ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำนา

โดย : นายกิตติโชติ ฉันวิจิตร วันที่ : 2017-07-20-16:00:33

ที่อยู่ : 23 ม.5 ต.ต้นธงชัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การปลูกข้าว...เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม สันนิษฐานว่าเริ่มจากการที่มนุษย์รู้จัก สังเกตการเจริญเติบโตของข้าวในธรรมชาติ ต่อมาจึงนำเมล็ดข้าวที่ได้มาเพาะ ปลูกใกล้บริเวณที่อยู่อาศัย ในประเทศไทยพบการปลูกข้าวด้วยวิธีการปักดำมา ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และพัฒนาวิธีการปลูกเรื่อยมาตามลำดับ จน ปัจจุบันมีวิธีการปลูกข้าวที่หลากหลายแตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศ

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เมล็ดพันธ์ุข้าว ปุ๋ย

 

อุปกรณ์ ->

เคียว เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บเกี่ยวพืชผลประเภทข้าว หญ้า และธัญพืช โดยชาวนาจะใช้เคียวเกี่ยวไปที่ฐานของต้นข้าวแล้วทำการกระตุกคมเคียวบาดจนขาด ส่วนมืออีกข้างใช้กำรวงข้าวที่ต้องการเกี่ยว โดยนำข้าวที่ตัดแล้วรวมไว้เป็นกองไว้ เคียวแบบด้ามสั้นอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังเมื่อใช้เป็นระยะเวลานานเนื่องจากต้องยืนก้มอยู่ตลอด จึงมีเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งคือเคียวด้ามยาวซึ่งมีด้ามจับยาวกว่าและไม่ต้องก้มให้ปวดหลัง

จอบ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการขุดดิน พรวนดิน หรือดายหญ้าได้ ซึ่งหากจอบมีความคมมากก็จะสามารถใช้งานได้สะดวกและเร็วขึ้น การใช้ก็สามารถใช้จอบขุด พรวนดิน หรือดายหญ้าตามที่เราต้องการได้ จอบสามารถนำมาใช้งานได้ตลอดทั้งปี

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำนา หมายถึง การปลูกข้าวและการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว การปลูกข้าวในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ และสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ ในแหล่งที่ต้องอาศัยน้ำจากฝนเพียงอย่างเดียว ก็ต้องกะระยะเวลาการปลูกข้าวให้เหมาะสมกับช่วงที่มีฝนตกสม่ำเสมอ และเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฤดูฝนหมดพอดี เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีสภาพดินฟ้าอากาศที่แตกต่างกัน ฤดูทำนาปีในประเทศไทยปกติจะเริ่มราวเดือนพฤษภาคมถึงกรกฏาคมของทุกปี ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน เมื่อ 3 เดือนผ่านไป ข้าวที่ปักดำหรือหว่านเอาไว้จะสุกงอมเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว ส่วนนาปรัง สามารถทำได้ตลอดปี เพราะพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง เมื่อข้าวเจริญเติบโตครบกำหนดอายุก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้

การทำนามีหลักสำคัญ คือ

    1. การเตรียมดิน ก่อนการทำนาจะมีการเตรียมดินอยู่ 3 ขั้นตอน

  • การไถดะ เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่กระทงนา (กรณีที่แปลงนาเป็นกระทงย่อยๆ หลายกระทงในหนึ่งแปลงนา) เมื่อไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศ ออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด การไถดะจะเริ่มทำเมื่อฝนตกครั้งแรกในปีฤดูกาลใหม่ หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์
  • การไถแปร หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้ว การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบเอาขึ้นการอีกครั้ง เพื่อทำลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่ และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง จำนวนครั้งของการไถแปรจึงขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัชพืช ลักษณะดินและระดับน้ำ ในพื้นที่ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วจะไถแปรเพียงครั้งเดียว
  • การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระทงนา และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก จนเหมาะแก่การเจริญของข้าว ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุม ดูแลการให้น้ำ

    2. การปลูก การปลูกข้าวสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง ได้แก่ การทำนาหยอดและนาหว่าน และ การเพาะเมล็ดในที่หนึ่งก่อน แล้วนำต้นอ่อนไปปลูกในที่อื่นๆ ได้แก่ การทำนาดำ

    การทำนาหยอด ใช้กับการปลูกข้าวไร่ตามเชิงเขาหรือในที่สูง
     

  • วิธีการปลูก หลังการเตรียมดินให้ขุดหลุมหรือทำร่อง แล้วจึงหยอดเมล็ดลงในหลุมหรือร่อง จากนั้นกลบหลุมหรือร่อง เมื่อต้นข้าวงอกแล้วต้องดูแลกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช

  • การทำนาหว่าน ทำในพื้นที่ควบคุมน้ำได้ลำบาก วิธีหว่าน ทำได้ 2 วิธี คือ การหว่านข้าวแห้ง และการหว่านข้าวงอก

  • การหว่านข้าวแห้ง แบ่งตามช่วงระยะเวลาของการหว่านได้ 3 วิธี คือ
  • การหว่านหลังขี้ไถ ใช้ในกรณีที่ฝนมาล่าช้าและตกชุก มีเวลาเตรียมดินน้อย จึงมีการไถดะเพียงครั้งเดียวและไถแปรอีกครั้งหนึ่ง แล้วหว่านเมล็ดข้าวลงหลังขี้ไถ เมล็ดพันธุ์อาจเสียหายเพราะหนู และอาจมีวัชพืชในแปลงนามาก
  • การหว่านคราดกลบ เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด จะทำหลังจากที่ไถแปรครั้งสุดท้ายแล้วคราดกลบ จะได้ต้นข้าวที่งอกสม่ำเสมอ
  • การหว่านไถกลบ มักทำเมื่อถึงระยะเวลาที่ต้องหว่าน แต่ฝนยังไม่ตกและดินมีความชื้นพอควร หว่านเมล็ดข้าวหลังขี้ไถแล้วไถแปรอีกครั้ง เมล็ดข้าวที่หว่านจะอยู่ลึกและเริ่มงอกโดยอาศัยความชื้นในดิน
  •  

  • การหว่านข้าวงอก (หว่านน้ำตม) เป็นการหว่านเมล็ดข้าวที่ถูกเพาะให้รากงอกก่อนที่จะนำไปหว่านในที่ที่มีน้ำ ท่วมขัง เพราะหากไม่เพาะเมล็ดเสียก่อน เมื่อหว่านแล้วเมล็ดข้าวอาจเน่าเสียได้ การเพาะข้าวทอดกล้า ทำโดยการเอาเมล็ดข้าวใส่กระบุง ไปแช่น้ำเพื่อให้เมล็ดที่มีน้ำหนักเบาหรือลีบลอยขึ้นมาแล้วคัดทิ้ง แล้วนำเมล็ดถ่ายลงในกระบุงที่มีหญ้าแห้งกรุไว้ หมั่นรดน้ำเรื่อยไป อย่าให้ข้าวแตกหน่อ แล้วนำไปหว่านในที่นาที่เตรียมดินไว้แล้ว

ข้อพึงระวัง ->

ห้อยเชอรี่และปูทำลายกล้าข้าว

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา