ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การแปรรูปไก่หยอง

โดย : นายทวิช สุวรรณ วันที่ : 2017-03-18-00:52:04

ที่อยู่ : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงและพัฒนาไก่ชนบ้านหนองฆ้อ (นายทวิช สุวรรณ) บเานหนองฆ้อ หมู่ที่ 7 ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันไก่พื้นเมืองได้รับความนิยมในการบริโภคเพิ่มสูงมากขึ้นเป็นเพราะไก่พื้นเมืองมีเนื้อที่รสชาติอร่อยเนื้อแน่นเป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคของคนทั่วไป จนมีแนวโน้มว่าสามารถส่งออกจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาไก่พื้นเมืองบ้านเรายังมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะว่าเกษตรกรบ้านเรายังเลี้ยงน้อยประมาณร้อยละ 70-80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบหลังบ้านประมาณ  10-20 ตัวต่อครัวเรือน ซึ่งการเลี้ยงแบบปล่อยให้สัตว์หากินเองตามธรรมชาติ ไม่มีโรงเรือนให้ไก่ไว้ป้องกันศตรู จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียพอสมควร แต่ถ้าเกษตรกรสามารถปรับใช้เทคโนโลยี การเลี้ยงแบบโรงเรือนผสมผสาน  กับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงสายพันธุ์ที่ดี เช่น เหลืองหางขาว หรือประดู่หางดำ ก็จะสามารถส่งออกสู่ท้องตลาด และมีรายได้สูงขึ้น      ดังนั้นเกษตรกรในชุมชนจึงได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงและพัฒนาไก่ชนบ้านหนองฆ้อ เริ่มก่อตั้งโดยใช้ชื่อว่ากลุ่มผู้เลี้ยงและอนุรักษ์ไก่ชนบ้านหลุมต้นตาล จัดตั้งเมื่อ ๒๗ ธันวาคม  พ.ศ ๒๕๔๘  โดย นายพีรพล  ขมเล็กเป็นประธาน สถานที่ทำการกลุ่มตั้งอยู่บ้านเลขที่  ๒๙๘ หมู่ที่ ๗ ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง มีสมาชิก ๑๕ ราย หลังจากนั้นได้เปลี่ยนสถานที่ทำการกลุ่มมาอยู่ที่
ที่อยู่ปัจจุบันคือ บ้านเลขที่  ๗๙ หมู่ที่ ๗ ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เนื่องจากสถานที่ตั้งเดิมไม่สะดวกต่อการดำเนินงาน และได้เปลี่ยนชื่อกลุ่มใหม่เป็น กลุ่มผู้เลี้ยงและพัฒนาไก่ชนบ้านหนองฆ้อ    กลุ่มฯได้ขึ้นทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ ถึงปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น ๖๐ ราย 
ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้เลี้ยงและพัฒนาไก่ชนบ้านหนองฆ้อ
ที่ตั้ง เลขที่ ๗๙ หมู่ที่ ๗ ตำบลหนองบัว  อำเภอบ้านค่าย  จังหวัดระยอง
 รหัสทะเบียน วิสาหกิจชุมชนเลขที่ ๓-๒๑๐๕-๐๖/๑-๐๐๒๒

๑                     ความคิดริเริ่ม
                ๑.๑ กลุ่มผู้เลี้ยงและพัฒนาไก่ชนบ้านหนองฆ้อ ก็เนื่องด้วยกลุ่มฯมีแกนนำที่ร่วมก่อตั้งมีความรักและมีความสนใจในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองและมีความตั้งใจที่จะใช้กระบวนการกลุ่มในการพัฒนาสายพันธุ์ไก่พื้นเมือง(ชน) โดยให้สมาชิกในกลุ่มนำไก่มาซ้อมเพื่อคัดเลือกไก่ที่มีฝีเท้าดีไปเป็นพ่อพันธุ์ และใช้การซ้อมไก่เพื่อทดสอบว่าลูกที่เกิดมามีฝีเท้าเป็นอย่างไร อีกทั้งเป็นช่องทางให้คนภายนอกได้รับชมฝีเท้าเพื่อตกลงราคาในการเลือกซื้อไก่พื้นเมือง(ชน)เพื่อเพิ่มมูลค่าอีกด้วย ในกระบวนการกลุ่มฯยังช่วยลดต้นทุนในการผลิต จากการที่กลุ่มซื้อปัจจัยการผลิตมาขายเองโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เช่น ข้าวเปลือก ยาสัตว์ อุปกรณ์การเลี้ยงไก่ และยังได้ทำอาหารลดต้นทุน เช่น หยวกกล้วยหมัก กากมันหมักยีสต์ เป็นต้น  จากการดำเนินงานของกลุ่มฯ แม้จะเคยเปลี่ยนประธานมาก็ตาม แต่ประธานคนปัจจุบันก็ยังเป็นหนึ่งในแกนนำกลุ่มฯรุ่นแรกๆและมีแนวคิดที่จะใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ไก่พื้นเมือง(ชน) และลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับเพื่อนสมาชิกที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองต่อไป

ชื่อผู้ประสานงาน 

             นาย ทวิช   สุวรรณ   บ้านเลขที่  ๗๙ หมู่ ๗ตำบลหนองบัว  เบอร์โทร. ๐๘๖-๘๒๐-๐๗๔๕

            นาย วิฑูรย์  ไทยเจริญ  บ้านเลขที่๒๑/๓ หมู่ ๗ตำบลหนองบัว     เบอร์โทร.  ๐๘๗-๔๘๐-๓๖๓๗

            นาย วันชาติ  วงษ์สุวรรณ บ้านเลขที่ ๓๓๓ หมู่ ๙ ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านค่าย จังระยอง

 

และได้มีการแต่งตั้งประธานการดูแลและพัฒนาอีก ๔ ประการดังนี้

                นายธวัชชัย ตันกุลรัตน์ เป็นประธานดูแลสายไก่โก้ (ไก่สวยงาม)

                นายวันชาติ วงษ์สุวรรณ เป็นประธานดูแลสายไก่เก่ง (ไก่พร้อมชน)

                นายทวิช สุวรรณ เป็นประธานดูแลสายไก่แกง (แปรรูปต่างๆ)และการตลาด

                นายวิชัย ชูช่วย เป็นประธานดูกองทุนอาหาร (ผลิตอาหารลดต้นทุน)

 

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกลุ่ม

๑.๑         เพื่อลดรายจ่ายจากการเลี้ยงไก่

๑.๒        เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกที่เลี้ยงไก่

๑.๓        เพื่อเพิ่มคุณภาพของไก่พื้นเมือง(ชน)ให้ดีขึ้น

๑.๔        พัฒนาสถานที่คัดเลือกสายพันธ์ไก่ (การซ้อม )ทุกวันอังคาร

๑.๕        พัฒนาด้านการตลาดขายไก่ (ไก่โก้  ไก่เก่ง และไก่แกง)
๑.๖         ระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม

๑.๗        กิจกรรมของกลุ่ม
๑.๘        กรรมการบริหารงาน

๑.๙         สถานที่ดำเนินงาน
๑.๑๐ การถือหุ้น และการปันผล

        ๑.๑๑ เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนชื้อขายในชุมชนและนอกชุมชน
        ๑.๑๒ เป็นศูนย์เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเลี้ยงไก่พื้นเมือง (ไก่ชน)โดยมีการสอนการเลี้ยงไก่ขั้นพื้นฐานและพัฒนาสู่มืออาชีพให้กับ/กลุ่มฯและสมาชิกขอความช่วยเหลือและสนับสนุนจากภาครัฐและเจ้าหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผล

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไก่พื้นเมืองที่สมาชิกเลี้ยงอยู่ในชุมชน

อุปกรณ์ ->

กระทะ หม้อ  กะละมัง  น้ำตาล เกลือ น้ำมัน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เนื้อไก่พื้นเมือง    ๘๗        เปอร์เซ็นต์

น้ำตาล                   ๗            เปอร์เซ็นต์

น้ำมัน                    ๔            เปอร์เซ็นต์

เกลือ                      ๒            เปอร์เซ็นต์

 

 

 

เนื้อไก่สดต้มสุกนาน ๒ ชม.แล้วฉีก ทุบ ตำ ยี เพื่อให้เนื้อแยกออกจากกันจากนั้นนำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากันหมักไว้๒๐นาทีจากนั้นนำลงกระทะผัดด้วยไฟอ่อนนาน๒ชม.จนเนื้อไก่จนฟูขึ้นมาปิดไฟผัดต่ออีกสักพักจนไก่เย็นบันจุหีบห่อได้

ข้อพึงระวัง ->

ไม่ควรวางตากแดด

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดระยอง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา