ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เลี้ยงไก่พื้นบ้าน

โดย : นายชาญชัย วรรณจินดา วันที่ : 2017-03-25-21:57:13

ที่อยู่ : 196 ม.11 ต.สีแก้ว อ.เมืองร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด 45000

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

“ไก่บ้าน” เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ความเป็นอยู่และการให้อาหารก็ง่ายมาก ๆ แต่ละบ้านที่เลี้ยงไก่บ้าน ถ้าไม่ได้เป็นเกษตรกรจริง ๆ มีงานประจำอยู่แล้ว หรืออาจจะไม่ได้มีรายได้จากทางอื่น ก็สามารถเลี้ยงไก่บ้านเพื่อเป็นรายได้เสริมให้ครอบครัวอีกทางหนึ่ง ถ้าเลี้ยงไว้จำนวนมากก็จะสามารถเพิ่มรายได้กลับมามากขึ้น เพราะว่าเนื้อไก่ก็เป็นเนื้อสัตว์ที่ถูกนำมาทำเป็นเมนูอาหารมาก ใครที่ประกอบอาชีพเลี้ยงไก่บ้าน สามารถส่งขายให้กับตลาดได้ เมื่อไก่ออกไข่ก็สามารถขายได้ หรือถ้ามีน้ำหนักตัวพอดีตามเกณฑ์ที่สามารถขายได้ราคาดีพอสมควร

 

วัตถุประสงค์ ->

ได้ทั้งเนื้อ ไข่ และมูล คุณสมบัติที่ดีของไก่พื้นเมืองคือ เลี้ยงง่าย อดทนต่อโรคในท้องถิ่นได้ดี ฟักไข่และเลี้ยงลูกเองได้ เนื้อไก่มีรสชาติดี เนื้อแน่น มีมันน้อย ราคาดีทั้งตัวผู้และตัวเมีย หรือจำหน่ายเป็นไก่ชนสามารถทำเป็นอาชีพได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. โรงเรือนหรือเล้าไก่

2. หลอดไฟ ขนาด 100 วัตต์ 

3. รังไข่ ใช้เข่งก็ได้รองด้วยหญ้าหรือฟางแห้งให้ถึงครึ่ง ควรตั้งรังไข่ให้อยู่ในที่มิดชิด ไม่ร้อนเกินไป ฝนสาดไม่ถึง แต่แม่ไก่เดินได้สะดวก

4. ม่านกันฝนหรือกั้นคอกไก่ มีไว้สำหรับป้องกันไม่ให้ลมฝนผ่านเข้าในคอก

4. รางน้ำและอาหาร อาจทำจากไม้ไผ่ผ่าซีก หรือทำจากยางรถจักรยานหรือมอเตอร์ไซด์เก่า ๆ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงไก่บ้านเพื่อเป็นอาชีพเสริมทำที่บ้าน มีข้อจำกัดก็คือต้องมีพื้นที่บริเวณบ้านเพื่อให้ไก่ได้ออกหากินตามธรรมชาติ ไม่มีสัตว์เลี้ยงอย่างเช่นสุนัขคอยรบกวน อาจทำโรงเรือนเล็กๆไว้ให้ไก่นอนหรือเป็นที่หลบแดดหลบฝนและเป็นที่สำหรับทำรังให้ไก่ไข่ หากต้องการจำกัดพื้นที่เพื่อให้ดูแลง่ายอาจใช้ตาข่ายซึ่งมีขายอยู่ทั่วไปล้อมบริเวณโรงเรือนและพื้นที่ที่ต้องการให้ไก่ได้เดินเล่นและออกหากินตามธรรมชาติ

หากต้องการให้ไก่โตเร็วและมีน้ำหนักดี นอกจากให้อาหารอย่างเช่น ข้าวเปลือก ถั่ว ข้าวโพด และอาหารอื่นๆแล้ว ควรให้หัวอาหารผสมกับรำข้าวบ้างเป็นบางครั้ง การเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อขยายพันธุ์ควรเลี้ยงหลายๆสายพันธุ์เพราะเมื่อผสมพันธุ์กันแล้วจะทำให้ได้ลูกไก่ที่เจริญเติบโตเร็ว น้ำหนักดี ไก่พื้นเมืองตลาดไม่ตันและมีความต้องการมากเพราะคนนิยมทานราคาดี

ข้อพึงระวัง ->

ปัญหาคือปริมาณไก่บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตรกรจำนวนมากประมาณร้อยละ 70-80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบหลังบ้านประมาณ 10-20 ตัวต่อครัวเรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียพอสมควร แต่ถ้าสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสม ผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่พันธุ์แท้แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่างแน่นอน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา