ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำการเกษตรแบบผสมผสาน

โดย : นางจันทรา บุญลาด วันที่ : 2017-03-29-18:42:06

ที่อยู่ : 53 หมู่ที 4 ตำบลอีง่อง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ครอบครัวของดิฉันได้ดำรงชีวิต “ตามรอยพ่อ” หรือหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้า

อยู่หัว  มาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย  ดิฉันได้เริ่มศึกษาเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง

เมื่อปี 2554  มาจนถึงปัจจุบัน เกือบ 6 ปี  ดิฉันรู้สึกภาคภูมิเป็นอย่างยิ่งกับความสำเร็จที่เกิดขึ้น  ซึ่งมีหลาย ๆ

หน่วยงานที่ได้มอบเห็นความถึงความสำคัญ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้มาเยี่ยมชมศึกษาดูงาน จนได้รับรางวัลต่าง ๆ

มากมาย พร้อมทั้งยังได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนา ฝึกอบรม ไปศึกษาดูงาน ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จและความภาคภูมิใจ

แก่วงศ์ตระกูลยิ่งนักหลักการที่ดิฉัน และครอบครัวได้ยึดหมั่นและปฎิบัติตามรอยพ่อ มีดังนี้

  •  การพอมีพอกิน  ดิฉันได้ปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินกันเอง   เลี้ยงกบ ไก่ ปลาไว้หลังบ้าน   เพื่อที่จะมีไว้กินเองใน

    ครัวเรือน บ้างก็แบ่งปันเพื่อนบ้าน หรือนำไปขายเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว

  •  การพออยู่พอใช้  ดิฉันได้จัดทำบ้านให้น่าอยู่ ปราศจากสิ่งปฎิกูล  ขยะมูลฝอย หรือสารเคมีต่าง ๆ ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ  ทำให้อายุยืน  สุขภาพดี

    การพออกพอใจ คือ การรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากมีเช่นคนอื่น  ดิฉันจะปลูกฝั่งการอดออมให้กับ

    ลูกหลานในครอบครัวอยู่เสมอ  ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย   เป็นต้น

                      ดิฉัน และครอบครัว  จะยึดหลักความประหยัด (ประหยัดในที่นี้ไม่ใช่การตระหนี่ แต่เป็นการฝึกวางแผนการใช้จ่าย

รู้จักประโยชน์ใช้สอยของสิ่งนั้นให้คุ้มค่าที่สุด)  การตัดทอนรายจ่ายลง  เช่น การทำอาหารไว้กินกันเองในครอบครัว โดยการนำวัตถุดิบ

ที่เรามีภายในบ้านมาใช้ประกอบอาหารแน่นอนว่าต้องสด สะอาด และปลอดภัย สุขภาพดี เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

ครอบครัวของดิฉันได้ดำรงชีวิต “ตามรอยพ่อ” หรือหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้า

อยู่หัว  มาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย  ดิฉันได้เริ่มศึกษาเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง

เมื่อปี 2554  มาจนถึงปัจจุบัน เกือบ 6 ปี  ดิฉันรู้สึกภาคภูมิเป็นอย่างยิ่งกับความสำเร็จที่เกิดขึ้น  ซึ่งมีหลาย ๆ

หน่วยงานที่ได้มอบเห็นความถึงความสำคัญ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้มาเยี่ยมชมศึกษาดูงาน จนได้รับรางวัลต่าง ๆ

มากมาย พร้อมทั้งยังได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนา ฝึกอบรม ไปศึกษาดูงาน ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จและความภาคภูมิใจ

แก่วงศ์ตระกูลยิ่งนักหลักการที่ดิฉัน และครอบครัวได้ยึดหมั่นและปฎิบัติตามรอยพ่อ มีดังนี้

  •  การพอมีพอกิน  ดิฉันได้ปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินกันเอง   เลี้ยงกบ ไก่ ปลาไว้หลังบ้าน   เพื่อที่จะมีไว้กินเองใน

    ครัวเรือน บ้างก็แบ่งปันเพื่อนบ้าน หรือนำไปขายเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว

  •  การพออยู่พอใช้  ดิฉันได้จัดทำบ้านให้น่าอยู่ ปราศจากสิ่งปฎิกูล  ขยะมูลฝอย หรือสารเคมีต่าง ๆ ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ  ทำให้อายุยืน  สุขภาพดี

    การพออกพอใจ คือ การรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากมีเช่นคนอื่น  ดิฉันจะปลูกฝั่งการอดออมให้กับ

    ลูกหลานในครอบครัวอยู่เสมอ  ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย   เป็นต้น

                      ดิฉัน และครอบครัว  จะยึดหลักความประหยัด (ประหยัดในที่นี้ไม่ใช่การตระหนี่ แต่เป็นการฝึกวางแผนการใช้จ่าย

รู้จักประโยชน์ใช้สอยของสิ่งนั้นให้คุ้มค่าที่สุด)  การตัดทอนรายจ่ายลง  เช่น การทำอาหารไว้กินกันเองในครอบครัว โดยการนำวัตถุดิบ

ที่เรามีภายในบ้านมาใช้ประกอบอาหารแน่นอนว่าต้องสด สะอาด และปลอดภัย สุขภาพดี เป็นต้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

                  ดิฉันได้ทำการ “เกษตรทฤษฎีใหม่ “  ตามรอยพ่อบนพื้นที่ทั้งหมด 11 ไร่  โดยได้แบ่งเฉลี่ยพื้นที่ใช้สอยเป็นส่วน ๆ ดังนี้

  1.  ในส่วนของที่นา 30%  ดิฉันจะทำการปลูกข้าวนาปี ซึ่งเก็บเกี่ยวปีละ 1 ครั้ง

  2. ในส่วนของที่ไร่สวน 30%  ได้ทำการปลูกพืชผักสวนครัว  และพืชไร่ ที่ทานเป็นประจำ  เก็บเกี่ยวได้ง่าย หากเหลือก็สามารถนำไปจำหน่ายให้แก่คนในชุมชนได้  เช่น พืชผักสวนครัว พริก ต้นหอม คะน้า ผักกาด แตงกวา มะเขือเทศ มะเขือเปราะ

    ถั่วฝักยาว ถั่วพู   พืชสวน เช่น มะนาว มะพร้าว กล้วย ผลไม้    เช่น เสาวรส ลูกฟักข้าว  มะม่วง

  1.  ในส่วนของแหล่งน้ำ 30%  จะเลี้ยงปลาหลากหลายชนิดไว้ในหนองคูสระ เลี้ยงกบไว้ในบ่อ  ส่วนไก่นั้น

    จะเลี้ยงไว้บริเวณรอบบ้าน พื้นที่ติดระหว่างบ้านและสวน  ไก่ที่เลี้ยงเป็นไก่พันธุ์ไข่ ผลผลิตที่ได้จะเก็บไว้ทานเอง

    และจำหน่ายได้อีกด้วย

  2.  ส่วนอีก 10%  จะเป็นพื้นที่พักอาศัย  ทั้งในส่วนตัวบ้านและศาลารับรอง

    ดิฉัน และครอบครัวจะจัดสรรเวลา  หลักจากการเสร็จสิ้นภารกิจจากงานหลัก เราจะใช้เวลามาจัดการไร่นา

    สวน  และบริเวณรอบบ้านของดิฉันให้สะอาด น่าอยู่ น่ามอง อยู่เสมอ นอกจากที่ยังหาเวลามาสร้างสรรค์

    นำทรัพยากรที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์  การนำนมที่เสียแล้วมาใช้รดต้นไม้

    เพื่อเพิ่มคุณค่าธาตุอาหารให้แก่ต้นไม้และพื้นดินในบริเวณที่ปลูกพืชผักอีกด้วย  (งานหลักประกอบอาชีพส่งนม

    โรงเรียนทุ่งกุลา)

                ก่อนการตัดสินใจและจะดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ นั้น ควรอยู่ในระดับความพอเพียง ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐาน ค่อยเป็นค่อยไป ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดี เตรียมตัวให้พร้อมกับผลกระทบ

    และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ควรยึดม่น เดินทางสายกลาง คือ ความพอดี ที่ไม่น้อยเกิดไป

    และไม่มากเกินไป  ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มีเหตุและผล เพื่อให้ปัญหาหรือผลกระทบเกิดขึ้นน้อยที่สุด

  3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

    เทคนิคที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการทำงานนั้น ต้องมั่นศึกษา เรียนรู้ หาประสบการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ

    มีความคิดสร้างสรรค์  สามารถนำทรัพยากรที่มีมาทำให้เกิดประโยชน์  หาโอกาสเข้าร่วมประชุม อบรม

    สัมมนา ศึกษาดูงาน เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ต้นแบบตามท้องถิ่นต่าง ๆ แล้วนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ ปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาดหรือขาดตกบกพร่องมาปรับใช้แก้ไข  ทำตามลำดับขั้นตอน มีความรอบคอบ และระมัดระวัง

    ในการดำเนินชีวิต อดทน พากเพียร ซื่อสัตว์สุจริต  ยึดถือคุณธรรมต่าง ๆ อยู่เสมอ และควรมีภูมิคุ้มกันที่ดี

    ซึ่งหมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง  การใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล

    รู้จักออม รู้จักแบ่งผัน ใช้ของอย่างคุ้มค่า ไม่เกินฐานะของตน  เป็นต้น

             หลักความพอเพียง  ซึ่งเพียงพอที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางที่สามารถปรับใช้ชีวิตประจำวันได้ทุกเรื่อง

    หากเรารู้จัดใช้ชีวิตตามรอยที่พ่อนำทางไว้  และเมื่อเราเข้าใจถึงแก่นแท้ของคำว่า “พอ” แล้วนั้น  จะทำให้เรา

    พบ “ความสุข” ที่แท้จริง  และหากเรามีภูมิคุ้มกันที่ดี   เราจะไม่หวาดหวั่น ต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกแน่นอน

ข้อพึงระวัง ->

ต้องทำด้วยความมานะ ขยัน อดทน  และศึกษาหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา