ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำเกษตรผสมผสาน

โดย : นายบุญจันทร์ สานใจวงค์ วันที่ : 2017-07-19-16:13:51

ที่อยู่ : 91 ม.7 ต. สบป้าด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นับแต่สังคมไทยก้าวสู่สังคมทุนนิยมมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้าและบริการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว กลับกันภาคการเกษตรได้ลดความสำคัญลง กลุ่มชนชาวนาได้หายไปจากสังคมไทย การผลิตเพื่อยังชีพ (เพื่ออยู่เพื่อกิน) และวิถีชีวิตแบบชาวนาไม่มีให้เห็นแล้ว การผลิตภาคการเกษตรได้ปรับเปลี่ยนเป็นการผลิตเป็นการผลิตเพื่ออุตสาหกรรม และการค้าหมดสิ้น

          การเติบโตของสังคมทุนนิยม มันได้ดึงดูดผู้คนเข้าสู่เมือง คนหนุ่มสาว คนวัยฉกรรจ์ อพยพแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและการค้าเกือบหมดสิ้น ทิ้งไว้แต่เด็กคนก่อนวัยชราเพื่อเลี้ยงหลาน มีชีวิตอยู่ด้วยเม็ดเงินส่งกลับอย่างประหยัด

          จากการศึกษาชุมชนชนบทหรือชุมชนหมู่บ้านเกษตรกรรม พบว่ามีครอบครัวคนก่อนวัยชราจำนวนหนึ่ง (อายุ ๕๐-๖๕ ปี) ถูกทิ้งให้อยู่ในชุมชนโดยลำพัง ไม่มีเงินส่งกลับเพื่อยังชีพ พวกเขาได้ดิ้นรนเพื่ออยู่รอดใช้ฝืนดินที่มีอยู่ทำการผลิต เพื่อเลี้ยงตนเองให้อยู่รอด ทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา เป็ดไก่ สุกร พวกเขาปลูกและเลี้ยงทุกอย่างที่กินได้กลายเป็นรูปแบบผลิตผสมผสานเพื่อการยังชีพ เมื่อจิตใจของพวกเขามีความพอเพียง มีพอยู่ พอกิน ครอบครัวก็สามารถอยู่ดีมีสุขได้

          อย่างไรก็ตามครอบครัวทำการเกษตรผสมผสาน ยังประสบปัญหาอุปสรรคมากมาย เช่น ทุนจัดซื้อพันธุ์สัตว์ การจัดทำปุ๋ย อาหารสัตว์ รวมถึงการจัดการน้ำ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสานให้มีความมั่นคง และขยายผลสู่ครอบครัวอื่นๆ ให้มากขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

๑.      เพื่อพัฒนารูปแบบการผลิตการเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อการยังชีพให้เกิดความมั่นคง

๒.      เพื่อให้รูปแบบการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อการยังชีพ เป็นทางเลือกและทางออกของเกษตรกรในยุคแห่งการล่มสลาย

๓.      เพื่อสร้างเครื่องข่ายครอบครัวเกษตรผสมผสาน เพื่อการยังชีพให้เกิดมีกำลังใจช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. พันธุ์พืช

๒. พันธุ์สัตว์

๓. วัตถุดิบทำอาหารสัตว์

๔. น้ำ

๕. ดิน

๖. เศษอาหาร พืชผัก ผลไม้

๗. ไม้ที่ใช้ทำโรงเรือน

อุปกรณ์ ->

๑.จอบ

๒.เสียม

๓.รางน้ำ รางอาหารสัตว์

๔.บัวรดน้ำ

๕.สปริงเกอร์รดน้ำ

๖.ค้อนไม้ ตะปู

๗. ถังหมักปุ๋ย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.กิจกรรมแลกเปลี่ยนแนวคิดประสบการณ์ ให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนแนวคิดประสบการณ์เกี่ยวกับการเกษตรผสมผสาน ดังนี้

   ๑.๑ระยะเริ่มต้นโครงการ (๖ เดือนหลัง) นำครอบครัวขยายผล ๑๕ ครอบครัว เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการผลิตอย่างต่อเนื่อง

   ๑.๒ ระยะที่สอง (๖ เดือนหลัง) นำครอบครัวขยายผล 15 ครอบครัว เข้าร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

   ๑.๓ ยกระดับเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู่ความเป็นองค์กรที่มั่นคง และเป็นที่ยอมรับของทุกคน

๒.กิจกรรมกองทุนหมุนเวียน ให้มีกิจกรรมกองทุนหมุนเวียน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสาน ดังนี้

   ๒.๑ ยกร่างระเบียบกติกาว่าด้วยกองทุนหมุนเวียน เพื่อพัฒนาเกษตรผสมผสานให้สมาชิกทุกครอบครัวได้มีส่วนร่วมสร้างกองทุนอย่างเหมาะสม

   ๒.๒ ให้กองทุนสนับสนุนสมาชิก เพื่อการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อการยังชีพให้สมบูรณ์ เช่น

    -การจัดซื้อพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปลูกสร้างโรงเรือน

    -การจัดทำปุ๋ย อาหารสัตว์

    -การจัดการน้ำ การปรับพื้นที่

    -พลังงานแสงอาทิตย์

    -อื่นๆ ตามที่ที่ประชุมใหญ่เห็นเหมาะสม

ข้อพึงระวัง ->

ระวังในเรื่องการกำจัดศัตรูพืช 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา