ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นายอุดม วินทะไชย วันที่ : 2017-03-24-11:32:27

ที่อยู่ : 6 / 1 หมู่ ๓ ตำบลโนนตาล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

“ไก่บ้าน” เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ความเป็นอยู่และการให้อาหารก็ง่ายมาก ๆ แต่ละบ้านที่เลี้ยงไก่บ้าน ถ้าไม่ได้เป็นเกษตรกรจริง ๆ มีงานประจำอยู่แล้ว หรืออาจจะไม่ได้มีรายได้จากทางอื่น ก็สามารถเลี้ยงไก่บ้านเพื่อเป็นรายได้เสริมให้ครอบครัวอีกทางหนึ่ง ถ้าเลี้ยงไว้จำนวนมากก็จะสามารถเพิ่มรายได้กลับมามากขึ้น เพราะว่าเนื้อไก่ก็เป็นเนื้อสัตว์ที่ถูกนำมาทำเป็นเมนูอาหารมาก ใครที่ประกอบอาชีพเลี้ยงไก่บ้าน สามารถส่งขายให้กับตลาดได้ เมื่อไก่ออกไข่ก็สามารถขายได้ หรือถ้ามีน้ำหนักตัวพอดีตามเกณฑ์ที่สามารถขายได้ราคาดีพอสมควร

วัตถุประสงค์ ->

๑. เป็นอาชีพเสริมหลังฤดูการทำนา

๒. เพื่องสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. ไก่พื้นเมือง

๒. อาหารไก่

๓. วัคซีน

อุปกรณ์ ->

๑. ไก่พื้นเมือง

๒. อาหารไก่

๓. รางอาหาร

๔. รางน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เมื่อลูกไก่ออกจากไข่หมดแล้วควรให้แม่ไก่เลี้ยงลูกเอง โดยการย้ายทั้งแม่ไก่และลูกไก่ลงมาขังในสุ่มหรือกรงบนพื้นดินที่แห้ง ในระยะแรก ควรมีถาดอาหารสาหรับใส่รา ปลายข้าวหรือเศษข้าวสุกให้ลูกไก่กิน และมีถ้วยหรืออ่างน้าตื้น ๆ ใส่น้าสะอาดให้กินตลอดเวลา
เมื่อลูกไก่อายุประมาณ 2 อาทิตย์ ลูกไก่แข็งแรงดีแล้ว ก็เปิดสุ่มออกปล่อยให้ลูกไก่ไปหากินกับแม่ไก่ได้ ซึ่งโดยธรรมชาติแม่ไก่จะเลี้ยงลูกประมาณ 1-2 เดือนจึงจะแยกจากลูกเพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ใหม่
ถ้าต้องการให้แม่ไก่เตรียมตัวไข่รุ่นต่อไปเร็วขึ้น หลังจากปล่อยให้เลี้ยงลูกได้ 2 อาทิตย์ ก็ให้แยกลูกออกจากแม่ นาไปเลี้ยงในกรงต่างหาก เพื่อให้แม่ไก่พักตัวแล้วเตรียมตัวไข่รุ่นต่อไป
ลูกไก่อายุ 2 อาทิตย์ที่แยกจากแม่ใหม่ ๆ ยังหาอาหารไม่เก่งและยังป้องกันตัวเองไม่ได้ ต้องเลี้ยงในกรงต่างหาก เพื่อให้ลูกไก่แข็งแรง ปราดเปรียว จนอายุได้เดือนครึ่งถึงสองเดือนจึงจะปล่อยเลี้ยงได้
ลูกไก่ระยะนี้เป็นช่วงที่ล่อแหลมมาก มักจะมีการตายมากที่สุด เจ้าของต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เรื่องน้า อาหาร และการป้องกันโรค
ในกรณีที่มีแม่ไก่เลี้ยงลูกขนาดต่าง ๆ กันหลายแม่ ควรจะมีสุ่มที่ขนาดตาถี่หรือตาห่างหลาย ๆ ขนาด มีอาหารและน้าใส่ไว้ข้างใน เพื่อเป็นการป้องกันไก่เล็กถูกเหยียบหรือเตะตาย เพราะไก่เล็กจะเข้าสุ่มที่มีรูเล็ก ลูกไก่รุ่นใหญ่ก็จะเข้าสุ่มที่มีตาใหญ่ ไก่รุ่นโตแล้วจะอยู่ข้างนอกเข้าไปไม่ได้ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการช่วยให้ลูกไก่เล็กได้กินอาหารเต็มที่ โตเร็วขึ้นและตายน้อยลง
กรณีที่เกษตรกรมีไก่รุ่น อายุ 3-4 เดือนจานวนมาก ๆ ควรนามาเลี้ยงขังกรง ขุนให้กินอาหารเต็มที่สัก 1 เดือน จะทาให้ไก่อ้วน ขายได้ราคาดี ซึ่งจะเป็นวิธีการช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

ข้อควรระวังในการใช้วัคซีน
- ควรเก็บวัคซีนไว้ในที่เย็น ไม่ให้แสงแดดส่องถึง
- หลอดวัคซีนชำรุดไม่ควรนำมาใช้
- วัคซีนที่ผสมแล้วไม่ควรใช้นานเกินกว่า 1 ชั่วโมง
- ควรฉีดวัคซีนให้ครบตามขนาด
- ไม่ควรฉีดวัคซีนแก่ไก่ที่กำลังเป็นโรค
วัคซีนจะให้ความคุ้มกันโรคได้ดีหลังจากฉีดวัคซีนไปแล้ว 2 สัปดาห์

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา