ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าไหม

โดย : นางสาวด้วง โพธ์ิแก้ว วันที่ : 2017-03-28-17:38:30

ที่อยู่ : 42 หมู่ที่ 2 บ้านขี้เหล็ก ตำบลยางคำ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เพื่อเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น  ชอบการมัดหมี่และออกแบบลวดลายผ้าไหม

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

2. สร้างงาน  สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวและกลุ่มสตรีในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. เส้นไหม    ๒. สีย้อมไหม(มีทั้งสีธรรมชาติและสีเคมี)

อุปกรณ์ ->

๑. เตา    ๒. เหยือกตวงน้ำ
๓. ปรอทวัดความร้อน   ๔. หม้อย้อมไหม
๕ ห่วงย้อมไหม
อุปกรณ์ในการเตรียมไหม

อุปกรณ์ในการทอผ้าไหม
๑. กี่      ๒. ฟืม
๓. กระสวย    ๔. เครือหูก
๕. หลอดไหม   ๖. ไม้พันฮูก


๑. อัก    ๒. หลา
๓. กง      ๔. ไม้คอนอัก
๕. ก้อนพัดไหม   ๖. โฮงมัดหมี่
๗. กระบอกไหม   ๘. หลักเฟือ
๙. โฮงค้นหมี่   ๑๐. หลา ๕ ใน

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.ฟอกไฟม   2. กวักไหม  3.กรอใส่หลอด  4. รังไหม หรือตีเหลียวไหม คือ การทำรังไหม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การเสียขี้ไหม ในภาษาคนทอผ้า เพื่อให้เส้นไหมเรียบ สวยงาม5. การพัดไหม คือ เป็นการเรียงเส้นไหม รวมกัน ให้เป็น ใจหรือเครือ เพื่อนำไปย้อมสี 6. ค้นไหม โดยการเตรียมค้นไหม จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การเตรียมเส้นไหมพุ่ง และ การเตรียมไหมเครือ (ไหมเส้นยืน) 7.สืบไหมหรือการสืบหูก 8.พันไหม 9. กางหูกไหม คือ ขั้นตอนในการนำหูกไหมที่พร้อมจะทอแล้ว ไปกางบนกี่ เพื่อที่เตรียมการทอผ้าต่อไป 10. การทอผ้าไหม เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะออกมาเป็นผ้าผืน

ข้อพึงระวัง ->

ข้อพึงระวัง ->

1. การฟอกไหม ต้องมีการวัดอุณภูมิให้มีความคงที่อยู่เสมอ ประมาณ ๘๐ องศา เพื่อไม่ให้เส้นไหมแตก 
2. การพันไหม จะต้องพันให้เรียบและตึงที่สุด เพื่อให้ลายเส้นไหม เรียบ และสวยงาม
3. การทอผ้าไหม ต้องใช้น้ำหนักในการตำให้พอดี สม่ำเสมอ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา