ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปุ๋ยอินทรีย์

โดย : นายชัยวัฒน์ อินตา วันที่ : 2017-07-21-14:34:28

ที่อยู่ : 5 หมู่ที่ 5 ต.สมัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เมื่อก่อนชาวบ้านทำนาแบบอาศัยธรรมชาติ ซึ่งวัฒนธรรมในการทำนานั้น เริ่มต้นด้วยการเพาะกล้า การเตรียมดินโดยการไถ 2 ครั้ง มีการปักดำและเกี่ยวข้าวโดยใช้แรงงานคน ใช้ปุ๋ยคอกเพราะทุกหลังคาเรือนมีการเลี้ยงโค กระบือไว้ใช้งาน สำหรับกองฟางและตอซังข้าวตามทุ่งนาเอาไว้เลี้ยงสัตว์ สภาพดินดี กุ้ง หอย ปู ปลาก็หาได้ง่าย และมีพิธีกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการทำนามากมาย เมื่อ 30 ปี ที่ผ่านมามีคนแนะนำให้ใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยแนะนำให้ใช้ปุ๋ยที่เป็นสูตรต่างๆ เช่น 16 – 16 – 0 เป็นต้น สัดส่วนการใช้ปุ๋ยเคมี 30 กิโลกรัมต่อนาข้าว 1 ไร่ ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มจริง มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในชุมชน เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาประชาชนเปลี่ยนการทำนาจากใช้กระบือไถนามาใช้รถไถนาเดินตามแทน ใช้วิธีการหว่านแทนการปักดำ และเกี่ยวข้าวโดยใช้รถเกี่ยวข้าว เนื่องจากใช้ระยะเวลาน้อย ลดปัญหาแรงงานในการดำนา จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้มีการใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาปุ๋ยเคมีแพงขึ้น มีปุ๋ยปลอมระบาด สภาพดินเสื่อมโทรม ต้องใช้ปุ๋ยเคมีในสัดส่วนเพิ่มขึ้นทุกปี โค กระบือที่เลี้ยงไว้ใช้งานก็ขายไป ชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีแทนปุ๋ยคอก จึงมีแนวคิดทำปุ๋ยอินทรีย์ขึ้น 

วัตถุประสงค์ ->

ลดต้นทุนการผลิต 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ใบไม้แห้ง มูลสัตว์ 

อุปกรณ์ ->

จอบ  ถุงบรรจุปุ๋ย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์

ขั้นตอนที่ 1
การเตรียมเศษวัชพืชหรือใบไม้แห้ง  เชื้อจุลินทรีย์ พด.1 แกลบ ๑๐ กก. กากน้ำตาล ๕ กก. 

ขั้นตอนที่ 2
ให้กองปุ๋ยชั้นที่ 1 โดยนำเศษพืชมาวางในพื้นที่กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร ให้สูง 40 ซม.

ขั้นตอนที่ 3
ใส่มูลสัตว์ 50 - 100 กก. แกลบ ๑๐ กก. แป้งมัน ๑ กก.  โดยโรยให้ทั่วบนพื้นที่กองเศษพืชเพื่อช่วยในการย่อยสลาย และเพิ่มธาตุอาหาร

ขั้นตอนที่ 4
รดน้ำที่ผสมเชื้อจุลินทรีย์ พด.1 ก่อนนำมารดบนหลังโรยมูลสัตว์ เพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโต และช่วยย่อยสลายเศษพืช รวมถึงมูลสัตว์

ขั้นตอนที่ 5
ให้นำเศษพืชมากองทับอีกชั้น และทำตามขั้นตอนข้างต้น จนได้ชั้นประมาณ 4 ชั้น

ขั้นตอนที่ ๖

กลับกองปุ๋ยในระยะเวลา ๒ – ๓ วันแรก

ขั้นตอนที่ ๗
ให้คลุมด้วยแสลนดำในฤดูร้อนเพื่อป้องกันแสงแดด และคลุมด้วยผ้าพลาสติกในฤดูฝนเพื่อป้องกันน้ำฝนไม่ให้ขัง แต่การคลุมผ้าพลาสติกควรเปิดผ้าเป็นระยะในวันที่ฝนไม่ตก

ขั้นตอนที่ ๘
หมั่นตรวจสอบความเรียบร้อยของกองปุ๋ยเป็นระยะขณะทำการหมัก เพื่อป้องกันสัตว์มาอาศัยอยู่ รวมถึงการขังของน้ำ และตรวจสอบสภาพการหมัก ทิ้งไว้ระยะเวลา ๓๐ วัน

ขั้นตอนที่ ๙

เมื่อครบกำหนด ๓๐ วัน  นำปุ๋ยอินทรีย์ มาบรรจุถุง  

ข้อพึงระวัง ->

-

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา