ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ถักยอ ถักแห

โดย : นางบัวตอง ระวังวงค์ วันที่ : 2017-07-24-11:24:26

ที่อยู่ : 44 ม.4 ต.บ้านแลง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการสานแห เริ่มมาจากสมัยก่อนนั้น ครอบครัวไทยเป็นครอบครัวภาคเกษตรกรรม มีการทำมาหากินตามธรรมชาติ จับปลาโดยใช้เป็ด ยกยอ และใช้แหเป็นเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำ เพื่อนำมาประกอบเป็นอาหารการกิน เลี้ยงดูครอบครัว ซึ่ง นายระย้า สอนตน ได้สืบทอดภูมิปัญญาการสานแห หรือที่เรียกว่าถักแห ก็ได้ มาจากบิดา โดยเริ่มมีความสนใจการสานแหมาตั้งแต่วัยเด็ก และได้ลองผิดลองถูกเรื่อยมา รวมทั้งได้ศึกษาหาความรู้และเทคนิคใหม่ๆ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมามีความแข็งแรง และทนทานอีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสานไว้ใช้ และสืบทอดไม่ให้หายไปตามกาลเวลา

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-ไม้ไผ่

อุปกรณ์ ->

1) ด้าย
2) ไม้ปา (ทำจากไม้ไผ่)
3) คัดชุน (ทำจากไม้ไผ่/พลาสติก)
4) ไฟแชค/ธูป
5) โซ่ (ลูกแห)

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1) ขึ้นจอมแห โดยใช้เชือกด้ายเบอร์ 4 เบอร์ 6 หรือเบอร์ 9 ก็ได้
2) ถักแหขนาด 16 เสา (หรืออาจจะเรียกว่า 16 ขา) โดยในขั้นตอนนี้การถักจะใช้วิธีถักไปเรื่อยๆ โดยเวียนให้ครบ 2 รอบแล้วจึงขยายเพิ่มเสาละ 1 ช่อง หรือที่เรียกว่า 1 ตา ทำไปเรื่อยๆจนครบ 16 ขา โดยการถักแหนี้ มีหลายขนาด ถ้าต้องการแหขนาด 8 ศอก จะต้องหยุดขยายตาเมื่อถักไปจนถุง 8 ศอก ถ้าต้องการแหขนาด 9 ศอก จะต้องหยุดขยายตาเมื่อถักไปจนถุง 7 ศอก
3) เทคนิคการเย็บจะขึ้นอยู่การดึงและการพันด้าย
4) เมื่อได้ขนาดที่ต้องการแล้ว ให้ตัดลูกแห (โซ่ เบอร์ 13 ) ทั้งนี้การใส่ลูกแหจะขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าต้องการความหนัก เบา เท่าใด โดยลูกค้าสามารถกำหนดน้ำหนักเองได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา