ความรู้สัมมาชีพชุมชน

แกะสลักม้า

โดย : นายบุญเรือน เฒ่าคำ วันที่ : 2017-07-09-22:12:56

ที่อยู่ : 150 หมู่ที่ 6 ตำบลหัวเสือ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็นอาชีพที่ท้าทายความสามารถ เป็นองค์ความรู้ติดตัวไปจนตาย และสามารถถ่ายทอดให้ลูกหลานได้

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว และเป็นภูมิปัญญา ที่ทำเรียนรู้ได้ยากจึงอยากจะอนุรักษ์และรักาาสืบลูกหลานไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ไม้ฉ่ำฉา

2. ไม้มะม่วง

3. ไม้ขนุน

อุปกรณ์ ->

1. มีด

2. ซิ่ว

3. มีด

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. กำหนดรูปแบบและลวดลาย ออกแบบหรือกำหนดรูปแบบและลวดลายนับเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการออกแบบ สำหรับงานแกะสลักต้องรู้จักหลักในการออกแบบ และต้องรู้จักลักษณะของไม้ที่จะนำมาใช้แกะสลัก เช่น ทางไม้หรือเสี้ยนไม้ที่สวนกลับไปกลับมา สิ่งเหล่านี้ช่างแกะสลักจะต้องศึกษาหาความรู้และแบบงานแกะสลักต้องเป็นแบบ ที่เท่าจริง

2. การถ่ายแบบลวดลายลงบนพื้นไม้ นำแบบที่ออกแบบไว้มาผนึกลงบนไม้ หรือนำมาตอกสลักกระดาษแข็งต้นแบบให้โปร่ง เอาลวดลายไว้และนำมาวางทาบบนพื้นหน้าไม้ที่ทาด้วยน้ำกาว หรือน้ำแป้งเปียกไว้แล้วทำการตบด้วยลูกประคบดินสอพองหรือฝุ่นขาวให้ทั่ว แล้วนำกระดาษต้นแบบออก จะปรากฏลวดลายที่พื้นผิวหน้าไม้

3. การโกลนหุ่นขึ้นรูป คือการตัดทอนเนื้อไม้ด้วยเครื่องมือช่างไม้บ้างเครื่องมือช่างแกะสลักบ้าง แล้วแกะเนื้อไม้เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกให้ไม้นั้นมีลักษณะรูปร่างที่ใกล้ เคียงกับแบบเพื่อให้เกิดรูปทรงตามต้องการ มีความชัดเจนตามลำดับเพื่อจะนำไปแกะสลักลวดลายในขั้นต่อไป
การโกลนภาพ เช่นการแกะภาพลอยตัว เช่น หัวนาคมงกุฎ หรือแกะครุฑและภาพสัตว์ต่าง ๆ ช่างจะต้องโกลนหุ่นให้ใกล้เคียงกับตัวภาพ

4. การแกะสลักลวดลาย คือการใช้สิ่วที่มีความคม มีขนาดและหน้าของสิ่วต่าง ๆ เช่น สิ่วหน้าตรง หน้าโค้ง และฆ้อนไม้ เป็นเครื่องมือในการแกะสลัก เพื่อทำให้เกิดลวดลายซึ่งต้องใช้ฆ้อนไม้ในการตอกและใช้สิ่วทำการขุด การปาดและการแกะลวดลายทำให้เกิดความงามตามรูปแบบที่ต้องการ
     การขุดพื้น คือการตอกสิ่วเดินเส้น โดยใช้สิ่วที่พอดีกับเส้นรอบนอกของตัวลาย เพื่อเป็นการคัดโคมของลวดลายส่วนใหญ่ทั้งหมดก่อนโดยใช้ฆ้อนตอก เวลาตอกก็ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อคมสิ่วจะได้จมลึกในระยะที่เท่ากันแล้วจึงทำการใช้สิ่วหน้าตรง ขุดพื้นที่ไม่ใช่ตัวลายออกให้หมดเสียก่อน ขุดชั้นแรกขุดตื้น ๆ ก่อน ถ้าพื้นยังไม่ลึกพอก็ตอกซ้ำอีกแล้วจึงขุดต่อไปเพื่อให้ได้ช่องไฟที่โปร่งถ้า ต้องการนำลวดลายแกะสลักนั้นไปประดับในที่สูงก็ต้องขุดพื้นให้ลึกพอประมาณ เพราะมองไกล ๆ จะได้เห็น การแกะยกขึ้น หลังจากที่ทำการขุดพื้นแล้วก็แกะยกชั้น จัดตัวลายที่ซ้อนชั้นกันเพื่อให้เห็นโคมลายชัดเจน ซึ่งก้าวก่ายกันในเชิงของการผูกลายเพื่อปรับระดับความสูงต่ำของแต่ละชั้นมี ระยะ 1 – 2 – 3 การแกะแรลาย เริ่มจากการตอกสิ่วเดินเส้นภายในส่วนละเอียดของลวดลายแล้ว ก็จะใช้สิ่วเล็บมือทำการปาดแกะแรลายเก็บแต่งส่วนละเอียด

ข้อพึงระวัง ->

วัตถุดิบลดน้อยลง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา