ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์

โดย : นายสมศักดิ์ แก้วสูงเนิน วันที่ : 2017-03-24-11:34:32

ที่อยู่ : 74 หมู่ ๑ ตำบลโนนตาล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันการรักษาสุขภาพจำเป็นมากในชีวิตประจำวัน 1 ใน 3  มาจากอาหารการกินและในปัจจุบันนี้  ส่วนราชการต่างๆ ได้แนะนำเกี่ยวกับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์  แนะนำให้เกษตรกรปลูกเองกินเอง  เน้นผักที่เราปลูก  สัตว์ที่เราเลี้ยงเพื่อสุขภาพของเราเอง  การเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติกก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่จะให้ในครัวเรือนมีอาหารบริโภค 5 หมู่ 

การเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก  มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้  ประหยัดต้นทุน  และที่สำคัญที่สุดไม่เสียพื้นที่ในการขุดบ่อปลา  ใช้พื้นที่น้อยผสมผสานกับการเกษตรอย่างอื่นก็ได้  โดยรอบคันบ่อควรปลูกผักสวนครัวซึ่งการเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก  นอกจากเป็นการลดรายจ่ายซึ่งเป็นการใช้บริโภคในครัวเรือนแล้วยังเป็นการเพิ่มรายได้ด้วยการนำส่วนที่เหลือจากการบริโภคไปจำหน่ายซึ่งตลาดมีความต้องการสูงเนื่องจากเป็นธรรมชาติและปลอดสารพิษ

วัตถุประสงค์ ->

๑. เพื่อเป็นอาชีพเสริมหลังฤดูการทำนา

๒. เพื่อให้เกิดรายได้ในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. ปลาดุก

๒. อาหารปลา

อุปกรณ์ ->

๑. ปลาดุก

๒. พลาสติกสีขาว (บาง)
๓. พลาสติกสีดา (หนา)
๔. ดินรองก้นหลุม

๕. อาหารปลา

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการเลี้ยงในบ่อปูผ้าพลาสติก
1) การเตรียมบ่อเลี้ยง
- เตรียมพื้นที่เพื่อดาเนินการเลี้ยงโดยการขุดบ่อดินหรือยกพื้นด้วยกระสอบทรายหรือกระสอบปุ๋ย ความกว้างยาวตามที่กาหนด แล้วปูด้วยผ้าพลาสติกหากฉีกขาดหรือมีรอยรั่ว ควรตรวจสอบให้เรียบร้อย ผ้าพลาสติกควรแช่น้าอย่างน้อย 2 - 3 วัน และล้างทาความสะอาดด้วยฟองน้าหรือวัสดุ ที่ไม่ทาให้ผ้าพลาสติกชารุดเสียหายและเป็นพิษต่อสัตว์น้า
- บริเวณบ่อควรอยู่ในพื้นที่ที่ดูแลได้ง่าย เช่น ในบริเวณบ้านเรือน หรือที่มีร่มเงา และเป็นบริเวณที่สามารถปฏิบัติงานได้ง่าย เช่น การถ่ายน้า เพิ่มน้า หรือทาความสะอาดและไม่มีศัตรูรบกวน
2) น้าที่ใช้ในการเลี้ยง
ประเภทของน้า
- น้าประปา ควรมีการพักอย่างน้อย 1 - 2 วัน เพื่อลดสารเคมี เช่นคลอรีน
- น้าบาดาล ควรมีการพักเช่นเดียวกัน แบบน้าประปา
- น้าตามแหล่งน้าธรรมชาติ ควรตรวจสอบคุณภาพน้า เช่น ไม่อยู่ในแหล่งที่ใช้สารเคมีหรือบริเวณที่มีน้าเสีย และไม่มีศัตรูที่จะทาความเสียหายต่อสัตว์น้า
3) การเตรียมสภาพบ่อ
- ควรสร้างห่วงโซ่อาหารเพิ่มเติมโดยใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ฟาง ปุ๋ยหมัก หรือหญ้าแห้งมัดเป็นก้อน และแช่น้าไว้ประมาณ 2 – 3 วัน ก่อนปล่อยปลาเพื่อสร้างไรธรรมชาติ
- ตรวจสอบไม่ให้มีศัตรูภายในบ่อ และสภาพความเหมาะสมของน้า
4) การปล่อยปลา
- ควรตรวจดูสภาพของปลาให้อยู่ในลักษณะที่แข็งแรง เช่น ลักษณะสี ขนาดตัว เท่า ๆ กัน ไม่แตกต่างกันมาก และไม่มีแผลภายนอก
- ก่อนปล่อยควรมีการปรับสภาพอุณหภูมิในถุงและบ่อให้เท่ากันไม่ควรเกิน 1 - 2 องศา และแช่ถุงปลาไว้ประมาณ 15 - 20 นาที แล้วค่อย ๆ ปล่อยปลา
- เวลาปล่อยควรปล่อยในเวลา เช้าหรือเย็น หรือในสภาพภูมิอากาศที่ไม่ร้อนจัด การปล่อยในวันแรกไม่ควรให้อาหาร ควรให้ในวันรุ่งขึ้น
อัตราการปล่อยที่เหมาะสม
- ควรปล่อยในอัตรา 40 - 100 ตัวต่อตารางเมตร หรือตามพื้นที่ของปริมาตรน้า เพื่อง่ายต่อการดูแลและไม่หนาแน่นเกินไป เพราะอาจทาให้เกิดโรคได้ง่ายและโตช้า
5) การป้องกันโรคและลดความเครียดของปลาก่อนปล่อย
- ใช้เกลือแกงประมาณ 300 - 500 กรัม/บ่อ
- ใช้ฟอร์มมาลีนประมาณ 20 - 50 ซีซี/บ่อ
- ใช้วิตามินผสมอาหารประมาณ 5 กรัม/กก. (วิตามินซี)
6) การถ่ายน้าและดูแล
ระยะเริ่มต้นในการเลี้ยง ระดับความลึกของน้าในบ่อประมาณ 30 ซม. เมื่อเลี้ยงปลาโตขึ้นควรเพิ่มน้าอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ๆ ละประมาณ 10 ซม. จนในเดือนที่ 2-3 ควรมีการถ่ายน้าออกบางส่วน 20-30 เปอร์เซ็นต์ หรือถ่ายน้าออกประมาณ อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง และดูดหรือตักเศษอาหารและสิ่งปฏิกูลออกทุกครั้ง และควรใส่เกลือทุกครั้งที่ถ่ายน้า แต่ในการเลี้ยงแบบน้าอาจมีการระเหยของน้า ควรมีการเติมน้าหรือค่อย ๆ เติมตามความจาเป็น
7) การให้อาหาร
เมื่อปล่อยปลาควรให้อาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น ควรให้ทั่ว ๆ บ่อและใช้ระยะเวลาการให้ 10 - 15 นาที ประมาณ 1 - 2 อาทิตย์ ก็สามารถฝึกการกินอาหารของปลาได้ควรตรวจการกินอาหารให้แน่นอนทุกครั้ง และเอาอาหารเก่าออกทุกครั้งที่ให้อาหารใหม่ อาจมีการลดต้นทุนอาหารด้วยการให้อาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น ได้เช่น ปลวก แมลงต่าง ๆ มะละกอ กล้วย ฝักทอง ฯลฯ
8) การเกิดโรคในขณะการเลี้ยง
มักเกิดจากปัญหาคุณภาพน้าในบ่อเลี้ยงไม่ดี เนื่องจากการให้อาหารมากเกินไป อาหารเหลือเน่าเสียทาให้คุณภาพน้าไม่ดี เราสามารถป้องกันได้โดย
- เมื่อปลาไม่กินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกชอบกินอาหารใหม่
- ควรให้อาหารเป็นเวลา และไม่มากจนเกินไป
- อาหารต้องอยู่ในสภาพที่ดีไม่เป็นอาหารค้างเก่าและหมดอายุ
9) วิธีป้องกันโรคในขณะที่เลี้ยง
- เตรียมบ่อและน้าตามวิธีการที่เหมาะสม ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง
- หมั่นตรวจอาการของปลาและดูคุณภาพน้า กาจัดสิ่งปฏิกูลออกเป็นประจา
- ใช้เกลือหรือปูนขาว ปรับสภาพทุกครั้งที่ถ่ายน้า

ข้อพึงระวัง ->

หากใส่น้ำประปาควรพักน้ำไว้อย่างน้อย 2-3 วัน เพื่อให้ฤทธิ์คลอรีนระเหยหมดก่อนจึงค่อยดำเนินการตามขั้นตอนที่ 3

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา