ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปุ๋ยอินทรีย์

โดย : นางอรัญญา นันตา วันที่ : 2017-07-11-16:26:20

ที่อยู่ : หมู่่ที่ 8 ตำบลหัวเสือ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มนุษย์รู้จักการทำปุ๋ยหมักตอนไหนอาจระบุให้ชัดเจนได้ยาก แต่จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ในสมัยจักรวรรดิ์อัคคาเดียน บริเวณที่ราบลุ่มเมโสโปเมียมีบันทึกเรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะปลูกพืช จนมาถึงสมัยโรมัน และกรีกก็มีหลักฐานบันทึกไว้เช่นกัน โดยมีการใช้สารอินทรียใส่ในแปลงปลูกพืช และมีการพัฒนาการนำอินทรีย์วัตถุมากองรวมกันก่อนที่จะนำไปใช้คล้ายกับวิธีการทำปุ๋ยหมักด้วยการกองในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

เพ่ือใช้ในการบำรุงดินปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากหมักบ่มสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้สลายตัว และผุพังไปบางส่วน ทำให้ได้ปุ๋ยที่มีลักษณะสีคล้ำดำ มีลักษณะเป็นผง ละเอียดเหมาะ สำหรับการปรับปรุงดิน และให้ธาตุอาหารแก่พืช

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เศษพืช และมูลสัตว์ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ประมาณ 10 ปี๊ป – แกลบเผา/แกลบดำ 1 ส่วน – รำละเอียด 1 ส่วน – เชื้อ EM 20 ซีซี – กากน้ำตาล 100 ซีซี – น้ำ 10 ลิตร

อุปกรณ์ ->

ถัง 200 ลิตร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการหมักของปุ๋ยหมัก 1. การหมักแบบใช้ออกซิเจน เมื่อวัสดุหมักเกิดการย่อยสลายจนได้สารอินทรีย์ตั้งต้น ได้แก่ ไขมัน โปรตีนคาร์โบไฮเดรต เซลลูโลส ลิกนิน ฯลฯ สารเหล่านี้ จะถูกจุลินทรีย์จำพวกที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลายด้วยการดึงออกซิเจนมาใช้ในกระบวนการ และสุดท้ายจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นฮิวมัส น้ำ ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แอมโมเนีย (NH3) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และพลังงานความร้อน 2. การหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน สารอินทรีย์จะถูกย่อยสลายในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน โดยอาศัยการทำงานของจุลินทรีย์จำพวกที่ไม่ใช้ออกซิเจน 2 กลุ่ม คือ จุลินทรีย์สร้างกรด และจุลินทรีย์สร้างมีเธน ซึ่งจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์สุดท้าย ได้แก่ ก๊าซมีเธน (CH4) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย และพลังงานความร้อน

ข้อพึงระวัง ->

กลิ่นของกองปุ๋ยหมักจะมีกลิ่นฉุนที่เกิดจากการหมัก

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา