ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปุ๋ยชีวภาพ

โดย : นางดวงพร กันทะไชย วันที่ : 2017-07-25-10:39:33

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 74 หมู่ 3 ตำบล ชมพู อำเภอ เมืองลำปาง จังหวัด ลำปาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ได้รับความรู้จากหน่วยงานเกษตรการทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร   
น้ำหมักชีวภาพ มีธาตุอาหารสำคัญ เช่นไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม กำมะถัน ฯลฯ จึงสามารถนำไปเป็นปุ๋ย เร่งอัตราการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น และยังสามารถใช้ไล่แมลงศัตรูพืชได้ด้วย ด้านปศุสัตว์ สามารถช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น น้ำเสียจากฟาร์มสัตว์ได้ ช่วยป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนการให้ยาปฏิชีวนะ ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานโรค ช่วยกำจัดแมลงวัน ได้ทำใช้ในครัวเรือนและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้คนในชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดต้นทุนการทำเกษตร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ เช่นหอยเชอรี่

 

อุปกรณ์ ->

1 ถังหมักพลาสติก

2. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง
3. ถังสำหรับหมัก

4. มีด 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำวัตถุดิบมาสับ บด โขลก หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
          2. บรรจุลงในภาชนะ
          3. เติมกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง และส่วนผสมอื่น ๆ ลงไป ตามอัตราส่วน
          4. คนหรือคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะ หมักไว้ 7-15 วัน
          5. ครอบตามกำหนดปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพจะมีกลิ่นหอม
          6. สำหรับปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพถั่วเหลือง และปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพปลาสดหรือหอยเซลรี่ ควรหมักอย่างน้อย 1 เดือน จึงนำไปใช้ได้ และระหว่างหมักให้หมั่นคนส่วนผสมทุกวัน
          7. หากมีกลิ่นเหม็นหรือบูดเน่าให้เติมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย แล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 3-7 วัน กลิ่นเหม็นหรือกลิ่นบูดเน่าจะหายไป
          8. การแยกกากและน้ำชีวภาพ โดยใช้ถุงอาหารสัตว์ ถุงปุ๋ยเคมี หรือมุ้งเขียว รองรับกากและน้ำชีวภาพจะไหลลงภาชนะที่เตรียมไว้ และกากที่เหลือนำไปคลุมโคนพืช หรือคลุมแปลงต่อไปได้อีก

ข้อพึงระวัง ->

1. หากใช้น้ำหมักชีวภาพกับพืช ต้องใช้ปริมาณเจือจาง เพราะหากความเข้มข้นสูงเกินไป อาจทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และตายได้

 2. ระหว่างหมัก จะเกิดก๊าซต่าง ๆ ในภาชนะ ดังนั้นต้องหมั่นเปิดฝาออก เพื่อระบายแก๊ส แล้วปิดฝากลับให้สนิททันที

 3. หากใช้น้ำประปาในการหมัก ต้องต้มให้สุก เพื่อไล่คลอรีนออกไปก่อน เพราะคลอรีนอาจเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก
 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา