ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ

โดย : เขื่อนแก้ว สุวรรณวงค์ วันที่ : 2017-07-10-16:47:26

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนแม่ทะ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากเสร็จจากฤดุกาลทำนาจะไม่มีอาชีพ จึงทำเสริมในช่วงนั้น จึงมีแนวคิดหารายได้และเป็นอาชีพเสริม

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาชีพเสริม หารายได้ให้กับครอบครัวในช่วงว่างเว้นจากการทำนา

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

– เครื่องกกฝาชี 1 อัน ต่อไก่ 500-600 ตัว
– ถาดอาหาร 1 อัน ต่อไก่ 100 ตัว ช่วง 0-7 วัน หรือ ช่วง 0-3 วัน
– รางอาหาร 24 ฟุต 3 อันต่อไก่ 100 ตัว ช่วง 4-10 วัน
– ถังอาหารแบบแขวน 3 อันต่อไก่ 100 ตัว ช่วงวันที่ 10 ขึ้นไป
– ถังน้ำ ขนาด 1 แกลอน 0-7 วัน ใช้ 1 ถัง/100 ตัว
8-21 วัน ใช้ 2 ถัง/100 ตัว , 21 วันขึ้นไป ใช้ 3 ถัง/100 ตัว
3. อัตราการใช้พื้นที่เลี้ยง ขึ้นกับอุณหภูมิอากาศ เช่น
ฤดูร้อน 32 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 7.5-8 ตัว/ตร.ม.
ฤดูฝน 25 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 8.0-8.5 ตัว/ตร.ม.
ฤดูหนาว ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 9.5-10 ตัว/ตร.ม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงไก่เนื้อการจัดเลี้ยงดูไก่เนื้อ ไก่เนื้อในปัจจุบันมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพการใช้อาหารดีมากขึ้นตามลำดับ การจัดการเลี้ยงดูมี ส่วนเสริมให้ดีขึ้นด้วย การจัดการเลี้ยงดูที่สำคัญได้แก่
1. การเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ มีการเตรียมเช่นเดียวกับสัตว์ปีกชนิดอื่นๆ ซึ่งฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ ที่สมบูรณ์ควรมี
– โรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ
– โรงเรือนเก็บอาหาร ยา และอุปกรณ์การเลี้ยง
– อาคารอาบน้ำสำหรับบุคคลที่จะเข้าฟาร์ม
– สำนักงาน
– บ้านพัก
– โรงเรือนสเปรย์ยาฆ่าเชื้อรถยนต์ภายนอกฟาร์ม
– โรงเก็บวัสดุรองพื้น
– ระบบน้ำภายในฟาร์ม
ภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อนั้นควรจะสร้างให้มีความกว้าง 10 เมตร และยาวประมาณ 104 เมตร ภายในนั้นแบ่งเป็นล๊อกขนาด 200 ตารางเมตร และมีที่เก็บอาหารประจำโรงขนาด 40 ตารางเมตร และมีอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับการเลี้ยงพร้อมโรงเรือนและอุปกรณ์ควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยยาฆ่าเชื้อก่อน ต่อมาจะทำการปูด้วยวัสดุรองพื้น และจัดอุปกรณ์เข้าโรงเรือน จากนั้นใช้ยาฆ่าเชื้อฉีดพ่นเป็นฝอยอีกครั้ง
2. การนำลูกไก่เข้าเลี้ยงและการเลี้ยงดู ก่อนนำลูกไก่เข้าเลี้ยงจะต้องตรวจความพร้อมอีกครั้ง และนำลูกไก่ลงปล่อย ปกติพื้นที่ 1 ล๊อกขนาด 200 ตารางเมตร จะปล่อยลูกไก่ 1600-2000ตัว
3. การให้น้ำและอาหาร เป็นงานปกติที่ต้องทำประจำวัน ไก่เนื้อควรให้อาหารบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้ไก่กินอาหารได้มากขึ้น การใช้ถังอาหารแบบแขวน ควรเข้าไปเขย่าบ่อยๆ เช่นกัน สำหรับน้ำควรมีให้กินตลอดเวลา และควรล้างภาชนะให้น้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
4. การให้แสงสว่างสำหรับไก่เนื้อ ไก่เนื้อต้องการแสงสว่างเพื่อให้สามารถกินอาหารได้ตลอดวันและตลอดคืน ดังนั้นจึงต้องให้แสงสว่างอย่างเพียงพอ
5. การกกไก่เนื้อ เป็นการจัดการที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง จำเป็นเพื่อให้ลูกไก่ค่อย ๆ ปรับตัวกับสภาพแวดล้อม
6. การให้วัคซีน ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรค นิวคลาสเซิล ฝีดาษ และ หลอดลมอักเสบ ซึ่งจะให้ตามโปรแกรมวัคซีนสำหรับไก่เนื้อ
7. การจับไก่เพื่อจำหน่าย เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเลี้ยงไก่เนื้อการจับไก่จำหน่ายควรทำช่วงอากาศเย็นหรือช่วงเวลากลางคืน
8. การควบคุมโรคในไก่เนื้อ อาศัยหลาย ๆ อย่าง ประกอบกันดังนี้
– การจัดการโดยใช้หลักการ
– Isolation การเลือกพื้นที่ห่างจากชุมชน
– Protection การป้องกันพาหะนำโรค
– All -in all-out system
– Idle period การพักเล้า
– Sanitation การสุขาภิบาล ได้แก่ การล้าง การฆ่าเชื้อ การเข้าเล้าต้องจุมเท้าก่อน หรือการอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนเข้าเล้า และการฆ่าเชื้อภายนอก
– Health Promotion ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมให้ดี เช่น การระบายอากาศ การกก น้ำและอาหาร
– การทำวัคซีน (vaccination program)
– การกำจัดโรค( disease elimination)
– คัดเลือกลูกไก่ที่นำมาเลี้ยงควรปราศจากเชื้อ
– ป้องกันความเครียดต่าง ๆ
– รีบให้การรักษา
– คัดไก่ป่วยออก ทำลายซากไก่ที่ตาย

ข้อพึงระวัง ->

โรคระบาด

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา