ความรู้สัมมาชีพชุมชน

หมอนใบชา

โดย : นายทิพชัย เสียงดี วันที่ : 2017-06-29-11:16:19

ที่อยู่ : บ้านป่าเหมี้ยง ม.7 ต.แจ้ซ้อน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านป่าเหมี้ยงมีการปลูกใบเหมี้ยง เป็นอาชีพหลัก แต่เหตุจูงใจในการมารวมกันจัดตั้งกลุ่ม สาเหตุมาจากใบเหมี้ยงเมื่อแก่มัการคาจะไม่ดีเหมือนกับใบอ่อน จึงมีความคิดร่วมกันว่าน่าจะมีการเพิ่มมูลค่าให้กับใบชาหรือใบเหมี้ยงแก่เหล่านั้น ต่อมาเจ้าหน้าที่จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนได้มาให้แนะนำในการเย็บหมอนทำหมอนใบชา ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมและมีรายได้จากการทำหมอนใบชามาจนถึงปัจจุบัน

      กลุ่มหมอนใบชาบ้านป่าเหมี้ยง หมู่ที่7 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2549 เดิมมีประธานคือ นางจันทร์ติ๊บ  เทพสิงห์  เป็นประธานกลุ่ม สมาชิกกลุ่มจำนวน 20 คน เคยได้รับการสนับสนุน-งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลแจ้ซ้อน จำนวนเงิน 20,000 บาท เป็นเงินหมุนเวียนในการบริหารกลุ่ม  ต่อมาในปี 2551 ได้เปลี่ยนประธานเป็น นางสุนีย์ เสียงดี มีสมาชิกทั้งสิ้น 12 คน

      ปัจจุบันกลุ่มได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ และเพิ่มศักยภาพให้กับกลุ่มโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานราชการ และองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น ในรูปของการอบรม/สัมมนา การสนับสนุนวัสดุ/อุปกรณ์ปัจจัยในการผลิต เป็นการเพิ่มทักษะความรู้ ความสามารถให้กลุ่มนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพ ทำให้กลุ่มมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับต่อไปในอนาคต

       เหมี้ยง(ชา)เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เจรญงอกงามไนพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,000-2,000เมตร ขึ้นไป ประเทศไทยเริ่มนำเข้ามาปลูกในสมัยสุโขทัย ตามเทือกเขาทางภาคเหนือ ชาวไทยภาคเหนือรู้จักต้นชาในชื่อว่า “ต้นเหมี้ยง” และเก็บใบมาปรุงเป็นเหมี้ยงบริโภคมานานหลายศตวรรต โดยไม่ทราบว่านี่คือ ต้นชา จนกระทั่งในปี 2493 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้จำแนกประเภทของต้นเหมี้ยงที่มีอยู่บนภูเขาในภาคเหนือว่าเป็นต้นชา “พันธุ์อัสสัม” ชาวภาคเหนือ นิยมใช้เหมี้ยงจัดสำรับเพื่อรับรองแขกที่มาเยือน แลใช้ประกอบเครื่องรดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่

      คุณสมบัติของเหมี้ยง(ชา) กระตุ้นระบบประสาทให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แก้กระหายช่วยย่อยอาหาร ป้องกันฟันผุ ทำให้เหงือกแข็งแรง ช่วยขจัดสารพิษให้ร่างกาย ลดอาการหลอดเลือหัวใจอุดตัน ลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิตสูง เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

ให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมและมีรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เหมี้ยง(ชา)
 

หมอนขนาดต่างๆ

-หมอนกอด ขนาด 17*21นิ้ว ราคา 150 บาท

-หมอนสปา ขนาด 17*21 นิ้ว ราคา130 บาท

-หมอนพิง ขนาด 15*15 นิ้ว  ราคา 150 บาท

-หมอนกระดูก  คู่ละ120 บาท

-ถุงดับกลิ่น  ขนาด 6*4 นิ้ว ราคา 25 บาท

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.เก็บใบเหมี้ยงสด(แก่)จากต้น

2.นำใบเหมี้ยงไปตากแดดให้แห้ง

3.นำใบเหมี้ยงที่ตากแดดแห้งแล้วไปอบด้วยเครื่องอบจนแห้งสนิท

4.เตรียมปลอกหมอนชั้นใน(ผ้ากันฝุ่น)หร้อมใยสังเคราะห์

5.นำใบชามี่อบแห้งแล้วยัดใส่ปลอกหมอนชั้นใน                             

6.เตรียมที่ใช้ทำปลอกหมอนชั้นนอก(ผ้าทอ)

7.นำหมอนที่ยัดใบเหมี้ยงแล้วใส่ไปในปลอกหมอนชั้นนอก

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา