ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงจิ้งหรีดไข่

โดย : นางจิตร อารอบ วันที่ : 2017-07-06-11:06:01

ที่อยู่ : 83 ม.9 ต.เถินบุรี อ.เถิน จ.ลำปาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วงจรชีวิต

ไข่ มี สีขาวนวล ลักษณะเรียวยาวคล้ายเม็ดข้าวสาร ไข่เมื่อฟักนาน ๆ จะมีสีเหลือ และดำ ก่อนจะฟักออกเป็นตัวอ่อน ใช้เวลาประมาณ 13 -14 วัน ถ้าเป็นฤดูหนาวประมาณ 20 วัน ตัวอ่อน ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ มีสีครีมต่อมาเปลี่ยนเป็นสีดำและมีลายม่วง มีการลอกคราบ7 ครั้ง ระยะตัวอ่อนประมาณ 40 วัน ตัวเต็มวัย อายุ 40 วันขึ้นไป มีสีน้ำตาลเข้ม ตัวเล็กกว่าพันธุ์ทองแดง


ความแตกต่างของเพศผู้และเพศเมีย
เพศผู้ ปีกคู่หน้าย่น สามารถทำให้เกิดเสียงได้ โดยใช้ปีกคู่หน้าถูกัน เสียงที่จิ้งหรีดทำขึ้น เป็นการสื่อสารที่มีความหมายของจิ้งหรีด
เพศเมีย ปีกคู่หน้าเรียบ และมีอวัยวะวางไข่ยาวแหลม คล้ายเข็มยาวประมาณ 1.50 ซม. การทำเสียงของเพศผู้ เกิดจากการใช้ปีกคู่หน้าถูหรือสีกัด ปกติปีกจะทัยกันเหนือลำตัว เพศผู้ปีกขวาจะทับปีกซ้าย ส่วนเพศเมียปีกซ้ายจะทัยปีกขวา เวลาร้องจะยกปีกคู่หน้าขึ้นใช้ขอบของโคนปีกซ้ายูหรือสีกับฟันซี่เล็ก ๆ ที่เรียงกันเป็นแถวที่โคนด้านในของปีกขวา
พร้อม ๆ กับการโยกตัว เสียงร้องจะบ่งบอกถึงพฤติกรรมของจิ้งหรีดในขณะนั้น เช่น

ลักษณะ

แสดงพฤติกรรม
1. กริก…กริก…กริก…นานๆ อยู่โดนเดี่ยว ต้องการหาคู่ หรือหลงบ้าน
บางครั้งพเนจรร้องไปเรื่อย ๆ
2. กริก…กริก…กริก..เบา ๆ และถี่ ติดต่อกัน ต้องการผสมพันธุ์ ตัวผู้จะท้ายหลังเข้าหา
ตัวเมีย เพื่อขึ้นคร่อมรับการผสมพันธุ์
3. กริก…กริก…กริก..ยาวดัง ๆ 2 – 3 ครั้ง โกรธ หรือแย่งความเป็นเจ้าของ
4. กริก…กริก..กริก..ลากเสียงยาว ๆ ประกาศอาณาเขต หาที่อยู่ได้แล้ว


การผสมพันธุ์

เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็ววัยประมาณ 3-4 วัน ก็จะเริ่มผสมพันธุ์ ตัวผู้จะส่งเสียงเรียกหาตัวเมีย ตอนแรกจะส่งเสียงเรียกหาตัวเมีย ตอนแรกจะส่งเสียงดังและร้องเป็นช่วงยาว ๆ เพื่อให้ตัวเมียเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ จิ้งหรีดจะอาศัยเสียงร้องเท่านั้น จึงจะเห็นเพศตรงข้าม เนื่องจากสายตาไม่ดี หนวดรับการสัมผัสไม่ค่อยดี จะสังเกตได้ เมื่อตัวเมียเกาะอยู่นิ่ง ๆ ตัวผุ้จะเดินผ่านไปทั้ง ๆ ตัวเมียอยู่ใกล้ เมื่อพบตัวเมียแล้วเสียงร้องจะเบาลงเป็นจังหวะสั้น ๆ กริก..กริก..กริก.. ถอยหลังเข้าหาตัวเมีย เพื่อให้ตัวเมียขึ้นคร่อมรับการผสมพันธุ์ ใช้เวลาประมาณ
10 – 15 นาที โดยตัวผู้จะยื่นอวัยวะเพศแทงไปที่อวัยวะเพศเมีย แล้วปล่อยถุงน้ำเชื้อมีลักษณะ
ปลายเป็นลูกศรออกไปติดที่อวัยวะเพศเมีย หลังจากนั้น ถูงนำเชื้อจะฝ่อลง ตัวเมียจะใช้ขาเขี่ย
ถุงน้ำเชื้อทิ้งไป


การวางไข่

หลังจากผสมพันธุ์แล้ว 3- 4 วัน ตัวเมียจะเริ่มวางไข่โดยใช้อวัยวะที่ยาวแหลมคล้ายเข็ม
ความยาวประมาณ 1.50 ซม. แทงลงไปในดินลึก 1-1.50 ซม. และวางไข่เป็นกล่ม ๆ ละ
3 – 4 ฟอง ตัวเมีย 1 ตัว จะวางไข่ได้ประมาณ 1,000 – 1,200 ฟอง ปริมาณไข่สูงสุดช่วง
วันที่ 15 -16 นับจากการผสมพันธุ์ จากนั้นไข่จะลดลงเรื่อย ๆ จนหมดอายุขัย

วัสดุ อุปกรณ์การเลี้ยงจิ้งหรีด

1. บ่อจิ้งหรีด วัสดุที่จะนำมาเป็นสถานที่เพาะเลี้ยง เช่น บ่อซีเมนต์ กะละมัง ปิ๊ป โอ่ง ถังน้ำ เป็นต้น
2. เทปกาวใช้ติดรอบในด้านบนเพื่อป้องกันไม่ให้จิ้งหรีดออกนอกบ่อ ใช้พลาสติกกว้างประมาณ 5 ซม. ให้ยาวเท่าเส้นขอบวง
3. ยางรัดปากวง ใช้ยางในรถจักรยานยนต์ ตัดให้มีขนาดกว้างน้อยกว่าขอบวงด้านนอกเพื่อความสะดวกเมื่อเวลายืดรัดตาข่ายกับขอบวง
4. ตาข่ายไนล่อนสีเขียว เป็นตาข่ายสำหรับปิดปากบ่อจิ้งหรีดป้องกันการบินหนีของจิ้งหรีดและป้องกันศัตรูเข้าทำลายจิ้งหรีดตัดให้มีขนาดใหญ่กว่าบ่อจิ้งหรีดเล็กน้อย
5.วัสดุรองพื้นบ่อ ใช้แกลบใหม่ๆ รองพื้นหนาประมาณ 1 ฝ่ามือ
6.ที่หลบภัย ใช้เป็นที่หลบซ่อนตัว อาศัยอยู่ เช่น ถาดไข่ชนิดที่เป็นกระดาษ ไม้ไผ่ตัดเป็นท่อนๆ เข่งปลาทู
7. ถาดให้อาหาร ควรเป็นถาดที่ไม่ลึกมาก เพื่อให้จิ้งหรีดได้กินอาหารได้สะดวก
8. ภาชนะให้น้ำ ใช้ที่ให้น้ำสำหรับลูกไก่และต้องมีหินวางไว้สำหรับให้จิ้งหรีดเกาะได้ไม่ตกน้ำ
9. ถาดไข่ สำหรับใช้เป็นที่วางไข่โดยใช้ขันอาบน้ำทั่ว ๆ ไป วัสดุที่ใส่ ใช้ขี้เถ้าแกลบดำ รดน้ำให้ชุ่ม


การจัดการ

1. สถานที่เลี้ยง ต้องป้องกันแสงแดดและฝนได้ อากาศถ่ายเทได้สะดวก เช่น โรงเรือนเลี้ยง ใต้ถุนบ้าน ชายคา บ้าน เป็นต้น
2. พ่อแม่พันธุ์จิ้งหรีด ได้จากจิ้งหรีดตัวเต็มวัยที่ผสมพันธุ์แล้ว โดยไม่ต้องคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ใน 1 บ่อ มี ประมาณ 8,000 ตัว
3. การขยายพันธุ์ วางถาดไข่สำหรับวางไข่ 4-6 อัน ย้ายถาดไข่ออกวางถาดไข่อันใหม่อีก 4-6 อัน จะได้จิ้งหรีด ที่เป็นรุ่นเดียวกัน ใน 1 บ่อ สามารถวางถาดไข่ได้ 2-3 ครั้ง
4. การให้น้ำให้ดูขวดที่ใส่น้ำถ้าแห้งให้เติมใหม่ ถ้าสกปรกให้ล้างออก หรือใช้ต้นกล้วยดิบตัดเป็นท่อนๆ แตงกวา ชนิดต่างๆ เช่น แตงกวา แตงโม น้ำเต้า ให้จิ่งหรีดดูดกินน้ำ เมื่อตัวเล็กๆ
5. การให้อาหาร อาหารหลักได้แก่ผักชนิดต่างๆ เช่นผักกาด กะหล่ำ หญ้า มะละกอ อาหารรองใช้อาหารไก่เล็ก ผสมกับแกลบอ่อน อัตรา 1: 1 เมื่อจิ้งหรีดอายุ 40-50 วัน พร้อมที่จะนำมาบริโภคและจำหน่ายต่อไป
6. เมื่อจับจิ้งหรีดในบ่อแล้ว ให้ทำความสะอาดบ่อเลี้ยงโดยการเก็บวัสดุรองพื้นบ่อออกให้หมด ส่วนขวดน้ำ ถาดอาหาร ถาดไข่ ที่หลบภัย ทำความสะอาดสามารถนำมาใช้ได้อีกค่าตอบแทน

โรคและศัตรูของจิ้งหรีด

จิ้งหรีดเป็นแมลงที่ไม่ค่อยมีโรคและศัตรูรบกวนมากนัก ควรป้องกันไว้ก่อนดีกว่าการกำจัด ซึ่งจะเป็ฯอันตราต่อจิ้งหรีดและผู้บรืโภคโรคทางเดินอาหาร เกิดจากจิ้งหรีดได้รับอาหารที่ไม่สะอาด เกิดเชื้อรา วิธีป้องกัน คือ การให้อาหารที่มีจำนวนพอเหมาะกับจำนวนจิ้งหรีดเมื่อเก็บผลผลิตหมดแล้วควรทำ ความสะอาดบ่อก่อนนำจิ้งหรีดรุ่นใหม่มาเลี้ยงสัตว์ศัตรู เช่น มด จิ้งจก ไร แมงมุน ป้องกันโดยโช้ตาข่ายคลุมให้มิดชิด

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา