ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำนา

โดย : นายอานัน สุขจักร์ วันที่ : 2017-07-20-16:43:25

ที่อยู่ : 145/1...... หมู่....3.... ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

              ครอบครัวประกอบอาชีพทำนามาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ  ทำแบบดั้งเดิม ไถ คราด โดยใช้แรงงานคน และสัตว์ ทำให้ได้ผลผลิตน้อย  ปัจจุบันมีการนำเทศโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วย และได้รับการช่วยเหลือแนะนำจากเจ้าหน้าที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลำปาง ส่งเสริมด้านพันธุ์ข้าว การใช้ปุ๋ยและการกำจัดวัชพืช รวมถึงการให้การช่วยเหลือและสนับสนุนด้านเงินลงทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากยิ่งขึ้น  ทำรายได้ให้กับครอบครัวได้อย่างยั่งยืน   ปัจจุบันมีพื้นที่ทำนาประมาณ 100 ไร่ โดยใช้เทคนิคการทำการเกษตรต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับพื้นที่การทำนาเข้าช่วย เช่น การหว่านแห้ง การหว่านน้ำตม การปลูก (ใช้รถปลูกข้าว)  ผลผลิตที่ได้นั้นส่งศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อจำหน่ายเป็นพันธุ์ข้าวให้กับเกษตรกร นอกเหนือจากนั้นก็เก็บไว้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายเป็นรายได้

              นอกจากการทำนาในฤดูทำนาในหน้าฝนและหน้าแล้งแล้ว ในฤดูแล้งที่มีน้ำมากเพียงพอยังแบ่งพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว เช่น บวบ ถั่ว มะเขือ แตงกวา และยังเลี้ยงวัว และปลา เพื่อบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้เสริมอีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

ประกอบอาชีพที่ทำรายได้ให้กับครอบครัวได้อย่างยั่งยืน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-พันธุ์ข้าว
-ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี
-ยากำจัดวัชพืช
-แกลบดำ (สำหรับเพาะกล้า)

อุปกรณ์ ->

-รถไถนา
-รถดำนา
-รถเกี่ยวข้าว
-เครื่องมือต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำนา  เพื่อคอยดูแลเรื่องน้ำ แมลง เช่น จอบ เสียม 
-ถาดเพาะกล้า 
-เครื่องพ่นปุ๋ย, ยา

กระบวนการ/ขั้นตอน->

2.1 การดำนา

การดำนาเป็นการลดต้นทุนการผลิตในการทำนาและการเพิ่มผลผลิต ทั้งยังให้ได้ผลผลิตข้าวสูง  ได้ข้าวที่มีคุณภาพดี นาข้าวประสบปัญหาวัชพืชน้อยและลดต้นทุนการผลิต ลดเวลาและค่าแรงในการดำนาสามารถประกอบอาชีพมีรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนมากกว่าการทำนาแบบวิธีดั้งเดิมโบราณ โดยมากกว่านาหว่านเฉลี่ยต่อไร่ถึงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาวัชพืชน้อย การดูแลรักษาง่าย อีกทั้งยังประหยัดเมล็ดพันธุ์ข้าว (นาหว่านใช้เมล็ดพันธุ์ 15 – 20 ก.ก. ในขณะที่ใช้รถทำนาดำใช้ประมาณ 7 ก.ก. สามารถลดปัญหาข้าวดีดข้าวปนได้อย่างชัดเจน และลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ร้อยละ 50   เนื่องจากมีปริมาณต้นข้าวน้อยกว่า

นาหว่านน้ำตมเกือบ 3 เท่า และไม่มีวัชพืชคอยแย่งปุ๋ยเคมี  นอกจากนี้ ยังลดการใช้ยากำจัดวัชพืช

ฆ่าแมลงลงได้ร้อยละ 20 เนื่องจากนาดำมีระยะห่างระหว่างต้นโรคแมลงไม่ค่อยรบกวนการดูแลถอนหญ้าทำได้ง่าย ขณะที่ต้นข้าวนาดำมีความแข็งแรงและให้ผลผลิตต่อไร่สูง ต้นข้าวไม่ล้ม ทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว

      สำหรับขั้นตอนการดำนาด้วยรถดำนา มีขั้นตอนดังนี้

1)      ขั้นตอนการทำนาดำด้วยรถดำนา เริ่มจากเกษตรกรเลือกพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี ที่ต้องการจะนำมาเพาะเป็นต้นกล้า จากนั้นแช่เมล็ดในน้ำก่อนเพาะ 1 คืน จากนั้นนำเมล็ดขึ้นจากน้ำ มาบ่มในกระสอบอีก 1 คืน แล้วนำมาเพาะเมล็ดในถาดเพาะกล้า โดยใช้แกลบเผา (ใช้เมล็ดข้าวประมาณ 200-250 กรัม/ถาด) ก่อนนำถาดมาซ้อนกัน เพื่อบ่มให้แทงหน่อประมาณ 1-2 วัน หลังจากนั้นนำถาดเพาะกล้าไปแผ่ในแปลงอนุบาลประมาณ 15-20 วัน แต่ต้องดูแลน้ำให้ดี

2)      ขั้นตอนการนำกล้าไปใช้งาน ใช้วิธีม้วนกล้าตามความยาวของถาด (ใช้กล้าที่อายุประมาณ 15-20 วัน) นำใส่รถกระบะเพาะกล้า เพื่อนำไปปักดำ สำหรับการปักดำควรปรับแปลงนาให้ได้ระดับสม่ำเสมอ ตรวจสอบได้โดยหล่อน้ำประมาณ 1 นิ้ว หากน้ำคลุมทั่วดินแปลว่าได้ระดับดี ในกรณีมีหอยเชอรี่ ให้ควบคุมหรือกำจัดโดยยาเคมี หรือกากชาหว่านลงไปในแปลง หรือฉีดพ่น หลังจากหล่อน้ำคลุมดินทันที

3)      ขั้นตอนการใส่กล้าในแผงบรรจุของรถดำนา จะต้องปรับระยะความลึก ที่ต้องการประมาณ 2-5 เซนติเมตรและปรับระยะห่างระหว่างกอ 12-28 เซนติเมตร จากนั้นเลือกจำนวนต้นกล้าต่อกอ ประมาณ 3-8 ต้น/กอ ส่วนการปักดำสามารถเลือกความเร็วได้ตามต้องการ

ข้อพึงระวัง ->

เทคนิคการสังเกตและการดูแลรักษาอย่างใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิต จึงทำให้ได้รับผลผลิตข้าวเป็นที่น่าพอใจกับการลงทุนและประกอบอาชีพ สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างไม่เดือดร้อน มีอาชีพและรายได้ยั่งยืน ข้อปฏิบัติและข้อควรระวังที่พอจะรวบรวมได้มีดังนี้

3.1 หลังจากข้าวออกดอกแล้ว 20 วัน ควรระบายน้ำออกจากแปลงนาจะทำให้ต้นข้าวแก่  

      สม่ำเสมอ

3.2 เมื่อข้าวอายุ 25-35 วัน หลังจากออกดอก ก็จะทำการเก็บเกี่ยวทันที จะได้ข้าวเปลือก

      คุณภาพดี และผลผลิตสูง

3.3 ช่วงข้าวตั้งท้องไปถึงก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน นาจะขาดน้ำไม่ได้เลย

3.4 ระยะข้าวออกรวง ถ้าอากาศเย็น ความชื้นสูง ไม่มีแดด ระวังโรคไหม้คอรวงข้าวระบาด

     (เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง แก้โดยการพ่นสารป้องกันและกำจัดโรคไหม้ของข้าว)

3.5 ก่อนหว่านปุ๋ยทุกครั้งควรระบายน้ำในแปลงออกเสียก่อน ไม่ให้มีน้ำในระดับความลึก

     มากกว่า 15 ซม. จากคันนา  และไม่ควรหว่านปุ๋ยในขณะฝนตก  หลังใส่ปุ๋ยแล้วอย่าให้

     แปลงนาขาดน้ำเกิน 7 วัน

3.6 หมั่นตรวจและดูแลเพื่อป้องกันกำจัดโรคแมลงและศัตรูข้าวอื่นๆ อยู่เสมอ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา