ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ของละเล่นพื้นบ้าน เต่ากะลา

โดย : นายอินจันทร์ จิงจู วันที่ : 2017-07-05-14:31:05

ที่อยู่ : ๑๑๗ หมู่ที่ ๔ บ้านนาแก้วตะวันตก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

             ของเล่นพื้นบ้าน คือ สิ่งของวัสดุที่นำมาเล่นโดยทำมาจากวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น เป็นผลผลิตจากธรรมชาติหรืออาจเหลือใช้จากธรรมชาติก็ได้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของสังคมอื่นๆ.  ของเล่นพื้นบ้านในปัจจุบันนั้นบางส่วนได้ถูกลืมเลือนไปบ้างแล้ว แต่บางส่วนก็ยังคงอนุรักษ์เอาไว้ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือเต่ากะลา

วัตถุประสงค์ ->

เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านให้แก่เยาวชนและลูกหลาน

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. กะลามะพร้าว  
2. เปลือกไม้     3 เปลือกมะพร้าว

 

อุปกรณ์ ->

       1กะลามะพร้าว        

         2.มีด  ,เลื่อย        

         3.เชือก

         4.ยางรัด

          5.กระดาษทราย

6.เปลือกไม้    

7.กาวติดไม้   

8.เปลือกมะพร้าว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำกะลามะพร้าวมาผ่าครึ่งตามแนวนอนแล้วขัดแต่งให้เรียบ

2. เจาะรูตรงกลางกะลาและบากร่อง2ร่องทั้งสองข้างของกะลาเพื่อร้อยยางรัด

3. ทำล้อโดยใช้เศษไม้มาเหลาเป็นวงกลมและขอดตรงกลางเหมือนหลอดด้ายและมีขนาดเล็กกว่ากะลา บากหัวท้ายทั้ง 2 ฝั่ง

4.  นำเปลือกมะพร้าวมาตัดเป็นส่วนหัวและส่วนหางของเต่าแล้วติกาวและตกแต่งตามต้องการ

5.  นำมาประกอบกันโดยใส่ยางรัดที่ลูกล้อแล้วใช้เชือกยาว 50เซนติเมตร มัดล้อไว้แล้วพันเชือกตามล้อไปทางด้านหัว นำปลายเชือกอีกด้านหนึ่งสอดออกทางกะลาด้านบนที่เจาะรูไว้ นำปลายเชือกมัดติดกับท่อนไม้เล็กๆ ไว้สำหรับดึง

ข้อพึงระวัง ->

ขั้นตอนการทำต้องใช้ของมีคม อาทิ มีด เครื่องตัดไม้ เหล็กแหลม เด็ก เยาวชนควรระวัง หากประมาทอาจเกิดอันตรายได้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา