ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำนา

โดย : นางสาววรัญญา แสนศรี วันที่ : 2017-07-10-13:45:55

ที่อยู่ : 122 หมู่ที่่ 4 ตำบลเสริมขวา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำนา เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ต่อมาได้เข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาผลผลิต ให้มีคุณภาพดี ลดต้นทุนการผลิตมาปรับใช้ในการทำนา ทำไร่

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธ์ูข้าว

ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก

อุปกรณ์ ->

รถไถ  จอบ เสียม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำนาดำ

                เป็นวิธีการที่มีการนำเมล็ดข้าวไปเพาะในแปลงที่เตรียมไว้  (แปลงกล้า) ให้งอกเป็นต้นกล้า แล้วค่อยถอนต้นกล้าไปปักดำในที่เตรียมไว้ และมีการดูแลรักษาจนได้ผลผลิต

การทำนาดำมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

การเตรียมดิน

การเตรียมดินสำหรับการทำนา ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อม เช่น น้ำ ภูมิอากาศ ลักษณะพื้นที่

หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว 1 เดือน  ใช้รถไถกลบตอฟางเพื่อพลิกหน้าดินและหามูลสัตว์มาใส่ทิ้งไว้ 3-4 เดือน เมื่อมีน้ำต้องไถกลบอีกครั้งหนึ่ง  หมักไว้เพื่อให้วัชพืชเน่าเปื่อยหลังจากนั้นเตรียมคาดไถ และเตรียมต้นกล้าเพื่อนำไปปักดำต่อไป

การเตรียมต้นกล้า   ควรคัดเลือกต้นกล้าที่แข็งแรง  เมื่อนำไปปักดำจะได้ข้าวที่เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และมีโอกาสให้ผลผลิตสูง  ไม่มีโรคและแมลงทำลาย

การปักดำ

                   การปักดำ ควรทำเป็นแถวเป็นแนว ซึ่งจะง่ายต่อการกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การพ่นยากำจัดโรคและแมลง และยังทำให้ข้าวแต่ละกอมีโอกาสได้รับอาหารและแสงแดดอย่างสม่ำเสมอกัน  ปักดำจับละ 3-5 ต้น ปักดำลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร จะทำให้ข้าวแตกกอใหม่ได้เต็มที่ 

การดูแลรักษา

การใส่ปุ๋ย
การกำจัดวัชพืช
การกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าว

การเก็บเกี่ยวข้าว

              สมัยก่อนเก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคน  ใช้เคียวเกี่ยวข้าวและนวดข้าวโดยการตีข้าว   มีการระดมแรงงาน เรียกว่าการ “เอามื้อ” ปัจจุบันนิยมจ้างรถเก็บเกี่ยวและนวดข้าว

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา