ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกผักปลอดสารพิษ

โดย : นายภัคพล เลิศหล้า วันที่ : 2017-06-23-10:30:22

ที่อยู่ : ม.6 ต.ใหม่พัฒนา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำการเกษตร  เป็นอาชีพที่ยั่งยืน  เพราะพ่อแม่ทำมาตลอด  จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เราทำ  เมื่อเราทำแล้วก็ได้รับผลประโยชน์  เหตุผลที่ทำเพราะเรารักการทำเกษตร  การทำงานที่เรารักทำให้เรามีความสุข

 

วัตถุประสงค์ ->

ทำให้ราษฎรบ้านทุ่งขาม  ม.6  มีอาชีพมั่นคง  และมีรายได้ที่แน่นอน  มีอาชีพเสริมหลายอย่าง  เช่น การเลี้ยงกบ  เลี้ยงปลา  เลี้ยงไก่ไข่

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.      เมล็ดพันธุ์ผัก  เช่น  ผัดกาด  กะหล่ำดอก  พริก  มะเขือ  แตงกวา 

2.      พันธุ์กบ

3.      พันธุ์ไก่ไข่

อุปกรณ์ ->

1.      สำหรับการทำเกษตร  ได้แก่  จอบ  เสียม  เครื่องตัดหญ้า  รถไถเดินตาม  รถพรวนดิน

2.      สำหรับการเลี้ยงสัตว์  ได้แก่  บ่อเลี้ยงกบ  โรงเรือนเลี้ยงไก่  บ่อเลี้ยงปลา

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.      การเพาะเมล็ด

          เป็นวิธีการนำเมล็ดพันธุ์พืชที่คัดเลือกพันธุ์แล้วมาหว่าน  โรย  หรือหยอดลงหลุมในภาชนะ  หรือแปลงเพาะที่เตรียมไว้  ซึ่งก่อนที่จะเพาะเมล็ด  ต้องเตรียมดินโดยดายหญ้าหรือวัชพืชให้หมด ตากดินไว้ประมาณ 2-3 วัน    แล้วย่อยดินให้ร่วนซุย  จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกผสมให้เข้ากัน  แล้วนำไปใส่ในภาชนะหรือแปลงเพาะที่เตรียมไว้

2.      เมื่อพืชผักสวนครัวที่ปลูกเติบโตขึ้นสักระยะ  เราจะต้องทำการย้ายต้นกล้าของพืชผักสวนครัวจากภาชนะ  กระบะเพาะ  หรือแปลงเพาะ  มาสู่แปลงปลูก  เพื่อให้พืชผักสวนครัวเจริญเติบโตต่อไป  การย้ายต้นกล้าไปปลูกในแปลงปลูก  มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

1.  เตรียมดินในแปลงปลูก  และขุดหลุมให้ลึกพอสมควร 

2.  ใช้ช้อนปลูกขุดย้ายต้นกล้า  โดยมีดินติดรากมาด้วย 

3.  จับปลายใบของต้นกล้าหย่อนลงในหลุมที่เตรียมไว้ แล้วเกลี่ยดินกลบ จากนั้นกดดินรอบๆ โคนต้นให้แน่น

4.  รดน้ำให้ชุ่มทั้งแปลง  และทำเพิงบังแดดจนกว่าต้นกล้าจะแข็งแรง

ข้อพึงระวัง ->

1. การเลือกสถานที่ที่จะปลูก   ควรเลือกสถานที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ อยู่ใกล้แหล่งน้ำ และไม่ไกลจากที่บ้านเพื่อสะดวกในการดูแลรักษา และสะดวกในการเก็บผลผลิตมาประกอบอาหารได้ทันทีตามความต้องการ เช่น บริเวณหลังบ้าน บริเวณหน้าบ้าน บริเวณริมรั้ว  

          2. การเลือกชนิดของพืชผักที่จะปลูก   ควรเลือกปลูกพืชผักสวนครัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และตรงกับฤดูกาล         

3. แมลงศัตรูพืช   เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังลำตัวเป็นปล้อง แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง มี 6 ขา แมลงศัตรูพืชทำความเสียหายให้แก่พืชเป็นอย่างมากด้วยวิธีการกัดกินใบ ลำต้น ผล ราก หรือดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช เช่น หนอนกระทู้หนอนกะหล่ำปลี ตั๊กแตน หนอนชอนใบ ด้วงงวง เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น     

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา