ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

โดย : นายบุญสม ขัตินนท์ วันที่ : 2017-04-14-12:44:42

ที่อยู่ : ม.3 ต.ลำปางหลวง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          ผลผลิตตกต่ำ  การเกษตรได้ผลผลิตตกต่ำไม่ดีเท่าที่ควร  ศึกษาความรู้ทำให้ดินดีเลยนำความรู้มาปรับใช้ในการเกษตร

วัตถุประสงค์ ->

          เพื่อปรับปรุงให้ดินที่ทำการเพาะปลูกอุดมสมบูรณ์ถ้าดินดี  ปลูกอะไรก็ได้ผลผลิตไว้กินได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ฟางข้าวสับ

2. มูลสัตว์

3. ปุ๋ยยูเรีย

4. พ.ด.  1  ซอง

อุปกรณ์ ->

1. จอบ

2. พลั้ว

3. ถังน้ำ  1  ใบ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำเอาเศษพืชและมูลสัตว์ผสมกันในอัตราส่วน  100 : 100กองเป็นชั้น  แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่รดน้ำให้ชุ่มจนอิ่มน้ำและโรยทับด้วยมูลสัตว์

2. ขั้นตอนการกองปุ๋ยหมัก  แยกวัสดุที่ไม่ย่อยสลายและเป็นอันตรายออก  แล้วนำวัสดุหรือเศษพืชที่เก็บรวบรวมได้  หรือวัสดุไปตามขนาดกว้างยาวของกองที่กำหนดไว้สูงประมาณ  25 เซนติเมตร

3. รดน้ำให้ชุ่ม  แล้วจัดให้แน่นให้น้ำซึมเข้าไปในเศษพืชหรือวัสดุ  โรยทับด้วยสารเร่ง  เช่น  ปุ๋ย  มูลสัตว์  หรือดินในอัตราส่วนโดยน้ำหนักเศษพืชต่อมูลสัตว์เท่ากับ  5 : 1

4. ในกรณีที่ใช้ปุ๋ยเคมีเสริมเพื่อลดอัตราคาร์บอนต่อไนโตรเจนเพื่อป้องกันการลดระยะเวลาการผลิต  ต้องใช้เศษพืช  : ปุ๋ยคอก : ปุ๋ยเคมีในอัตราส่วน  100: 20 : 1 ตามลำดับ  โดยจะพรมหรือโรยทับบนชั้นกองปุ๋ยหมักก็ได้

5. ทำการเรียยงสลับจนได้กองสูงประมาณ 1  เมตร  แล้วโรยด้วยดินหนาประมาณ  1  นิ้ว  ที่ชั้นบนสุดเพื่อป้องกันนกมาคุ้ยเขี่ย  ช่วยป้องกันความร้อนและรักษาความชื้นของกองปุ๋ยให้คงที่

6. การหมักแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมี  อายุการหมักนาน 5 – 7 เดือน  แต่หากใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วยจะหมักนาน  3 – 5 เดือน

ข้อพึงระวัง ->

          ให้ใส่หน้ากากอนามัยเวลาคนหรือกลับกองปุ๋ย  การใส่ปุ๋ยหมักที่ยังไม่ย่อยสลายตัวดีแล้วกลบจะเกิดผลเสียต่อระบบรากพืช  เกิดก๊าซที่เป็นอันตราย  เกิดความร้อนเป็นโทษต่อรากพืช   การใช้ปุ๋ยหมักควรใช้ร่วมกับปุ๋ยน้ำชีวภาพ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา