ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะเลี้ยงหอยนางรม

โดย : นางเบ็ญจะ ปะสิ่งชอบ วันที่ : 2017-03-13-21:21:30

ที่อยู่ : 22 หมู่ 8 ต.เนินฆ้อ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องด้วย บ้านถนนนอกเป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดชายทะเล ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการประมงน้ำตื้น และบ้านถนนนอกก็มีพื้นที่ที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงหอยนางรม  ทำให้ชาวบ้านถนนนอกประกอบอาชีพการเลี้ยงหอยนางรม การเลี้ยงปูดำ และการเลี้ยงปลา เพื่อเป็นอาหาร และสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุประสงค์ ->

เป็นแหล่งอาหารของชาวบ้าน และเป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เชื้อหอยนางรม

อุปกรณ์ ->

1. ไม้ไผ่

2. ปูนซีเมนต์ ผสมทรายละเอียด

3. เชือก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ตัดเชือกยาวประมาณ 1.3 เมตร แขวนเตรียมไว้บนราวไม้ไผ่

2. วางเชือกบนกระดาษ หยอดปูนซีเมนต์ที่ผสมกับทรายละเอียดบนปลายเชือกแต่ละด้าน เป็นแผ่นกลม ห่างกันประมาณ 10 ซ.ม. ด้านละ 5 แผ่น

3. จากนั้นตากให้แผ่นปูนแห้ง ก็จะได้แผ่นอีแปะ สำหรับล่อลูกหอยนางรม โดยเชือก 1 เส้นจะมีอีแปะติดอยู่ 10 แผ่น

4. นำอีแปะพวงเล็กมามัดรวมเป็นพวงใหญ่

5. แล้วนำอีแปะพวงใหญ่ไปแขวนกับร้านแขวนที่สร้างไว้

ข้อพึงระวัง ->

1. ปัญหามรสุมและคลื่นลมแรงเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงหอย เพราะวัสดุที่วางหักล้มจมโคลน ทำให้หอยตาย
2. ควรตรวจและซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงหอยที่ชำรุดอย่างสม่ำเสมอ
3. ควรระมัดระวังสภาพของแหล่งน้ำที่เสื่อมโทรม ซึ่งนับวันจะมีมากขึ้นย่อมจะกระทบต่อการผลผลิตหอยที่จะลดลงเรื่อยๆ
4. ปัญหาแหล่งน้ำตื้นเขิน เกิดตะกอนดินมากขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและหอยตายในที่สุด
5. มักจะมีสัตว์น้ำที่แย่งอาหารและที่อยู่ของหอยนางรม
6. ปัญหาการลักขโมยหลักหอยมักจะเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้นจึงควรมีการจัดที่พักหรือขนำให้คนเฝ้าดู
7. ควรระวังศัตรูหอยนางรมหลายชนิดที่สำคัญได้แก่ หอยหมู หอยมะระ ปู ปลาดาว ปลากระเบน และนกบางชนิด เป็นต้น

 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดระยอง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา