ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำเกษตรผสมผสาน

โดย : นายพรชัย ธราวุธ วันที่ : 2017-03-27-12:29:27

ที่อยู่ : ๕๙ ม.๔ ต.โพธิ์ทอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ชาวชุมชนบ้านเหล่าใหญ่ ม.๔ ต.โพธิ์ทอง อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด มีอาชีพหลักคือการทำการเกษตร และการทำนา ชุมชนจึงมีแนวคิดที่จะทำการทำเกษตรผสมผสานเพื่อการทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี สร้างอาชีพ สร้างรายได้ หลังฤดูทำนา โดยการทำเกษตรผสมผสาน เพื่อเป็นการลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ ในการทำการเกษตรตลอดทั้งปี ต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภคที่ไม่มีสารพิษในร่างกายเป็นสาเหตุแห่งการเจ็บป่วย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พืชผักสวนครัว พืชผลไม้ น้ำหมักชีวภาพ

อุปกรณ์ ->

มีดจอบเครื่องใช้เกษตรกรรม เมล็ดพืชและต้นกล้า

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ความหมายของระบบเกษตรผสมผสาน และระบบไร่นาสวนผสมอย่างเป็นทางการ ระบบเกษตรกรรมที่จะนำไปสู่การเกษตรยั่งยืน โดยมีรูปแบบที่ดำเนินการมีลักษณะใกล้เคียงกัน และทำให้ ผู้ปฏิบัติมีความสับสนในการให้ความหมายและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ระบบเกษตรผสมผสานและระบบ ไร่นาสวนผสม ในที่นี้จึงขอให้คำจำกัดความรวมทั้งความหมายของคำทั้ง 2 คำ ดังต่อไปนี้ ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม การอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว ์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่ง มาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่ง กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้ เป็นต้น ข้อมูลระบบเกษตรผสมผสาน ระบบไร่นาสวนผสม (Mixed/Diversefied/Polyculture Farming System) เป็นระบบเกษตรแบบผสมผสานที่มีกิจกรรมการผลิตหลายกิจกรรม เพื่อตอบสนองต่อการบริโภคหรือลดความเสี่ยงจากราคา ผลิตผลที่มีความไม่แน่นอนเท่านั้น โดยมิได้มีการจัดการให้กิจกรรมการผลิตเหล่านั้นมีการผสมผสานเกื้อกูลกันเพื่อ ลดต้นทุนการผลิต และคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเหมือนเกษตรผสมผสานการทำไร่นาสวนผสมอาจมีการเกื้อกูลกันจาก กิจกรรมการผลิตบ้าง แต่กลไกการเกิดขึ้นนั้นเป็นแบบ “เป็นไปเอง” มิใช่เกิดจาก “ความรู้ ความเข้าใจ” อย่างไร ก็ตามไร่นาสวนผสม สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถของเกษตรกรผู้ดำเนินการให้เป็นการดำเนินการในลักษณะของระบบเกษตรผสมผสานได้

ข้อพึงระวัง ->

๑.ราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอน
๒.โรคและแมลงศัตรูพืช

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา