ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะเห็ดนางฟ้า

โดย : นางหลาน สืบปาละ วันที่ : 2017-07-06-11:30:04

ที่อยู่ : 35 ม.2 ต.นาโป่ง อ.เถิน จ.ลำปาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

โรงเรือน และวัสดุเพาะ

1. โรงเรือน

สำหรับเห็ดนางฟ้าจะใช้โรงเรือนที่วางเป็นรูปตัวเอ และควรมีอากาศถ่ายเทดีพอสมควร มีแสงตามความต้องการของเห็ด จะสังเกตได้คือ เมื่อเดินทางเข้าในโรงเห็ดแล้วควรจะหายใจสะดวก ไม่อับชื้นหรือร้อนเกินไปโครงสร้างของโรงเรือนทำ ได้ 2 แบบ แบบแรกเป็น โรงเรือนชั่วคราว ใช้วัสดุไม่ถาวร ลงทุนไม่มาก เสาทำ ด้วยไม้ไผ่ หรือเสาเข็ม หลังคามุงด้วยจากหรือหญ้าคา อายุการใช้งานประมาณ 3 – 4 ปี

โรงเรือนถาวร เป็นโรงเรือนสังกะสีหรือกระเบื้องลอน แต่อาจมีปัญหาเรื่องความร้อน จึงควรทำ หลังคาให้สูงขึ้น และควรมีท่อน้ำพาดบนหลังคาเพื่อปล่อยน้ำรดลงมาในเวลาที่อุณหภูมิสูงมาก อายุการใช้งานประมาณ 10 ปีขึ้นไป

2. การจัดวางก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าในโรงเรือน

– ความชื้น (น้ำ ) 50 – 60 เปอร์เซ็นต์

 

โรงเรือนนี้ภายในทำเป็นแผงสำหรับวางก้อนเชื้อ ไม่จำเป็นต้องกำหนดเป็นรูปแบบตายตัว สามารถวางเห็ดได้มาก นิยมใช้ไม้ไผ่ประกอบกันเป็นรูปตัวเอ (A) หรือรูปสามเหลี่ยมทรงสูง แล้ววางก้อนเชื้อซ้อนทับกันไป หันปากถุงออกทางด้านข้างชั้นทั้งสองด้าน ทำช่องระบายอากาศขนาด 40 x 60 เซนติเมตร จำนวน 1– 2 ช่อง สำหรับระบายอากาศด้วยการวางถุงก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าจะวางในแนวนอน เช่น การวางในแนวนอนโดยวางซ้อนกันบนแผงรูปตัวเอ ประมาณ 3 – 5 ก้อน หรือวางซ้อนกันบนพื้นโรงเรือน ดอกเห็ดจะโผล่ออกมาทางปากถุง

3. วัสดุเพาะ และสารอาหาร

วัสดุที่นิยมใช้เป็นวัสดุหลักในการเพาะเห็ดนางฟ้า คือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารำ เนื่องจากสามารถนำมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องหมัก เก็บรักษาง่าย สามารถเก็บไว้ในสภาพแห้งๆ ก็ได้ หรือทิ้งอยู่กลางแจ้งเปียกน้ำ เปียกฝนก็ได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา