ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เกษตรผสมผสาน

โดย : นายกิตติพงษ์ ปงธิยา วันที่ : 2017-07-04-15:52:30

ที่อยู่ : บ้านป่าแข ม.7 ต.นาแก้ว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                         แต่ดั้งเดิมเป็นเกษตรกรธรรมดาที่ทำนา  โดยมีความรู้ที่สืบทอดมาแต่รุ่นบรรพบุรุษ  มีการทำนา  ปลูกไม้ผล  เลี้ยงไก่พื้นเมือง  สุกร    โดยยังไม่มีการเรียนรู้การเกษตรอินทรีย์ การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  ผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพ  ขาดการปรับปรุงพันธ์พืช พันธ์สัตว์  ผลผลิตจึงได้ราคาไม่ดี มีหนี้สิน   ข้าพเจ้านอกจากเป็นผู้ใหญ่บ้านแล้ว ยังมีอาชีพเกษตรกร ทำนา และได้มีโอกาสได้ไปศึกษา อบรม ศึกษาดูงานศูนย์พัฒนาห้วยฮ่องไคร้โครงการในพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด   โดยเฉพาะกับเกษตรอำเภอ จึงทำให้ได้รับความรู้ในเรื่องการเกษตร  จึงได้ทำกิจกรรมเกษตรต้นแบบกับสำนักงานการเกษตร  เกษตรทฤษฎีใหม่  และนำมาเผยแพร่ให้กับชุมชนจากการที่เป็นคนสู้ชีวิตและรักการศึกษาเพิ่มเติม  จึงเข้าร่วมกิจกรรมอบรม  สัมมนา  ซึ่งมีหน่วยงานด้านการเกษตร   จากข่าวสารสารคดีการเกษตรทางโทรทัศน์    ปัจจุบันก็ได้ปลูกเพิ่มขึ้นและเลี้ยงสัตว์เพิ่ม เช่น ปลูกมะนาว,ปลูกผักเสี้ยว ,ปลูกพริก,ปลูกชะอม ปลูกพืชยืนต้น,ปลูกหน่อไม้ ,เลี้ยงไก่ปลานิล และพืชผักสวนครัว ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น สร้างความเข็มแข็งแก่ตนเอง    

วัตถุประสงค์ ->

ต้องการบริโภคผักปลอดสารพิษเผยแพร่ความรู้ ส่งเสริมอาชีพ  ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ รักษาสุขภาพ รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เมล็ดพันธุ์ผัก  เช่น  ผักกาด  พริก  มะเขือ เป็นต้น                                               

2. ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์                                                    

3. ซังข้าวโพดหรือกอฟาง                                                  

4. พันธุ์สัตว์ เช่น โคขุน

5. หญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์

อุปกรณ์ ->

1. พื้นที่/อุปกรณ์สำหรับปลูก/แปลงผัก

2. พื้นที่/อุปกรณ์วัตถุดิบสำหรับเลี้ยงสัตว์

              

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1) การเตรียมพื้นที่ที่จะดำเนินการให้เหมาะสม ตามชนิดพืชที่จะปลูกและการเลี้ยงสัตว์

          2) แหล่งน้ำที่จะใช้ในการเพาะปลูก/เลี้ยงสัตว์ตามสภาพพื้นที่

          3) เตรียมปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักอินทรีย์ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี และหาวัสดุในท้องถิ่นที่จะนำมาทำปุ๋ยหมัก

4) เตรียมวัสดุที่จะใช้คลุมดิน เช่น ซังข้าวโพด/กอฟาง เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำที่รดต้นพืช โดยใช้วัสดุที่เหลือใช้ในการเกษตร ทำให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา และหญ้าหรือฟางสำหรับเลี้ยงสัตว์

          5) ต้นกล้าหรือต้นพืช หาได้ตามท้องถิ่นมาเพาะขยายพันธุ์ตามชนิดพืช และให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และฤดูกาล

          6) การกำจัดศัตรูพืชและแมลง ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชและแมลง ใช้น้ำหมักชีวภาพและสารไล่แมลงจากพืชเท่านั้น

          7) พืชผักจะเจริญงอกงามได้อยู่ที่การเตรียมดินให้เหมาะสมกับพืชผักทุกชนิด ถ้ามีการเตรียมดินดีและเหมาะสม พืชผักก็จะแข็งแรง คนที่บริโภคก็แข็งแรงด้วย  และในการเลี้ยงสัตว์นั้นควรดูแลเอาใจใส่ในการเลี้ยง

ข้อพึงระวัง ->

ดูแลแมลงที่จะกัดกินพืชผักใบอ่อน/หมั่นรดน้ำพรวนดินอยู่เสมอ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา