ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เกษตรผสมผสาน (การปลูกผักกางมุ้งแบบติดดิน)

โดย : นาย ประหยัด สิงห์ชัย วันที่ : 2017-05-14-17:03:19

ที่อยู่ : 20 หมู่ที่ 6 ตำบล ใหม่พัฒนา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายประหยัด  สิงห์ชัย   ทำเกษตรผสมผสานในพื้นที่ประมาณ ๑5 ไร่ แบ่งพื้นที่ ปลูกข้าว  ปลูกผักสวนครัว พริก มะเขือ แตงไทย แตงกวา ผักกาดดอก ถั่วฝักยาว ชะอม ผักเสี้ยว  ปลูกไผ่หวาน  มะนาวในวงบ่อ  มีบ่อเลี้ยงปลา จำนวน ๖ บ่อ  และเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่   ในรอบหนึ่งปีเริ่มต้นด้วยการทำนาในพื้นที่ ประมาณ ๑๐ ไร่ ปลูกข้าวในช่วงเดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม หลังจากทำการปลูกข้าวเสร็จ จากนั้นจะเตรียมเมล็ดพันธุ์ผัก เตรียมแปลงเพาะกล้า      ปลูกผักสวนครัว เช่น  พริก มะเขือ แตงไทย  แตงกวา  ข้าวโพด  ผักกาดดอก  ถั่วฝักยาว  และบริเวณบ้านที่อยู่อาศัยจะปลูกพืชผักสวนครัว ถั่วฝักยาว และขุดบ่อเลี้ยงปลา ไว้รับประทานในครัวเรือน

          ในอดีต เมื่อย้อนไปประมาณ ปี พ.ศ. 2548 จะปลูกส้มเขียวหวาน และปลูกลำไย ซึ่งในช่วงแรกสร้างรายได้เป็นอย่างดี   ต่อมาส้มเริ่มมีการลงทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่น ต้นทุนปุ๋ย ยาฆ่าแมลง สารเคมีต่างๆ ที่นำมาใช้ในการทำสวนส้ม  สวนลำไย  ล้วนเป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย  แต่ผลกำไรที่ได้น้อยมาก   ประกอบกับส่งผลเสียต่อสุขภาพเนื่องจากใช้สารเคมีในการเพาะปลูกจำนวนมาก  และเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนค่อนข้างสูง ทำให้ต้องเลิกทำสวนส้ม

          จึงเปลี่ยนความคิดมาปลูกผัก  ซึ่งผักสามารถปลูกได้ทั้งปี   โดยปลูกหมุนเวียนชนิด  เลือกปลูกผักให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ   ประกอบกับมีพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูก  คือ  มีแม่น้ำยาวไหลผ่าน  และมีน้ำตลอดทั้งปี  มีสภาพดินเหมาะแก่การเพาะปลูก   จึงหันมาทำการเกษตรแบบผสมผสานโดยจัดสรรแบ่งเป็นแปลง  และวางระบบน้ำให้ทั่วถึง  ในปัจจุบันได้ปลูกผักปลอดสารพิษแบบกางมุ้งติดดิน  ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ 

วัตถุประสงค์ ->

          เพื่อสร้างงาน  สร้างอาชีพ  สร้างรายได้  ให้กับครอบครัวและคนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เมล็ดพันธุ์ / พันธุ์ผัก

2. ปุ๋ยมูลสัตว์

 

อุปกรณ์ ->

1. ถาดเพาะ

2. จอบ / เสียม

3. ไม้ไผ่

4. มุ้ง

5. สปริงเกอร์ + ท่อน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การอนุบาลต้นกล้า

เดิมนายประหยัด  สิงห์ชัย  จะเพาะพันธุ์พืชผักสวนครัว บนแปลงดิน ต้นกล้าพันธุ์พืชจะเจริญเติบโตไม่เท่ากัน และมีหญ้าขึ้นปะปนต้องคอยถอนหญ้าทำให้เสียเวลาจึงเกิดกระบวนการคิด  การอนุบาลต้นกล้า  ในกระบะเพาะพันธุ์เมล็ดพันธุ์พืช  โดยเพาะเมล็ดพันธุ์พืชลงบนถาดประมาณ 10 - 20 วัน  แล้วคัดเลือกต้นกล้าที่สมบูรณ์      นำปลูกในกระบะเพาะเมล็ดพันธุ์พืช ประมาณ  20 - 25 วัน  เพื่อเป็นการอนุบาลต้นกล้าเจริญเติบโตสมบูรณ์ ลดการตายของพืชผักสวนครัว  ก่อนนำไปปลูกลงแปลงที่เตรียมไว้  

2. ขึ้นแปลงปลูก  มีขั้นตอน ดังนี้

          1. การพรวนดิน ให้มีโครงสร้างดีขึ้น กำจัดวัชพืชในดิน กำจัดไข่แมลงหรือโรคพืชที่อยู่ในดิน โดยการพรวนดินและตากทิ้งไว้ประมาณ 7 - 15 วัน

          2. การยกแปลง  ยกแปลงให้สูงประมาณ 4 – 5 นิ้ว จากผิวดิน โดยมีความกว้างประมาณ 1 – 1.20 เมตร ส่วนความยาวควรเป็นตามลักษณะของพื้นที่หรืออาจแบ่งเป็นแปลงย่อย ๆ ตามความเหมาะสม

          3. การปรับปรุงเนื้อดิน เนื้อดินที่ปลูกผัก ความเป็นดินร่วนแต่สภาพดินเดิม แต่ข้องปรับปรุงให้เนื้อดินดีขึ้น โดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราประมาณ 2 – 3 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน

3. การปลูกผักในแปลงดิน

          1. ต้นกล้ามีอายุ  30- 35  วัน  ก็สามารถย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลงดินที่เตรียมไว้

          2. การย้ายต้นกล้า สามารถทำได้สองแบบ คือ การย้ายแบบรากเปลือย เป็นการย้ายปลูก โดยถอนกล้าออกจากแปลงเพาะ หรือกระบะ โดยไม่มีดินติดรากเลย หรือมีก็น้อยมาก ส่วนมากจะทำได้เฉพาะพืชผักตระกูลมะเขือ พริก กะหล่ำ และผักกาด  หรือการย้ายแบบมีรากติดดิน ให้ต้นกล้าติดรากมากที่สุด

          3. การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างทั่วถึง และอย่างนุ่มนวล เพราะแรงน้ำสามารถกระแทกต้นกล้าให้หักและพับและทำให้ดินกระเด็นมากลบทับต้นไม้ได้ น้ำจะช่วยให้รากกระชับติดกับดินทันที

          4. ทำโครงผักกางมุ้งแบบติดดิน โดยใช้ไม้ไผ่ ซึ่งในมีในหมู่บ้านมาเป็นโครงสร้างและวางท่อเพื่อน้ำเพื่อจัดการระบบน้ำให้

          5. คลุมด้วยมุ้ง ใช้มุ้งตาข่ายไนล่อนที่มีขนาด  16 ช่องต่อความยาว 1 นิ้ว

ข้อพึงระวัง ->

                    การปลูกผักแบบกางมุ้งติดดิน การเลือกใช้มุ้งตาข่ายต้องคำนึงถึงชนิดของผัก เช่น ใช้มุ้งตาข่ายไนล่อนที่มีขนาด  ๑๖ ช่องต่อความยาว ๑ นิ้ว ในการป้องกันหนอนผีเสื้อและด้วงหมัดผัก ใช้มุ้งไนล่อนที่มีความถี่เพิ่มขึ้นเป็น  ๒๔  และ ๓๒ ช่องต่อนิ้ว  ในการป้องกันเพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนแมลงวันชอบใบ  แมลงหวี่ขาวและไร  ซึ่งต้องมีการทับชายมุ้งให้แน่นเพื่อเป็นการป้องกันแมลงขนาดเล็ก  โดยมุ้งสีขาวมีความเหมาะสมกับการปลูกผักเนื่องจากแสงผ่านได้เกือบปกติ  ส่วนมุ้งสีฟ้าไม่ค่อยเหมาะสมเนื่องตากแสงผ่านได้เพียงร้อยละ ๗๐ เท่านั้น สิ่งสำคัญในการปลูกผักกางมุ้ง  คือ อย่าให้มีหนอนผีเสื้อหรือหนอนต่าง ๆ หลุดเข้าไปได้  เพราะหนอนจะสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ในการย้ายกล้าต้องตรวจดูอย่าให้มีไข่ตัวหนอนหรือดักแด้ติดเข้าไปในมุ้ง  และต้องดูแลมุ้งตาข่ายไม่ให้ชำรุดฉีกขาดและต้องปิดมิดชิดตลอดเวลา ผักที่เหมาะกับการปลูกในมุ้ง ควรเป็นผักที่เสี่ยงต่อการเข้าทำลายของแมลง เช่น ผักคะน้า กวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ ผักกาด เป็นต้น

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา