ความรู้สัมมาชีพชุมชน

พิธีสืบชะตาล้านนา

โดย : นายสมบูรณ์ วนิชตานนท์ วันที่ : 2017-07-05-14:53:52

ที่อยู่ : 29/2 บ้านนาแส่ง หมู่ที่ 6 ตำบลนาแส่ง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

           พ่อหนานสมบูรณ์ เป็นผู้มีความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านศาสนาและการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของหมู่บ้าน เป็นผู้นำด้านศาสนาวัฒนธรรม  การทำพิธีสืบชะตา ต่าง  โดยได้รับการสืบทอดมาจากคนรุ่นเก่า

ก่อน ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นของ บ้านนาแส่ง  “พิธีสืบชะตา”  อันเป็นประเพณีวัฒนธรรมที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตกับชาวล้านนามาอย่างยาวนานพิธีสืบชะตานั้นเป็นพิธีมงคล คำว่า “สืบ” ความหมาย คือต่อให้ยาวขึ้น “ชะตา” หรือชาตาชีวิตของแต่ละคนดังนั้นพิธีนี้จึงเสมือนเป็นพิธีกรรมในการต่ออายุ

ให้ยืนยาวขึ้นหรือที่เรา เรียกเป็นภาษาภาคกลางว่า  “พิธีอายุวัฒนมงคล” 

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสืบทอดประเพณีวัฒนธรรม “สืบชะตา” ให้แก่ลูกหลาน และเยาวชน รุ่นหลัง ได้อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมล้านนาต่อไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ต้นกล้ามะพร้าว,ต้นอ้อย,ต้นกล้วย อย่างละ ๓ ต้น

2  กล้วยน้ำว้าดิบ ๑ เครือ

3 มะพร้าว ๑ ทะลาย

4 สีสายค่าคิง(สายน้ำมันยาวเท่าตัว) ๑ สาย

5 . ใบไม้ที่เป็นมงคลเช่น ใบเต๊า ใบขนุน ใบเงิน ใบทอง เป็นต้น

6 . เทียนขี้ผึ้งแท้น้ำหนัก ๑ บาท ๑ แท่ง

7. ด้ายสายสิญจน์ ๑ ม้วน

8. ปลาสำหรับปล่อยจำนวนเท่าอายุเจ้าชาตา

9. นก ปู หรือหอยสำหรับปล่อย

10. ใบไม้ที่เป็นมงคลเช่น ใบเต๊า ใบขนุน ใบเงิน ใบทอง เป็นต้น

อุปกรณ์ ->

1. ไม้ค้ำสรี (สะหรี ต้นศรีมหาโพธิ์) ๑๐๐ เล่ม

 2.ขัว (สะพาน) ๑ คู่

3.ลวดเบี้ย ๓ เส้น (เส้นหนึ่งใช้หอยเบี้ยร้อยเป็นสาย ๑๐๐ ตัว)

๔. ลวดหมาก,ลวดพลู ๓ เส้น (เส้นละ ๑๐๐)

๕. ลวดเมี่ยง ๓ เส้น (เส้นละ ๑๐๐)

๖. ลวดเงิน ๓ เส้น

๗. ลวดทอง ๓ เส้น

๘. ตุงยาวค่าคิง(ยาวเท่าตัวคน) ๓ ตัว

๙. ตุงเล็กและตุงช่อ ๑๐๐ ตัว

๑๐. ลวดข้าวตอก ๓ เส้น (เส้นละ ๑๐๐)

๑๑. บอกน้ำ,บอกทราย อย่างละ ๑ กระบอก

๑๒. บอกข้าวเปลือก,บอกข้าวสาร อย่างละ ๑ กระบอก

๑๖. สีสายค่าคิง(สายน้ำมันยาวเท่าตัว) ๑ สาย

๑๗. เสื่อใหม่ ๑ ผืน

๑๘. หมอนใหม่ ๑ ใบ

๑๙. เสื้อผ้าของผู้เข้าร่วมสืบชะตา

๒๐. หม้อใหม่ ๒ ใบ (หม้อเงิน,หม้อทอง) อย่างละ ๑ ใบ

๒1. บาตรสำหรับใส่น้ำพุทธมนต์ ๑ ใบ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. ตั้งเครื่องสืบชะตา จัดโต๊ะหมู่บูชา ตั้งอาสนะสงฆ์ ๙ ที่

๒. เจ้าชะตาจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย

- ประเคนบาตรน้ำมนต์ให้พระสงฆ์

- ประเคนขันสืบชะตา ด้ายสายสิญจน์

- ประเคนพานอาราธนาศีล แล้วกลับไปนั่งซุ้มพิธี

๓. อาจารย์(ผู้นำในการประกอบพิธี) นำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย

๔. อาจารย์กล่าวอาราธนาศีล-ประธานสงฆ์ให้ศีล

๕. อาจารย์อาราธนาพระปริต

- พระสงฆ์องค์ที่ ๓ กล่าว สักเค ชุมนุมเทวดา

- คณะสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์

๖. อาจารย์สมาธรรม และครัวทาน (ขอขมา)

๗. อาจารย์อาราธนาธรรม พระสงฆ์เทศนาธรรมสืบชะตา ๙ ผูก

๘. ประธานสงฆ์มอบเครื่องสืบชะตาให้แก่เจ้าชะตาและคณะ

๙. ประธานสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ พระสงฆ์เจริญไชยมงคลคาถา

๑๐. เจ้าชะตาและคณะถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแก่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนา

๑๑. อาจารย์นำกราบพระ บูชา พระรัตนตรัย เจ้าชะตาถวายภัตตาหาร

และไทยทานเป็นอันเสร็จพิธี

ชื่อคัมภีร์ที่ใช้ประกอบพิธีสืบชะตา

๑. มหาทิพพมนต์ ๑ ผูก

๒. อุณหัสสะวิไชย ๑ ผูก

๓. โลกาวุฒิ ๔ ผูก

๔. สะลาถะวิชชาสูตร ๑ ผูก

๕. พุทธะสังคะหะโลก ๑ ผูก

๖. มหาไชยมงคล ๑ ผูก

 

การเทศน์ธรรมสืบชะตาทั้ง ๙ ผูก พระสงฆ์จะเทศน์พร้อมกันรูปละ ๑ ผูก ส่วนเครื่องประกอบพิธีกรรมสืบชะตาบ้าน กับชะตาเมืองนั้น  เครื่องสืบชะตาจะเพิ่มมากขึ้นเป็นเครื่อง ๑,๐๐๐ จะมีการโยงสายสิญจน์

จากวัดหรือสถานประกอบพิธีผ่านไปยังบ้านแต่ละหลังจนครบ ทั้งหมู่บ้าน และทุกครอบครัวก็จะเตรียมน้ำส้มป่อยน้ำอบ น้ำหอม และทรายมาร่วมพิธี เมื่อเสร็จแล้วจะได้นำกลับไปโปรยที่บ้านเรือนของตน

ข้อพึงระวัง ->

         การดูวัน ปีฤกษ์ยามตามคติความเชื่อของคนไทย โดยทั่วไปเดือนที่นิยมปลูกบ้าน ให้นับตามแบบเดือนไทยหรือเดือนทางจันทรคติได้แก่ เดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสี่ เดือนหก เดือนเก้า และเดือนสิบสอง สำหรับวันให้ดูวันที่เป็นวันอธิบดีธงชัยตามปีที่ปลูกบ้าน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา