ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำนา

โดย : นายสุวิทย์ วงค์ครองศักดิ์ วันที่ : 2017-08-08-15:43:08

ที่อยู่ : 9 หมู่ที่ 10 ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

คนไทยมีความผูกพันกับข้าวอย่างแนบแน่น เพราะข้าวไม่เพียงแต่เป็นอาหารหลัก ยังเป็นรากฐานของวัฒนธรรม เป็นชีวิตจิตใจเป็นสินค้าส่งออกช่วยเศรษฐกิจของชาติยามวิกฤต เป็นศักดิ์ศรีความภาคภูมิใจ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อวิถีชีวิตของคนไทย  ดังนั้น คนไทยทุกภาคส่วน จึงมีความเป็นห่วงกันมากว่าในปัจจุบันที่เกิดมีการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก ทั้งราคาน้ำมัน ราคาข้าวและราคาปัจจัยการผลิตที่พุ่งสูงขึ้น แนวโน้มของการขาดแคลนอาหารในโลก และปัญหาของภาวะโลกร้อนต่อการเกษตร ซึ่งอาจก่อให้เกิดวิกฤตกับอาชีพและความเป็นอยู่ของชาวนาได้นั้น  ไทยจะยังคงรักษาความสามารถในการผลิตและส่งออกข้าวให้อยู่ในระดับปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อนำผลผลิตที่ได้นำไปขายสร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เมล็ดพันธุ์ข้าว

อุปกรณ์ ->

จอม เสียม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมดิน

            1. การไถดะ เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่กระทงนา (กรณีที่แปลงนาเป็นกระทงย่อยๆ หลายกระทงในหนึ่งแปลงนา) เมื่อไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศ ออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด การไถดะจะเริ่มทำเมื่อฝนตกครั้งแรกในปีฤดูกาลใหม่ หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์

2. การไถแปร หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้ว การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบเอาขึ้นการอีกครั้ง เพื่อทำลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่ และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง จำนวนครั้งของการไถแปรจึงขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัชพืช ลักษณะดินและระดับน้ำ ในพื้นที่ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วจะไถแปรเพียงครั้งเดียว

         3. การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระทงนา และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก จนเหมาะแก่การเจริญของข้าว ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุม ดูแลการให้น้ำ

การปลูก

การตกกล้า เพาะเมล็ดข้าวเปลือกให้มีรากงอกยาว 3 - 5 มิลลิเมตร นำไปหว่านในแปลงกล้า ช่วงระยะ 7 วันแรก ต้องควบคุมน้ำไม่ให้ท่วมแปลงกล้า และจะสามารถถอนกล้าไปปักดำได้เมื่อมีอายุประมาณ 20 - 30 วัน

         การปักดำ ชาวนาจะนำกล้าที่ถอนแล้วไปปักดำในแปลงปักดำ ระยะห่างระหว่างกล้าแต่ละหลุมจะมีความแตกต่างกันขึ้นกับลักษณะของดิน คือ ถ้าเป็นนาลุ่มปักดำระยะห่าง เพราะข้าวจะแตกกอใหญ่ แต่ถ้าเป็นนาดอนปักดำค่อนข้างถี่ เพราะข้าวจะไม่ค่อยแตกกอ

หลังจากที่ข้าวออกดอกหรือออกรวงประมาณ 20 วัน ชาวนาจะเร่งระบายน้ำออก เพื่อเป็นการเร่งให้ข้าวสุกพร้อมๆ กัน และทำให้เมล็ดมีความชื้นไม่สูงเกินไป จะสามารถเก็บเกี่ยวได้หลังจากระบายน้ำออกประมาณ 10 วัน ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยว เรียกว่า ระยะพลับพลึง คือสังเกตที่ปลายรวงจะมีสีเหลือง กลางรวงเป็นสีตองอ่อน การเก็บเกี่ยวในระยะนี้จะได้เมล็ดข้าวที่มีความแข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และมีคุณภาพในการสี

การเก็บเกี่ยว

หลังจากตากข้าว ชาวนาจะขนเข้ามาในลานนวด จากนั้นก็นวดเอาเมล็ดข้าวออกจากรวง บางแห่งใช้แรงงานคน บางแห่งใช้ควายหรือวัวย่ำ แต่ปัจจุบันมีการใช้เครื่องนวดข้าวมาช่วยในการนวด

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา