ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทำเกษตรอินทรีย์

โดย : นางศรีสมร แก้วนำมา วันที่ : 2017-07-19-23:38:10

ที่อยู่ : 191 ม.1 ตำบลบ้านดง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

        เกษตรอินทรีย์ หมายถึง ระบบการผลิตทางการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ใดๆที่อาจจะเกิดการปนเปื้อนต่อทรัพยากรดิน น้ำ และสิ่งมีชีวิต รวมถึงสุขภาพของมนุษย์ ด้วยการสร้างสมดุลของทรัพยากรให้เป็นไปตามธรรมชาติ และร่วมจัดการให้เกิดความยั่งยืนต่อทรัพยากร และผลผลิตนั้นๆ

       ดังนั้น จึงอยากให้ผู้บริโภค ได้บริโภคพืชผักที่ปลอดสารพิษ และคนในครอบครัวก็จะได้บริโภคสิ่งดี ๆ ปราศจากโรคภัย

วัตถุประสงค์ ->

1. สร้างรายได้ให้ครอบครัว

2. ให้ผู้บริโภคได้รับประทานผักปลอดสารพิษ

3. เป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1.เมล็ดพันธุ์ เลือกซื้อหาเมล็ดพันธุ์ที่คุณภาพดี 

2.อุปกรณ์สำหรับขุดดิน พรวนดิน 

3.ฟางข้าว ใช้สำหรับคลุมแปลงผักเพื่อรักษาความชื้นในดิน ควบคุมวัชพืชรักษาพืชผักที่รับประทานผลให้สะอาดเพราะไม่ต้องถูกดิน ใช้คลุมทั่วทั้งแปลง หลังการเตรียมดินชั้นที่สอง หรือก่อนหว่านเมล็ด หรือหลังจากนำต้นกล้าลงปลูกแล้ว ควรเลือกฟางข้าวที่เมล็ดข้าวหลุดร่วงหมดแล้วเพื่อป้องกันต้นข้าวงอกในแปลงผัก จะทำให้ต้องเสียแรงเสียเวลาถอนออกจากแปลงในภายหลัง

4.ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้เป็ด ปุ๋ยขี้หมู กากถั่ว (ที่ชาวสวนเรียกว่า “โค”) รวมทั้งปูนขาวเพื่อปรับดินที่เป็นกรดให้เป็นกลาง

5.วัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เชือก ต่าง ๆ ผ้าคลุมแปลงเพาะกล้า 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำเกษตรอินทรีย์ในระบบปลูกพืช
1. ดิน และปุ๋ย
– เน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่หาได้ง่าย ได้แก่ ปุ๋ยคอก ทั้งจากมูลโค มูลกระบือ มูลไก่ รวมถึง ปุ๋ยหมักจากพืช แกลบ แกลบดำ ขี้เลื่อย เป็นต้น
– ใช้วัสดุอินทรีย์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเป็นปุ๋ยสด เช่น เศษพืชหลังการเก็บเกี่ยว เศษใบไม้ เป็นต้น
– เน้นการใช้ปุ๋ยพืชสด โดยเฉพาะการปลูกพืชตระกูลถั่วต่างๆ เช่น ปอเทือง
– ใช้หินแร่เป็นแหล่งเสริมธาตุอาหาร และปรับปรุงดิน อาทิ แร่ยิปซัม หินฟอสเฟต เปลือกหอยเผา และปูนขาว เป็นต้น
– หลีกเลี่ยงการเผาตอซัง และวัสดุอินทรีย์ ซึ่งอาจทำให้จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตในดินตายได้ รวมถึงจะเป็นการเร่งการเสื่อมสภาพของดินให้เร็วขึ้น
– ปลูกพืชคลุมดินรอบๆแปลงเกษตร เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน และการไหลออกของดินสู่พื้นที่อื่น
– ไถพรวนดิน 1-2 ครั้งต่อรอบการผลิต ไม่ควรไถมากกว่านี้ เพราะอาจเร่งการชะล้างปุ๋ยออกนอกพื้นที่ได้
2. น้ำ
– จัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอ ทั้งน้ำจากโครงการชลประทาน และน้ำจากบ่อที่ขุดเอง
– หลีกเลี่ยงการใช้น้ำที่มาจากแหล่งชุมชน 

ข้อพึงระวัง ->

ต้องเอาใจใส่ดูแลมากกว่าปกติ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา