ไม้กระทบผ้า ทำจากไม้มะเกลือ ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร

4. ไม้แยกด้าย (กงคู๊) ไม้แยกด้าย ทำจากไม้ไผ่ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร

5. ไม้ไบ่หรือว้าบัง เพื่อแบ่งเส้นด้ายยืน

6. ทะคู่เถิง คือ ไม้ไผ่เจาะรูทั้ง 2 ข้างสำหรับยึดเครื่องทอ

7. เส่ยถึง คือ ไม้ใส่ด้าย ทำจากไม้กลมหนาประมาณ 1 นิ้ว

8. ลุงทุ้ย คือ ไม้ม้วนด้ายพุ่งใช้สำหรับสอดด้ายพุ่ง

9. คองญ่ายฆ่อง คือ ไม้สำหรับยันเท้าสำหรับควบคุมให้ด้ายยืนตึง หรือย่อนในระหว่างทอ

อุปกรณ์ ->

- ที่คาดหลัง

- ไม้พันผ้า

- ไม้กระทบ

- ไม้แยกด้าย

- ไม้แบ่งเส้นด้าย

- ไม้ใส่ด้าย

- ไม้ไผ่เจอะรู 2 ข้าง

- ไม้ม้วนด้าย

- ไม้ยันเท้า

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเตรียมเครื่องทอผ้า ก่อนที่จะทอผ้าจะต้องมีการเตรียมเครื่องทอผ้าตั้งแต่การปั่นด้าย การกรอด้าย การตั้งเครื่องทอผ้า การขึ้นด้าย มีขั้นตอนการทำดังนี้

1.1 การปั่นด้าย อุปกรณ์ในการปั่นด้ายผ้าทอกะเหรี่ยงราชบุรี ประกอบด้วย หลอดกรอด้าย และเครื่องมือกรอด้าย หลอดกรอด้าย เดิมชาวกะเหรี่ยงใช้วิธีม้วนด้ายด้วยมือให้เป็นก้อน ปัจจุบันใช้ท่อพลาสติกแทน มีความยาวขนาด 10 เซนติเมตร

1.2 การกรอด้ายขวาง ด้ายขวางเป็นด้ายที่สอดเข้าไประหว่างด้ายยืน ทำให้เกิดลวดลายต่างๆเรียกว่า ลุงทุ้ย ใช้ด้ายพันกับไม้ ขนาดยาวประมาณ 1 ฟุตเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร

1.3 ตั้งไม้เครื่องทอกี่เอว หลังจากปั่นด้ายเสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำด้ายมาขึ้นด้าย

1.4 การขึ้นด้าย หรือการขึ้นเครื่องทอกี่เอว เป็นการนำเอาเส้นด้ายมาเรียงต่อกันอย่างมีระเบียบตามแนวนอน โดยพันรอบกับส่วนประกอบของเครื่องทอ และก่อนที่จะมีการขึ้นด้ายจะต้องมีการเตรียมเส้นด้ายด้วยการปั่นด้าย การตั้งเครื่องทอ การเรียงเส้นด้าย การเปลี่ยนไม้เป็นเครื่องทอ

2. การทอผ้า มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. เริ่มต้นคล้องด้ายลงที่หลักที่ 1 สาวเส้นด้ายผ่านหลักที่ 2,3,4,5,6,7 นำไปคล้องที่หลักที่ 8 และสาวมาคล้องที่หลักที่ 1

2. ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงเสมอกัน นำมาพันรอบหลักที่ 2

3. ดึงด้ายให้ตึงเสมอกันพาดผ่านด้านหน้าของไม้หลักที่ 3 ถึงไม้หลักที่ 4 เป็นจุดแยกด้าย โดยใช้ด้ายสีขาวอีกกลุ่มหนึ่งเป็นเส้นด้ายตะกอสอดเข้าไประหว่างเส้นด้ายเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนที่ไม่ได้คล้องกับตะกอแยกเส้นด้ายผ่านหลังหลักที่ 4 และส่วนที่คล้องตะกอ ดึงเส้นด้ายผ่านด้านหน้าหลักที่ 4

4. รวบด้ายทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันให้ตึง พาดผ่านหลักที่ 5,6 พันอ้อมหลักที่ 7

5. ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงพร้อมอ้อมหลักที่ 8 และสาวให้ตึง ดึงกลับมาเริ่มต้นที่หลักที่ 1 ใหม่

6. สอดไม้ทั้งหมดออกจากเครื่องทอ และนำไม้ไบ่ 1 อัน สอดเข้าไปแทนไม้ใส่ตะกอที่ 1 นำไม้ไบ่ 2 อันเข้าสอดเปลี่ยนไม้ใส่ตะกอที่ 2 และไม้ใส่ตะกอที่ 3 ซึ่งต้องใช้ช่วยแยกด้ายเวลาทอแกะดอก ส่วนไม้ไบ่ที่ 2 ใส่กระบอกไม้ไผ่แทน 1 อัน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำพูน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา