ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะต้นผักเชียงดา

โดย : นางสายเพ็ญ โลชา วันที่ : 2017-04-14-11:31:25

ที่อยู่ : ม.3 ต.ไหล่หิน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          ผักเชียงดา  เป็นผักพื้นบ้านของทางภาคเหนือที่มีประโยชน์สูง  เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดสูง  ช่วยปรับระดับอินซูลินในร่ายกายให้อยู่ในสภาวะที่สมดุล วิตามิน C และ E สูง ชะลอความชรา ช่วยลดน้ำหนักได้  นอกจากนั้น ผักเชียงดายังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในยอดอ่อนและใบอ่อนมีวิตามินซีเบต้าแคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง และผักเชียงดาคั้นน้ำสดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยสามารถป้องกันการทำลายดีเอ็นเอในเซลล์เม็ดเลือดขาว

วัตถุประสงค์ ->

          เพื่อให้ชาวบ้านได้กินผักปลอดภัยและมีสุขภาพดี  ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ และเพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ผัก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ราก หรือ ยอดเชียงดา

อุปกรณ์ ->

ถุงดำ ,กระถาง

ดินปลูก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

          การปลูกด้วยการปักชำโดยการตัดเถาที่แก่พอสมควรมาปักชำ โดยเถาแก่ที่ทำการตัดมานั้นควรมีความยาวประมาณ 1 ศอก นำไปปักชำในถุงที่เตรียมไว้ก่อน พอเริ่มมีรากแตกออกมาและแทงยอดอ่อนก็ค่อยนำไปปลูกที่ในกระถางหรือสถานที่ที่จะปลูกก็ได้

          การปลูกผักเชียงดาในกระถางนั้น ต้องการการดูแลเป็นพิเศษเพียง 7 วันแรกเท่านั้น

          1. การเตรียมดินในกระถางทำได้โดยการพรวนดินให้ร่วน จากนั้นทำเป็นหลุมรอปลูก ดินนั้นไม่ควรผ่านการใช้สารเคมี และกระถางที่เลือกใช้ไม่ควรเตี้ยจนเกินไป

          2. การเตรียมกล้าผักเชียงดาทำโดยการริดใบแก่และใบที่มีสีเหลืองทิ้ง แนะนำให้รูดทิ้งทั้งต้น จะทำให้รากแข็งแรงและแตกใบเร็ว

          3. หากกล้าผักเชียงดาอยู่ในถุงที่มีดินอยู่ด้วย กดดินให้แน่นติดกับรากแล้วถอดถุงออก จากนั้นวางลงในหลุม กลบดินให้แน่น แต่หากเป็นกิ่งปักชำแบบล้างราก(ไม่มีดิน) ให้วางกล้าลงในหลุม กดดินเข้ากับราก จากนั้นจึงค่อยกลบดินให้แน่นอีกครั้ง

          4. รดน้ำในกระถางให้ชุ่ม ควรเลือกวางบริเวณที่มีแสงแดดรำไรหรือใต้เงาต้นไม้อื่นในช่วงแรก ใน 7 วันแรกควรรดตอนเช้าและตอนเย็น หรือจนสังเกตว่าเริ่มแตกใบ

          5. เมื่อต้นผักเชียงดาติดรากแล้ว ใช้เวลาประมาณ 45 วันก็สามารถเก็บใบมาประกอบอาหารได้ และการหมั่นเด็ดใบเรื่อยๆ จะช่วยให้แตกยอดเป็นทรงพุ่ม การดูแลรักษาทำได้ง่ายเพียงหมั่นดูแลรดน้ำพรวนดิน หากต้องการบำรุงสามารถรดหรือพ่นด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์ที่สามารถทำเองที่บ้านได้

ข้อพึงระวัง ->

อย่าให้ขาดน้ำ ต้องคอยดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา