ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงหมูหลุม

โดย : นายธงชัย งามสม วันที่ : 2017-07-06-20:12:50

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านสา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เดิมการเลี้ยงหมูของชาวบ้าน ก็เลี้ยงหลังละ 1 – 2 ตัว แต่เกิดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น ทำให้ชาวบ้านใกล้เรือนเคียงเดือดร้อน จึงมีการปรับเปลี่ยนการเลี้ยงในปัจจุบัน เป็นการเลี้ยงแบบหมูหลุมไม่มีกลิ่นเหม็น

วัตถุประสงค์ ->

1. เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้

 2. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. รำหยาบ

2. เศษใบไม้

3. ถ่าน

4. ดินแดง

5. เกลือทะเล   

6. มูลสัตว์แห้ง

7. น้ำหมักจุลินทรีย์  7 ชนิด

8. หัวเชื้อราขาว

9. แกลบ

อุปกรณ์ ->

1.โรงเรือน

2. พลั่ว

3. รางให้อาหารและน้ำ

4. พลาสิกตาข่ายกันยุง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

                   1. ขุดพื้นคอกลึกลงไป 90 เซนติเมตร (หรือขุดเพียง 45 ซม. แล้วเอาดินที่ขุดขึ้นมานั้นถมด้านข้างก็จะได้ความลึก 90 ซม.) แล้วสร้างโรงเรือนมุงหลังคาให้ตีนชายคากว้างกันไม่ให้น้ำฝนสาดเข้ามาในคอก และเมื่อตีฝาคอกแล้ว ต้องใช้อิฐบล็อกหรือไม้ไผ่กั้นรอบ ๆ คอกลึกลงไปจากพื้นดินประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร เพื่อกันไม่ให้หมูออกนอกคอกได้
                     2. การเตรียมวัสดุพื้นคอกโดยใช้แกลบ,เศษใบไม้,มูลสัตว์แห้ง  10 ส่วน ผสมดินแดงละเอียด 1 ส่วน และถ่าน เทลงก้นหลุมที่ขุดไว้ให้มีความหนา 30 ซม. แล้วใช้เกลือเม็ด 1 ถ้วย หรือประมาณครึ่งลิตรโรยหน้า แล้วใช้น้ำหมักชีวภาพ 2 ช้อนแกงผสมน้ำ 1 บัว (10 ลิตร) ราดให้ทั่ว ทำเหมือนเดิมอีก 2 ชั้นจนเท่าระดับพื้นดิน ช่วงนี้วัสดุพื้นคอกจะยังร้อนจากการทำงานของจุลินทรีย์  ต้องทิ้งไว้ประมาณ 10 วันจึงนำหมูเข้าอยู่ได้ และควรราดน้ำหมักชีวภาพลงบนพื้นคอกเพิ่มเติมอีกทุกๆ 5-7 วัน ครั้งละ 1 บัว ภายหลังจากเริ่มเลี้ยงหมูแล้ว เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายสิ่งปฏิกูลต่างๆ

                   3. ให้อาหารและน้ำ อาหารผสม หรืออาหารสำเร็จ ในปริมาณ ร้อยละ 30  ส่วนอาหารที่เหลือร้อยละ 70 เป็นอาหารผักที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วย  ผักบุ้ง ผักตบชวา ยอดกระถิน ยอดข้าวโพด ใบมัน ฯลฯ โดยนำมาหั่นเป็นชิ้น ๆ แล้วแช่ในน้ำที่ผสมน้ำหมักชีวภาพไว้นานประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง (ผสมน้ำหมักชีวภาพกับน้ำ ในอัตราส่วนตั้งแต่ 1 ต่อ 1,000 สำหรับหมูเล็กและ 1 ต่อ 800 สำหรับหมูรุ่นและ 1 ต่อ 500 สำหรับหมูใหญ่)มาผสมกับรำข้าว

                   4. การป้องกันยุง ให้นำเอาตะไคร้หอมมาทุบแช่น้ำ แล้วฉีดพ่นให้หมูในช่วงหัวค่ำ (ระวังอย่าให้เข้าตา) เนื่องจากตะไคร้หอมมีสรรพคุณช่วยไล่แมลงได้เป็นอย่างดี
 

ข้อพึงระวัง ->

ต้องมีการป้องกันยุงโดยนำน้ำตะไคร้หอม ฉีดพ่นให้หมูในช่วงหัวค่ำ (ระวังอย่าให้เข้าตา) เพราะ ตะไคร้หอมมีสรรพคุณช่วยไล่แมลงได้

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา