ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและข้าวคุณภาพเพื่อการบริโภคปลอดสารพิษ

โดย : นายสุพัฒน์ ศิลศร วันที่ : 2017-04-05-15:44:29

ที่อยู่ : 171 หมู่ 3 ตำบลป่าสังข์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ข้าว เป็นอาหารหลักที่ประชาชนชาวไทยบริโภค ปัจจุบันการผลิตข้าวปนเปื้อนด้วยสารเคมีต่างๆมากหมายส่งผลกระทบกับคุณภาพชีวิต ร่างกาย และสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป ประชาชนจึงหันมาใส่ใจในสุขภาพอนามัยของตัวเองมากขึ้นจึงส่งเสริมให้มีการผลิตข้าวที่ปลอดสารไว้บริโภคในครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อให้ประชาชนบริโภคข้าวปลอดสารพิษ

2.เพื่อส่งเสรืมการผลิตข้าวปลอดสาร

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.มูลสัตว์

2.

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์

 

      ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์

      1. นำฟางข้าว 4 ส่วน วางเป็นชั้นบาง ๆ สูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร ฐานกว้าง 2.5 เมตร โปรยทับด้วยมูลสัตว์ 1 ส่วน แล้วรดน้ำ (อย่างเช่น นำฟาง 16 เข่ง มาวางหนา 10 ซม. โรยทับด้วยมูลสัตว์ 4 เข่ง เพื่อให้เป็นสัดส่วน 4 ต่อ 1 เป็นต้น) ทำเช่นนี้ 15 - 17 ชั้น รดน้ำแต่ละชั้นให้มีความชื้น ขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสูง 1.50 เมตร ชั้นบนสุดเป็นมูลสัตว์ กองปุ๋ยจะมีความยาวเท่าไรก็ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณเศษพืชและมูลสัตว์ที่มี ความสำคัญของการที่ต้องทำเป็นชั้นบาง ๆ 15 - 17 ชั้นก็เพื่อให้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในมูลสัตว์ได้ใช้ทั้งธาตุคาร์บอนที่มีอยู่ในเศษพืชและธาตุไนโตรเจนที่มีในมูลสัตว์ในการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ ซึ่งจะทำให้การย่อยสลายวัตถุดิบเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

     ถ้าเป็นฟาง เศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หญ้า ผักตบ ให้ใช้ 4 ต่อ 1 และถ้าเป็นใบไม้ให้ใช้ 3 ต่อ 1 ..... เศษพืชที่สดจะเปื่อยง่ายกว่าแบบแห้ง ..... มูลสัตว์ใช้ได้ทุกชนิด เพราะในมูลสัตว์มีจุลินทรีย์หัวเชื้อและไนโตรเจน ที่จำเป็นต่อกระบวนการย่อยสลายในกองปุ๋ย

 2. ตลอดเวลา 60 วัน ให้รักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดเวลา (มีค่าประมาณร้อยละ 60 – 70) โดยมี 3 ขั้นตอนดังนี้

      ขั้นตอนที่ 1 รดน้ำภายนอกกองปุ๋ยทุกวัน ๆ ละครั้ง โดยไม่ให้มีน้ำไหลนองออกมาจากกองปุ๋ยมากเกินไป

      ขั้นตอนที่ 2 เมื่อครบวันที่ 10 ใช้ไม้หรือเหล็กแทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำลงไป ระยะห่างของรูประมาณ 40 เซนติเมตร ทำขั้นตอนที่สองนี้ 5 ครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 10 วัน เมื่อเติมน้ำเสร็จแล้วให้ปิดรูเพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนภายในกองปุ๋ย ขั้นตอนนี้แม้ว่าอยู่ในช่วงของฤดูฝนก็ยังต้องทำ เพราะน้ำฝนไม่สามารถไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ จากข้อดีที่น้ำฝนไม่สามารถชะล้างเข้าไปในกองปุ๋ยได้ เกษตรกรจึงสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ในฤดูฝนได้ด้วย ปริมาณน้ำที่เติมโดยรวมต้องไม่ทำให้มีน้ำเจิ่งนองออกมามากเกินไป

     ขั้นตอนที่ 3 ภายหลังวันที่ 10 หรือ 20 ให้สุ่มตรวจสอบความชื้นข้างในกอง โดยการเอาจอบมาสับกองปุ๋ยลึก ๆ สัก 40 ซม. เพื่อดูว่าข้างในกองปุ๋ยแห้งเกินไปหรือเปล่า ถ้าแห้งเกินไปก็จะได้กรอกน้ำลงไปที่จุดนั้น แล้วปรับวิธีการเจาะกองปุ๋ยกรอกน้ำของเรา

ภายในเวลา 5 วันแรก กองปุ๋ยจะมีค่าอุณหภูมิสูงขึ้นมาก บางครั้งสูงถึง 70 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับกองปุ๋ยที่ทำได้ถูกวิธี ความร้อนสูงนี้เกิดจากกิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์ (จุลินทรีย์มีมากมายและหลากหลายในมูลสัตว์อยู่แล้ว) และความร้อนสูงนี้ยังเป็นสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำงานของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยอีกด้วย (จุลินทรีย์กลุ่มชอบความร้อนสูง Thermophiles และ Mesophiles) หลังจากนั้นอุณหภูมิจะค่อย ๆ ลดลงตามเวลาจนมีค่าอุณหภูมิปกติที่อายุ 60 วัน

 

      3. เมื่อกองปุ๋ยมีอายุครบ 60 วัน ก็หยุดให้ความชื้น กองปุ๋ยจะมีความสูงเหลือเพียงประมาณ 1 เมตร แล้วทำปุ๋ยอินทรีย์ให้แห้งเพื่อให้จุลินทรีย์สงบตัว (Stabilization Period) ไม่ให้เป็นอันตรายต่อรากพืช วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ให้แห้งอาจทำโดยทิ้งไว้ในกองเฉย ๆ ประมาณ 1 เดือน หรืออาจแผ่กระจายให้มีความหนาประมาณ 20 – 30 ซม. ซึ่งจะแห้งภายในเวลา 3 – 4 วัน สำหรับผู้ที่ต้องการจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ก็อาจนำปุ๋ยอินทรีย์ที่แห้งแล้วไปตีป่นให้มีขนาดเล็กสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีราคาประมาณกิโลกรัมละ 5 - 7 บาท สามารถเก็บได้นานหลายปี

 

      กองปุ๋ยที่สูง 1.5 เมตรจะสามารถเก็บกักความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์เอาไว้ในกองปุ๋ย ความร้อนนี้นอกจากจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับจุลินทรีย์ชนิดชอบความร้อนสูงที่มีในมูลสัตว์แล้ว เมื่อความร้อนนี้ลอยตัวสูงขึ้นจะทำให้อากาศภายนอกที่เย็นกว่าไหลเวียนเข้าไปในภายในกองปุ๋ย ซึ่งเกิดจากผลของการพาความร้อน (Chimney Convection) อากาศภายนอกที่ไหลหมุนเวียนเข้ากองปุ๋ยนี้ช่วยทำให้เกิดสภาวะการย่อยสลายของจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ (Aerobic Decomposition) ทำให้ไม่ต้องมีการพลิกกลับกอง และช่วยให้กองปุ๋ยไม่มีกลิ่นหรือน้ำเสียใด ๆ ในหน้าหนาวเราอาจพบเห็นไอร้อนลอยออกมาจากกองปุ๋ย ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากำลังมีอากาศเย็นกว่าไหลเข้าไปในกองปุ๋ยตลอดเวลา

 

ข้อพึงระวัง ->

 

 

ข้อห้ามของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้คือ

1. ห้ามขึ้นเหยียบกองปุ๋ยให้แน่น หรือเอาผ้าคลุมกองปุ๋ย หรือเอาดินปกคลุมด้านบนกองปุ๋ย เพราะจะทำให้อากาศไม่สามารถไหลถ่ายเทได้

2. ห้ามละเลยการดูแลความชื้นทั้ง 2 ขั้นตอน เพราะถ้ากองปุ๋ยแห้งเกินไปจะทำให้ระยะเวลาแล้วเสร็จนานและปุ๋ยอินทรีย์มีคุณภาพต่ำ

3. ห้ามวางเศษพืชเป็นชั้นหนาเกินไป การวางเศษพืชเป็นชั้นหนาเกินไปจะทำให้จุลินทรีย์ที่มีในมูลสัตว์ไม่สามารถเข้าไปย่อยสลายเศษพืชได้

4. ห้ามทำกองปุ๋ยใต้ต้นไม้ เพราะความร้อนของกองปุ๋ยอาจทำให้ต้นไม้ตายได้

5. ห้ามระบายความร้อนออกจากกองปุ๋ย เพราะความร้อนสูงในกองปุ๋ยจะช่วยให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดีมากขึ้น และยังช่วยให้เกิดการไหลเวียนของอากาศผ่านกองปุ๋ยอีกด้วย

 

      เศษพืชทุกชนิดสามารถนำมาใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้ได้ เช่น ฟางข้าว ซังและเปลือกข้าวโพด ผักตบชวา เศษผักจากตลาด และเศษใบไม้ (ทั้งสดและแห้ง) เป็นต้น ส่วนมูลสัตว์ทุกชนิดสามารถนำมาใช้ได้ทั้งมูลโค มูลไก่ และมูลสุกร (ทั้งแห้งและเปียก) โดยพบว่า ฟางข้าว ผักตบชวา และเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นเศษพืชที่ย่อยสลายได้ง่ายที่สุด ส่วนเมล็ดหรือเปลือกผลไม้ที่มีความแข็งก็สามารถนำมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้แต่ต้องนำไปตีบดในเครื่องย่อยเศษพืชเสียก่อน

      การผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้จะช่วยลดการเผาฟางข้าวในนาได้ โดยการไถกลบตอซังแล้วนำฟางข้าวกับมูลสัตว์ขึ้นกองปุ๋ยวิธีใหม่นี้ในทุ่งนาใกล้แหล่งน้ำ เมื่อปุ๋ยอินทรีย์แห้งหรือถึงฤดูการเพาะปลูกก็นำไปโปรย แล้วไถกลบไปพร้อมกับการเตรียมดินได้เลย ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและแรงงานในการขนวัสดุได้มาก

 

      เนื่องจากปุ๋ยหมักที่ผลิตได้จะอุดมไปด้วยธาตุอาหารมากมาย จึงควรระมัดระวังไม่ใช้ปุ๋ยหมักล้วน ๆ ปลูกพืชในกระถางเพราะจะทำให้พืชสำลักธาตุอาหารตายได้ ปริมาณการใช้ในการเพาะปลูกคือ 300 - 3,000 กก.ต่อไร่ ขึ้นกับว่าดินมีคุณภาพเลวหรือดีมากน้อย แต่ไม่ควรเกิน 3,000 กก.ต่อไร่ หรือ 2 กก.ต่อตารางเมตรเนื่องจากจะเป็นอันตรายต่อพืชได้

      ในการผลิตปุ๋ยหมักวิธีนี้ 1 ตัน ต้องการความยาวประมาณ 4 เมตร ใช้มูลสัตว์ 30 กระสอบ หรือ 360 กก. ใช้เศษพืชประมาณ 1,000 กก. คิดเป็นต้นทุนมูลสัตว์ประมาณ 750 บาท ในขณะที่ปุ๋ยหมักมีราคาขายทั่วไปอยู่ที่ตันละ 5,000 - 7,000 บาท จึงอาจเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะนำเศษพืชอย่างเช่น ฟาง ผักตบชวา ใบไม้ ใบอ้อย และหญ้า มาทำประโยชน์เป็นปุ๋ยหมักที่สร้างรายได้ แทนที่จะเผาทิ้งไป

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา