ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่ไข่

โดย : นางสมหมาย สิทธินวน วันที่ : 2017-07-05-21:42:54

ที่อยู่ : ม.9 ต.เถินบุรี อ.เถิน จ.ลำปาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เทคนิคการเลี้ยงไก่ไข่

การจัดการน้ำไก่ไข่

1.ไก่ไข่ที่อายุ 3 เดือนขึ้นไป ต้องการน้ำประมาณ 15-20 ลิตร/100 ตัว/วัน หากขาดน้ำในช่วงให้กำลังไข่ เพียง 3-4 ชั่วโมง จะทำให้ไข่ฟองเล็ก  น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด ไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อนโดยใช้ ไคโตซาน  มิกซ์ฟีด  ละลายน้ำในรางหรือถังให้ไก่กิน  โดยใช้อัตรา 10 ซีซี.น้ำ 20 ลิตร ป้องกันเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับน้ำ กระตุ้นการกินอาหาร

การจัดการอาหารไก่

อาหารไก่ไข่ ในช่วงเริ่มให้ไข่ เปอร์เซ็นต์โปรตีน ประมาณ 15-16 %  ซึ่งมีทั้งอาหารป่น อาหารอัดเม็ด หัวอาหารสำหรับผสมเอง ความต้องการอาหารของไก่ อายุ 3 เดือนขึ้นไป ประมาณ 10 กิโลกรัม/100 ตัว/วัน  ปัญหาที่เกิดจากอาหารบางครั้งคือ การปนเปื้อนเชื้อราในอาหาร ที่เรียกว่า สารอะฟลาท๊อกซิน นอกจากนั้นในวัตถุดิบอาหารสัตว์บางครั้งอาจมีสารพิษตกค้างจากสารเคมีที่ใช้ เช่น ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช  ซึ่งปะปนในอาหารสัตว์  เมื่อสัตว์กินเข้าไป จะทำให้ตับถูกทำลาย หรือเป็นมะเร็งที่ตับได้  แต่ในไก่สามารถสังเกตได้ว่าไก่จะถ่ายเหลว หรือท้องเสีย  วิธีป้องกันแก้ไขโดย ใช้สเม็คไทต์ผง ผสมร่วมกับอาหารไก่ เพียง  3 % ของอาหารสามารถจับตรึงสารพิษที่ปนเปื้อนกับอาหารได้ ช่วยจับตรึงแอมโมเนียและกลิ่นเหม็นตั้งแต่ในระบบลำไส้ เมื่อไก่ถ่ายออกมากลิ่นเหม็นจะน้อยลง

การจัดการสุขาภิบาล

1. การกำจัดกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ตามพื้นคอก ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ไก่มีอาการหายใจลำบาก หน้าบวม ร้อนแดง ตาอักเสบ น้ำมูก น้ำตาไหลและมีอาการคัน เกาจนเป็นแผลทำให้เกิดการติดเชื้อและตายในที่สุด  หากเป็นไก่ไข่แบบเลี้ยงรวมบนพื้น สามารถใช้สเม็คไทต์ ผง หว่านลงบนวัสดุรองพื้น โดยในระยะไก่โตอาจหว่านโรย ทุก 5-7 วัน ช่วงเช้า-เย็น  ไก่ไข่แบบกรงตับให้ใช้สเม็คไทต์ผง หว่าน โรยบางๆ ทับลงบนมูลไก่ที่พื้นคอก  กลิ่นเหม็นจะถูกดูดซับ จากนั้นประมาณ 5-10 นาทีกลิ่นเหม็นจะหายไป

2. การหว่านโรยสเม็คไทต์ผง บนมูลไก่บนลานตากแห้ง หรือหว่านโรยบางๆ ในเล้าไก่ ช่วยลดปัญหาไรไก่ พยาธิ รวมทั้งแมลงวันให้น้อยลง เนื่องจากสเม็คไทต์ เป็นสารจากการระเบิดตัวของหินภูเขาไฟ ซึ่งสามารถรบกวนผิวไรไก่และพยาธิ  ทำให้ไรไก่และพยาธิไม่สามารถระบาดได้และลดลง จนหมดไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา