ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ

โดย : นางศรีทอน สุจริต วันที่ : 2017-06-29-10:17:36

ที่อยู่ : 336 ม.11 ต.แจ้ซ้อน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กลุ่มท่อผ้าย้อมสี่ธรรมชาติบ้านแจ้ช้อนเหนือ ได้รวมตัวจากแกนนำสตรีของหมู่บ้านเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กลุ่มสตรีที่ว่างงานและเป็นอาชีพเสริม จึงรวมตัวกันตั้งกลุ่มจนบริหารจัดการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เคยทอผ้าแบบโบราญ และได้รับการเรียนรู้จากหน่วยงานต่างๆให้พื้นที่ให้ความรู้การทอผ้าผ้าด้วยกี่(อุปกรณ์ทอผ้าที่พัฒนาจากของเดิม) สามารถทอผ้าได้มีคุณภาพดี เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ที่ไม่อยากใช้ผ้าจากใยสารเคมี หรือย้อมสี่ด้วยสารเคมี ซึ่งอาจทำให้แพ้ ประกอบการการย้อมสี่ธรรมชาติจากใบไม้เปลือกไม้ ของบ้านแจ้ซ้อนเหนือ ได้สี่ที่เป็นธรรมชาติที่สวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะ โดยนำมาผ้ากระบวนการย้อมและเทคนิคการย้อมของภูมิปัญญาดังเดิม ได้สี่ที่คงทนไม่หลุดง่าย อีกทั่งนำมาแปรรูปผ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เป็นที่ยอมรับของตลาดในชุมชน และเพื่อพัฒนาเป็นอาชีพหลักในการสร้างรายได้ของคนในชุมชนส่งผลให้การพัฒนาหมู่บ้านด้านเศรษฐกิจและสังคมได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

สร้างรายได้ให้กลุ่มสตรีที่ว่างงานและเป็นอาชีพเสริม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑) ใช้วัตถุดิบที่ได้ในท้องถิ่น วัสดุมาจากจากผ้าฝ้าย วัสดุธรรมชาติไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
๒) เป็นผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ 100 % ไม่มีสารเคมีเจอปน
๓) เป็นผ้าทอที่มีลวดลายและเอกลักษณ์ของตัวเอง เช่นลายขัด ลายดอกพิกุล
๔) ได้รับการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์จากบรรพบุรุษแต่โบราญ

อุปกรณ์ ->

1) ดอกฝ้าย
2) ใบตะเพียนหนู (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ใบเหว) จะขึ้นในป่าบริเวณทางไปอุทยานแจ้ซ้อน บางครั้งมีให้เห็นบ้างตามข้างทาง มีมากในช่วง ฤดูฝน ให้สีเขียวอมเหลืองหรือเขียวมะนาว สีเขียวสด เขียวขี้ม้า และสีเทา
3) ใบหูกวาง ให้สีเขียว เช่นเดียวกลับสีจากไปตะเพียนหนู แต่สีจะไม่ค่อยใส จะออกตุ่น ๆ
4) ใบลำใย ให้สีน้ำตาลอ่อน หรือสีเปลือกไข่
5) ใบมะม่วงให้สีเขียวอมเหลือง
6) เปลือกประดู่ ให้สีน้ำตาลอมแดง แต่ในช่วงหน้าฝนจะได้สีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลอมชมพู
7) เปลือกตะแบก ให้สีน้ำตาลอ่อน แต่สีออกไปทางอมส้มมากกว่าสีจากเปลือกประดู่
8) ใบหม่อน นอกจากใช้เลี้ยงไหมหรือทำชาใบหม่อนแล้ว ยังนำมาย้อมผ้าได้อีก จะได้สีเขียวอ่อน
9) คำแสด เป็นที่ได้จากต้นคำแสด ให้สีส้ม สีนี้ย้อมได้ปีละ 1 ครั้ง คือช่วงเดือน พฤษภาคม หลังจากนั้นจะไม่มีให้เห็นแล้ว แต่ละครั้งย้อมได้ไม่มากเพราะสามารถเก็บผลคำแสดได้คราวละไม่มาก
10) ผลมะเกลือให้สีดำ หรือเทา

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1) นำดอกฝ้ายที่แก่จัด มีลักษณะเป็นปุยสีขาวมาอีดเพื่อเอาเมล็ดออก
2) นำฝ้ายที่แยกเมล็ดแล้วมาตีให้ฟู แล้วปั้นเป็นก้อนกลมยาว คล้ายหลอดกาแฟ
3) จากนั้นนำไปปั่นเป็นเส้นด้ายสำหรับทอ จะได้เส้นด้ายตามจำนวนที่ต้องการ
4) นำเส้นด้ายที่จะย้อมมาต้มในน้ำสบู่ หรือผงซักฟอกเพื่อไล่ไขมันใช้เวลาประมาณ 30 นาที จากนั้นนำขึ้นมาผึ่งให้เย็นแล้วนำไปซักในน้ำสะอาด
5) นำเปลือกไม้/ใบไม้ที่เตรียมไว้มาต้มจนเดือดใช้เวลาประมาณ 45 นาที แล้วกรองแยกกากออก
6) นำน้ำสีที่กรองแล้วมาต้มในหม้อใส่เกลือ สารส้ม หรือปูน คนจนละลายแล้วนำฝ้ายที่ไล่ไขมันไว้แล้วลงมาต้มต่อ ประมาณ 45 นาที
7) นำฝ้ายที่ซักสะอาดดีแล้วไปตากจนแห้ง
8) นำเส้นด้ายที่ย้อมแล้วมากรอใส่หลอด
9) นำไปโว้นกับหลักเพื่อให้ได้จำนวนเส้นด้ายและความยาวตามที่ต้องการ
10) เส้นด้ายที่โว้นแล้วนำไปม้วนเข้าลูม
11) นำเส้นด้ายมาร้อยตะกอ(เขา) และฟันหวี(ฟืม) จนครบตามจำนวนเส้นด้ายที่กำหนดไว้
12) จากนั้นนำด้ายพุ่งที่เตรียมไว้ไปกรอใส่หลอดเล็กสำหรับใส่กระสวยเพื่อใช้ทอ
13) เริ่มทอผ้าได้ตามลายที่กำหนดไว้ จนได้ผืนผ้าตามที่ต้องการ

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา