ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปุ๋ยหมัก

โดย : นายวิทยา กองใจ วันที่ : 2017-07-10-08:15:19

ที่อยู่ : 54 หมู่ที่ 3 ตำบลแม่พริก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

  1.) ทำให้โครงสร้างของดินและการซึมผ่านของน้ำดีขึ้น
          2.) เพิ่มการดูดซับของธาตุอาหารหลักและลดความเป็นพิษของธาตุบางชนิด
          3.) เพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินและลดปริมาณเชื่อโรคบางชนิด
          4.) การระบายอากาศของดินและรากพืชแผ่กระจายได้ดีขึ้น
          5.) ดินค่อยๆ ปล่อยธาตุอาหารพืชและลดการสูญเสียธาตุอาหารของพืช 

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 1) มูลสัตว์แห้งละเอียด 3 ส่วน
          2) แกลบดำ 1 ส่วน
          3) อินทรีย์วัตถุอื่นๆ ที่หาได้ง่าย เช่น แกลบ ชานอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง เปลือกถั่วเขียว ขุยมะพร้าวกากปาล์ม เปลือกมัน เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 3 ส่วน
          4) รำละเอียด 1 ส่วน
          5) น้ำสกัดชีวภาพ หรือใช้หัวเชื่อจุลินทรีย์ 1 ส่วน
          6) กากน้ำตาล 1 ส่วน
          7) น้ำ 100 ส่วน
          8)บัวรดน้ำ
 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

  1) นำวัสดุต่างๆ มากองซ้อนกันเป็นชั้นๆ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
          2) ผสมเอาส่วนของน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำตาลและน้ำคนจนละลายเข้ากันดี ใส่บัวราดบนกลองวัสดุปุ๋ยหมัก คลุกให้เข้ากันจนทั่วให้ได้ความชื้นพอหมาดๆ อย่าให้แห้งหรือชื้นหรือแห้งจนเกินไป (ประมาณ 30-40%) หรือลองเอามีดขยำบีบดู ถ้าส่วนผสมเป็นก้อนไม่แตกออกจากกันและมือรู้สึกชื้นๆ ไม่แฉะแสดงว่าใช้ได้ ถ้าแตกออกจากกันยังใช้ไม่ได้ต้องรดน้ำเพิ่ม
          3) หมักกองปุ๋ยหมักไว้ 7 วัน ก็นำไปใช้ได้
          4) วิธีหมักทำได้ 2 วิธี คือ
                    4.1 เกลี่ยกองปุ๋ยหมักบนพื้นซีเมนต์หนาประมาณ 1-2 วัน คลุมด้วยกระสอบป่านทิ้งไว้ 4-5 วัน ตรวจดูความร้อน ในวันที่ 2-3 ถ้าร้อนมากอาจจะต้องเอากระสอบที่คลุมออกแล้วกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน หลังจากนั้นกองปุ๋ยจะค่อยๆ เย็นลงนำลงบรรจุกระสอบเก็บไว้ใช้ต่อไป
                    4.2 บรรจุปุ๋ยหมักที่เข้ากันดีแล้วลงในกระสอบปุ๋ย ไม่ต้องมัดปากถุง ตั้งทิ้งไว้บนท่อนไม้ หรือไม้กระดานที่สามารถถ่ายเทอากาศใต้พื้นถุงได้ ทิ้งไว้ประมาณ 5- 7 วัน จะได้ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วย จุลินทรีย์ และสารอินทรีย์ต่างๆ เช่นเดียวกันกับน้ำสกัดชีวภาพในรูปแห้ง ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาวของเชื้อราเกาะเป็นก้อนในระหว่างการหมัก ถ้าไม่เกิดความร้อนเลย แสดงว่าการหมักไม่ได้ผล อุณหภูมิในระหว่างการกมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าให้ความชื้นสูงเกินไป จะเกิดความร้อนสูงเกินไป ฉะนั้นความชื้นที่ต้องพอดี ประมาณ 30% ปุ๋ยหมักชีวภาพเมื่อแห้งดีแล้ว สามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เก็บไว้ในที่แห้งในร่ม

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา